ภาษาไทยกับการแบ่งปัน(แหล่งเรียนรู้จากภายในสู่โลกกว้างทางเว็บไซต์)


มีความความคาดหวังว่าการนำเสนอในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายของการขยายพันธุ์แห่งการแบ่งปันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

        จุดมุ่งหมายของการนำเสนอBP ในครั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนของคุณครู

ที่อาจจะพัฒนานวัตกรรมใดนวัตกรรมหนึ่งมาเนิ่นนานต่อเนื่อง  โดยไม่ได้คาดหวังว่า

จะให้เป็นผลงานทางวิชาการ  เพียงแต่ต้องการเล่าสู่กันฟังเท่านั้น

 

BEST PRACTICE : BP  ที่พบ

ชื่อ BP            ภาษาไทยกับการแบ่งปัน(แหล่งเรียนรู้จากภายในสู่โลกกว้างทางเว็บไซต์)

ชื่อเจ้าของชิ้นงาน  นางสาวภาทิพ  ศรีสุทธิ์                        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 

ช่วงชั้นที่  ๓ -๔  โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี  เขต ๑     จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

๑.       แรงจูงใจ / มูลเหตุที่เกิด 

การแบ่งปันแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

นั้นเริ่มมีมาตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน  จากกระดานข่าวสีชมพู สู่เว็บไซต์ภาษาไทย ภาษาทองของสำนัก

เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ของ สพฐ .เป็นการพัฒนาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพด้านเนื้อหา  รูปแบบ  

 ช่วงชั้น  และกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและกว้างขวางขึ้นไปตามลำดับตามของความต้องการของผู้สนใจ  กาลเวลา

และประสบการณ์ของผู้จัดทำ อย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดนิ่ง    โดยมีมูลเหตุแรงจูงต่าง ๆ ดังนี้

  

๑.๑  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษาผู้เรียนสำคัญที่สุด 

 มาตรา ๒๔ ...ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิด

การเรียนรู้   ...ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลาย     มาตรา ๒๕ :

บทบาทของรัฐในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ โดยการส่งเสริมดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

พระราชบัญญัติได้กำหนดไว้เช่นนั้น   แต่ในขณะนั้น  ทั้งครูและนักเรียนไม่มีแหล่งเรียนรู้ที่จะมานำจัดกระบวน

การเรียนรู้ได้เลย   อินเตอร์เน็ตในช่วงนั้นยังเป็นการใช้เพื่อความบันเทิง  เพื่อสนทนาพูดคุยมากกว่าจะที่เป็นการ

ถ่ายทอดประสบการณ์หรือเนื้อหาด้านการเรียน

 

๑.๒ ความพร้อมด้านโครงสร้างด้านพื้นฐาน และการให้โอกาสของผู้บริหาร   ในปีการศึกษา ๒๕๓๙ 

ผู้บริหารในสมัยนั้น คือ ผู้อำนวยการสาธร  ลิกขะไชย และสมาคมผู้ปกครองฯ   มีนโยบายในการนำเทคโนโลยี

มาใช้เพื่อการบริหารจัดการและการเรียนการสอน  จึงได้จัดพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีขึ้น

  ด้านการเรียนการสอนในเบื้องต้นเป็นการนำไปใช้เพื่อสอนวิชาคอมพิวเตอร์ซึ่งยังไม่คุ้มค่าและไม่ทั่วถึง 

ในปีการศึกษา ๒๕๔๓จึงได้มีการพัฒนาอบรมครูให้มีทักษะความสามารถในการจัดทำเว็บไซต์     เพื่อนำไปใช้

ในการเรียนการสอน

เพื่อให้เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยนางสาวภาทิพ  ศรีสุทธิ์จึงได้จัดทำ

เว็บไซต์ภาษาไทยชื่อ กระดานสีชมพู  และพัฒนาเนื้อหา  แบบฝึกหัด   แบบทดสอบเพิ่มขึ้นใช้ชื่อว่าห้องเรียน

สีชมพู   http://www.st.ac.th/bhatips/

๑.๓ ความต้องการของกลุ่มผู้สนใจ อันได้แก่  นักเรียน  เพื่อนครู  ผู้ปกครอง  ผู้สนใจภาษาไทยทั้งในและ

ต่างประเทศ   ได้ติดต่อผ่าน e mail  และสมุดเยี่ยม มาเพื่อขอความรู้  คำแนะนำ  คำปรึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับ

ภาษาไทยตั้งแต่ช่วงชั้นที่ ๒ระดับอุดมศึกษา

เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มผู้สนใจ จึงได้เปิดBlogที่ gotoKnow  ชื่อ การสอนภาษาไทยนำเสนอ

ข้อค้นพบจากห้องสอน การออกแบบการสอนที่ http://www.st.ac.th/bhatips/ และบริการตอบคำถาม

ที่http://gotoknow.org/ask/bhatips

๑.๔ ความน่าเชื่อถือและการเป็นที่ยอมรับ  จากที่ได้เปิดเว็บห้องเรียนสีชมพูและบล็อกการสอนภาษาไทย

ที่ gotoKnow  ให้บริการด้านภาษาไทยในวงกว้าง ในปีการศึกษา ๒๕๕๑ จึงได้รับมอบหมายจากสำนัก

เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ มอบหมายให้จัดทำและดูแลเว็บภาษาไทยที่เป็นศูนย์กลาง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูภาษาไทย  เผยแพร่ผลงานนักเรียนครู  ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่ผู้สนใจภาษาไทย

ผ่านเว็บ  ชื่อ ภาษาไทย  ภาษาทอง  ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะทดลองใช้  และฝากไว้กับserverของโรงเรียน

สุราษฎร์ธานีชั่วคราวรอการจดทะเบียน     http://www.st.ac.th/bhatips/webthai/index.htm

๒.       ผลงานความสำเร็จ

ด้านปริมาณ

๑)      มีเว็บแสดงเนื้อหาภาษาไทยช่วงชั้นที่ ๓ -๔  จำนวน ๖๔ เรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งนักเรียนร่วม

นำเสนอ 

                        ๒)    มีเว็บแบบฝึกหัดภาษาไทย ม.๑ และ ม.๒ จำนวน ๒๔  เรื่อง  แบบทดสอบ  ๑๕ เรื่อง

๓)    นำเสนอบทความข้อค้นพบ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการเรียนการสอนภาษาไทย  และ

บริการตอบคำถาม เพื่อให้แนวทางเรียนรู้ภาษาไทยแก่เด็กทั่วประเทศ ที่

 http://gotoknow.org/blog/bhatips2

๔)    ให้บริการตอบคำถามแนะนำ ให้คำปรึกษา แก่นักเรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง และบุคคล

ทั่วไป ผ่านe-mail [email protected]   เฉพาะปี พ.ศ.๒๕๕๑  จำนวน ๘๓  ฉบับ

๕)    มีผู้เยี่ยมชมแสดงความพึงพอใจ ผ่าน สมุดเยี่ยม ตั้งแต่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๒๕

สิงหาคม๒๕๕๑ จำนวน  ๓๔๑  ราย   ซึ่งมีทั้งนักเรียน    ผู้ปกครอง เพื่อนครู  กลุ่มผู้สนใจอื่น ๆ

ทั้งในและต่างประเทศ

 

 ด้านคุณภาพ

๑)      กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนสุราษฎร์ธานีมีแหล่งเรียนรู้ทางเว็บไซต์ที่สามารถ

บริการแก่นักเรียน ครู ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์และทั่วถึง

๒)    เว็บไซต์ภาษาไทยที่จัดทำสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการเชิงประจักษ์

เว็บไซต์ภาษาไทยที่จัดทำได้รับการยอมรับในระดับประเทศ

      ๓. วิธีการ / ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ

       ๓.๑   จุดเริ่มต้นเป็นการทำงานที่สนองตามพระราชบัญญัติเพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ที่ไม่จำกัดด้วย

เวลาและสถานที่

       ๓.๒ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  บนความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้วยแนวคิด "ถ้าครูภาทิพ ผลิตสื่อ

 ๑ ชิ้น  แล้วไม่เผยแพร่  สื่อชิ้นนั้นสอนเด็กได้เพียงปีละ ๑๐๐ คน  แต่หากครูภาทิพ  นำสื่อชิ้นนั้นมาเผยแพร่

ครูภาทิพ  สามารถสอนเด็กได้ทั่วประเทศ  ทั้งได้ช่วยเหลือครูภาษาไทยรุ่นใหม่ ๆ อีกด้วย"

      ๓.๓ สนองความต้องการของผู้ใช้บริการ   เมื่อไม่มีเนื้อหาคำอธิบาย  ก็ทำให้มี   เมื่อไม่มีแบบฝึกหัด

เว็บเพจที่นำเสนอแต่เนื้อหาขาดความน่าสนใจ      ทบทวนความรู้ไม่ได้   ไม่มีแบบทดสอบ      ครูมือใหม่

ไม่มีแนวทางในการสอน  ทำแผนการสอนไม่เป็น      เด็กทำการบ้านไม่ได้  หาแหล่งเรียนรู้ที่ครูสั่งไม่ได้  

ให้แนวทาง   ผู้ปกครองอยากจะช่วยอธิบายลูกแต่ไม่เข้าใจวิธีการ    องค์กรทางการศึกษา ต้องการสร้าง

เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยที่เป็นสื่อกลางของครู นักเรียนและบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเว็บภาษาไทย

ระดับประเทศ    ก็จัดทำให้มีขึ้นเพื่อสนองความต้องการของใช้บริการ

 

         ผลงานทั้งหมดที่เกิดขึ้น  เติบโตและขยายอย่างต่อเนื่องล้วนแต่เกิดจากความเป็น “ผู้ให้   โดยไม่ได้

หวังผลตอบแทนในรูปแบบใดๆ  

   เงื่อนไขความสำเร็จ

        ๔.๑ ด้วยใจที่มุ่งมั่นปรารถนาให้มีเว็บภาษาไทยที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ของคนไทย

        ๔.๒ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานมีทรัพยากรด้านเทคโนโลยี  และบุคลากรที่มีความชำนาญ

เสียสละคอยช่วยเหลือแก้ปัญหาในการจัดการข้อมูล

       ๔.๓ การเปิดกว้างและให้โอกาสของผู้บริหารที่อนุญาตให้ครูได้ทำในสิ่งที่รัก  ตรงกับความถนัด

ตลอดจนการให้ขวัญและกำลังใจ

       ๔.๔ ความต้องการของผู้ใช้บริการที่เข้ามาใช้บริการไม่สิ้นสุด มีมารยาทและรู้จักการให้กำลังใจผู้จัดทำ

       ๔.๔ นโยบายขององค์กรระดับประเทศคือสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ของ สพฐ.ที่ต้องการ

จัดทำเว็บภาษาไทยที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครู   ช่วยเหลือนักเรียน ให้คำปรึกษาแก่

ผู้ปกครองและผู้สนใจในภาษาไทย

๕.     ข้อจำกัดในการนำไปใช้

๕.๑ ความสะดวกรวดเร็วของการเข้าถึงข้อมูล

๕.๒ ความเหมาะสมของการออกแบบการสอนที่สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้

๕.๓ ความพร้อมของการบริการอินเตอร์เน็ตของโรงเรียน

๕.๔ ทักษะการสืบค้นการใช้งานอินเตอร์เน็ตของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้สนใจ

๖.       บทเรียนที่ได้รับ / ความภาคภูมิใจ

๖.๑ นักเรียน นักศึกษา เพื่อนครู ผู้ปกครอง และผู้สนใจภาษาไทยมีแหล่งเรียนรู้ให้สืบค้น

 ๖.๒ เว็บไซต์ และบล็อกที่เป็นแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยในความรับผิดชอบ พัฒนา เติบโต  ขยาย  ทั้ง

ด้านปริมาณและคุณภาพ

๖.๓ ความพึงพอใจ  กำลังใจ  คำชมเชย  คำอวยพรจากผู้ใช้บริการที่เขียนส่งมาวันละหลาย ๆ คน

๖.๔ การยอมรับความเชื่อถือจากเพื่อนครูทั่วประเทศ และการยอมรับจากองค์กรระดับประเทศที่

มอบหมายความรับผิดชอบให้จัดทำดูแลเว็บภาษาไทย ภาษาไทย  ภาษาทองของสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียน
การสอนของ สพฐ.
  ซึ่งขณะนี้รอจดโดเมนเนมในนามของ ภาษาไทยดอทคอม

      ภาพอนาคต 

ผู้แบ่งปันแหล่งเรียนรู้ภาษาไทยของโรงเรียนสุราษฎร์ธานีซึ่งมีความสุขในการแบ่งปันอย่างต่อเนื่อง
และยาวนาน     มีความความคาดหวังว่าการนำเสนอในครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายของการขยายพันธุ์แห่ง
การแบ่งปันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 คลิกดู  บันไดแห่งการแบ่งปัน  ก้าวขั้นของการพัฒนา

ความดีงามใดๆ ของบันทึกนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของคุณพ่อคุณแม่และครูบาอาจารย์
หมายเลขบันทึก: 204635เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แวะมาเยี่ยมครับครู

กำลังยุให้ลูกส่งเรียงความประกวด

แปดขวบเนี่ย เรียนเขียนเรียงความหรือยังหว่า

สวัสดีค่ะผู้ไม่ประสงค์ดี เอ๊ย ไม่ประสงค์จะออกนาม

แปดขวบอาจจะอ่านความเรียงขนาดสั้นมาบ้างแล้วค่ะ

หากเด็กได้รับการสั่งสมการอ่าน การคิดมาจากครอบครัวบ้าง

น่าจะให้เด็กลองเขียนดูนะคะ ผู้ปกครองอาจจะชี้แนะแนวทางบ้าง

หรือตั้งคำถามนำแล้วให้เด็กแสดงความคิดเห็น เล่าเรื่องราวตามความคิด

หรือจินตนาการออกมา ไม่ต้องคาดหวังรางวัล เพียงแต่ให้เขาได้วาง

ก้อนอิฐในการเขียนก้อนแรกของเขาไว้ก่อน แล้วเก็บงานชิ้นนี้ไว้ด้วยค่ะ

ไว้ระยะหนึ่งให้เขาหยิบมาอ่านใหม่ ให้เขาบอกว่า เรื่องที่เขียนไปนั้นควรจะปรับปรุงตรง

ไหนบ้าง

นายณัฐวุฒิ พละเลิศ

สวัสดีครับ อาจารย์ภาทิพ ผมเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนสุราษฎร์ธานี จบเมื่อปี ๒๕๔๗ ผมได้เรียนศึกษาต่อที่ราชภัฎสุราษฎร์ธานี โปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ ตอนนี้ผมเรียนมาถึงปลายทางแล้ว ผมกำลังฝึกสอนที่ โรงเรียนวัดโพธิ์นิมิต ผมเรียนภาษาไทยเป็นครูสอนภาษาไทยเหมือนกันครับ แต่ความรู้ดูเหมือนจะน้อยมาก อยากให้อาจารย์ให้ความรู้เพราะผมจะเปิดเว็บของอาจารย์เพิ่มพูนความรู้ไปสอนนักเรียนของผมเสมอ ผมดีใจที่ได้ทักทายอาจารย์ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้อาจารย์ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผมหน่อย สอนผมในการจัดกระบวนการสอนที่น่าสนใจ แนะนำในการสอนรูปแบบต่างๆ ในด้านการทำสื่อ เพราะผมไม่ถนัดในการสอนมัธยมเลย ผมหวังว่าผมคงได้รับความช่วยเหลือครับ ขอบคุณมากจริงๆ อีเมวของผม [email protected] ครับ

ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูง

สวัสดีค่ะณัฐวุฒิ

ยินดีค่ะที่ครุชนรุ่นใหม่สนใจใฝ่รู้เตรียมการสอน  ความรู้ที่ครูมีอยู่ก็ได้ถ่ายทอดในบล็อกนี้ไปทุกเรื่องไม่เคยปิดบัง  ค้นพบความรู้ใหม่ทุกครั้งก็จะถ่ายทอดกันฟังเสมอ

 

สำหรับแผนการสอนก็นำมาให้ครูตรวจได้ค่ะ  โดยมาที่ห้องวิชาการ  จะมีโต๊ะของครูตั้งอยู่นำมาวางไว้  เขียนโน้ตทิ้งไว้หรือบอกใครไว้ก็ได้  ครูจะตรวจและวางไว้ให้

 

แผนการสอนดูจากของครูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้เลยค่ะ  แวะมาที่

http://www.st.ac.th/bhatips/webthai/index.htm

จะมีแผนการสอนให้ค่ะ

 

ในขณะนี้โรงเรียนสุราษฎร์ธานีกำลังขาดอัตราครูสอนภาษาไทย และปีต่อ ๆ ไปก็จะขาดมากยิ่งขึ้น  เพราะปีนี้ อ.ผ่องพรรณ  เกษียณ  ปีหน้า อ.รัชนี  ปีหน้าโน้น  อ.กัลยา  อ.ผกาแก้ว  ปีถัดไป  อ.อุไรวรรณ  บุญญานุกูล   หากยังไม่ได้บรรจุที่ไหน   ก็อยากให้กลับมาช่วยกันที่ชมพูเขียวนะคะ  หาเบอร์โทรศัพท์ครูภาษาไทยได้จากหน้าเว็บโรงเรียน คลิกเข้า  สารสนเทศ บุคลากร  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยค่ะ

     mailมาที่ครู  [email protected]  

ขอบคุณมากครับ

ในใจผมก็อยากจะไปสอนที่โรงเรียนมากอยู่แล้ว จริงๆ การฝึกสอนของผมก็อยากที่จะสอนที่นั่นด้วย แต่โปรแกรมของผมไม่ส่งไปนะครับ ไม่ทราบเหตุผล

แต่ถ้าผมไปสมัครเป็นครูอัตราจ้างจะได้หรือป่าวครับ

เพราะผมจบ กุมภาพันธ์ นี้นะครับ

ผมไม่อยากว่างงานเพราะยังไม่มีสำนักงานเขตไหนเปิดรับสอบบบรจุเลยครับ

ส่วนเรื่องแผนการจัดการเรียนรู้ผมจะนำไปวางไว้ที่โต๊ะนะครับ เผื่อจะได้ติติงเพื่ออนาคตในการทำแผนการจัดการเรียนรู้

ฝากคำถามอีกอย่างครับเนื่องจากกว่าผมกำลังจะสอนเรื่องการพูดโต้วาที แต่นักเรียนยังไม่มีความรู้เรื่องการโต้วาทีเลย ผมได้สอนและแสดงบทบาทสมมติไปแล้วเมื่อถึงเวลาให้โต้นักเรียนยังดต้ไม่ได้ไม่ถูกต้องตามรูปแบบเพรานักเรียนไม่เคยดูการโต้วาทีมาเลย

ผมพยายามหาซื้อแผ่นซีดีการโต้วาที ก็ไม่มีร้านไหนจะมีขาย ผมอยากให้อาจารย์แนะนำหน่อยครับว่า จะมีวิธีใดอีกบ้างที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจมากกว่าเดิม ไม่ใช่แค่การอธิบายกับปากเปล่า (รบกวนอาจารย์อีกครั้งครับ) ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูง

สวัสดีค่ะ  วันนี้ครูมีโอกาสเจอ อ.อุไรวรรณ  บุญญานุกูล    ได้เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง  อ.บอกว่า ณัฐวุฒิ  น่าจะไปจากโครงการศิลป์  ตัวเล็ก ๆ ดำ ๆ  ?

 

ปลายปีการศึกษาให้ติดต่อ  อ.อุไรวรรณ  ไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ  มีโอกาสในการเป็นอัตราจ้างค่อนข้างสูง  เบอร์โทร อ.เข้ามาดูที่เว็บโรงเรียน  สารสนเทศบุคลากร  มีทุกคนค่ะ

 

เรื่องการโต้วาที   คนที่เก่งด้านนี้  มี อ.อรรถพล  สุวรรณโชติ   อ.รัชนี  วรรณวาสน์  และป้าอี๊ด ผ่องพรรณ  ซึ่งเทอมนี้ท่านมาช่วยสอนวันอังคารกับวันพฤหัสฯ  ท่านจะให้คำแนะนำได้ดีที่สุดค่ะ

 

ชมพูเขียวรอรับศิษย์เก่าคืนถิ่นค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท