การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล


การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล

 การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนมหาวิชานุกูล
The  Development  of  English  Reading  Lessons  by  Using  Local  Contexts  in  Maha  Sarakham  Provincial  Culture  for  Matthayemsueksa  2  at  Maha  Wichanukun  School

ฐิติกาญจน์  จันทรสมบัติ1
Thitikan  Chantarasombat1

บทคัดย่อ
 การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  (1)  พัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  (2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ก่อนและหลังการใช้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม   (3)  ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามที่พัฒนาขึ้น  (4)  หาค่าความคงทนการเรียนรู้หลังจากเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  และ  (5)  ศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  โรงเรียนมหาวิชานุกูล  อำเภอเมือง   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต  1  สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 30  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี  4  ชนิด  คือ  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  จำนวน  16  บท  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  เป็นชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ  แผนจัดการเรียนรู้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  t-test  (Dependent  Samples) 
 ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
  1.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.98/83.42  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่  80/80

  2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 
  3.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น  ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม มีค่าดัชนีประสิทธิผลของเท่ากับ  0.6266  แสดงว่า  นักเรียนมีก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากก่อนเรียน  คิดเป็นร้อยละ  62.66
  4.  หลังการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่เรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ  33.34  และหลังจากผ่านไป  2  สัปดาห์  คะแนนเฉลี่ยความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ  32.03  คะแนนเฉลี่ยลดลง  1.34  และสูญเสียความทรงจำคิดเป็นร้อยละ 3.34  ของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน แสดงว่ามีความคงทนต่อการเรียนรู้
  5.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.91)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อเช่นกัน   นักเรียนเห็นว่า  ข้าพเจ้ารู้สึกเชื่อว่าวิชาภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  การใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรอบรู้วิชาภาษาอังกฤษ  และมีการวัดผลระหว่างภาคปลายภาคและแจ้งผลการวัดให้นักเรียนทราบ
  โดยสรุป  การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการปฏิบัติเท่ากับ 84.98 และประสิทธิผลด้านผลลัพธ์เท่ากับ 83.42  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ  80/80   นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  62.66  มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด  และมีความคงทนต่อการเรียนรู้  ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม  สามารถพัฒนานักเรียนที่รอบด้านทั้งความรู้  (Knowledge)  ด้านการปฏิบัติ  ทักษะความชำนาญ  (Practice)  และด้านความรู้สึก (Attitude) เจตคตินึกคิด  มีการรักการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น และวิชาภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

คำสำคัญ:  บทอ่าน,  บริบทท้องถิ่น,  วัฒนธรรม

ABSTRACT
 This  study  aimed  to  (1)  develop  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  to  have  a  required  efficiency  of  80/80,  (2)  compare  English  reading  achievements  of  Matthayomsueksa  2  (grade  8)  students  before  and  after  the  uses  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  (3)  find  out  an  effectiveness  index  of  the  developed  English  reading  lessons  by  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  (4)  find  out  learning  retention  after  learning  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  and  (5)  examine  Matthayomsueksa  2  students’  satisfaction  with  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture.  The  sample  used  in  this  study  consisted  of  30  Matthayomsueksa  2/1  students  attending  Maha  Wichanukun  School,  Amphoe  Mueang,  the  Office  of  Maha  Sarakham  Educational  Service  Area  Zone  1  under  the  Office  of  the  Basic  Education  Commission  in  the  first  semester  of  the  academic  year  2006,  obtained  by  the  simple  random  sampling  techniqes.  Four  types  of  the  instruments  used  in  the  study  were:  16  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  a  40-item  4-choice  learning  achievement  test  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  for  Matthayomsueksa  2,  plans  for  organization  of  learning  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  and  a  scale  on  Matthayomsueksa  2  students’  satisfaction  with  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture.  The  statistics  used  for  analyzing  the  collected  data  were  percentage,  mean,  standard,  deviation,  and  t-test  (dependent  samples).
 The  results  of  the  study  were  as  follows:
  1.  The  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  for  Matthayomsueksa  2  had  an  efficiency  of  84.98/83.42  which  was  higher  than  the  established  requirement  of  80/80.
  2.  Matthayomsueksa  2  students’  learning  achievements  before  and  after  learning  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  were  at  the  .05  level  of  statistically  significant  differences.  A  learning  achievement  mean  score  after  learning  was  higher  than  before  leaning.
  3.  The  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  had  an  effectiveness  index  of  0.6266,  showing  that  the  students  had  learning  progress  from  before  learning  at  62.66  percent.
  4.  After  learning  Matthayomsueksa  2  students  who  learned  by  the  uses  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Saarakham  provincial  culture  had  an  achievement  mean  score  of  33.34;  and  2  weeks  after  learning  they  had  a  learning  retention  mean  score  of  32.03  with  decrement  of  the  mean  score  for  1.34,  and  a  loss  of  memory  at  3.34  percent  of  the  mean  score  after  learning,  showing  that  the  students  had  learning  retention.
  5.  Matthayomsueksa  2  students  showed  their  satisfaction  with  learning  by  uses  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  as  a  whole  at  the  highest  level  ( = 4.91).  And  when  each  aspect  was  considered,  it  was  found  that  their  satisfaction  was  also  at  the  highest  level  in  every  aspect.  The  students  provided  their  opinions:  “I  feel  I  believe  that  English  is  useful  to  living  my  life. The  use  of  this  teaching  method  or  teaching  technique  can  cause  me  to  be  swell-rounded at  English.  Also,  there  are  mid-term  and  final  evaluations  and  the  results  of  evaluations  are  informed  to  students.”
  In  conclusion,  the  development  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Salakham  provincial  culture  had  an  efficiency  in  the  performance  process  of  84.98  and  an  effectiveness  in  output  of  83.42  which  were  higher  than  the  established  requirements  of  80/80.    The  students  had  developments  in  knowledge  at  62.66  percent,  had  satisfaction  with  learning  at  the  highest  level,  and  had  learning  retention.  These  reading  lessons  can  be  regarded  as  appropriately  efficient  and  effective  learning  innovations  which  can  develop  students  in  all  aspects  of  knowledge,  practices,  and  attitudes,  more  of  English  leaning.  Also,  English  is  to  living  one’s  life.

Keywords:  reading  lessons,  local  contexts, culture 

 
บทนำ
 ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของประชากรโลกในปัจจุบัน เนื่องจากตำราและข่าวสารซึ่งผ่านทางสื่อต่าง ๆ มักจะตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งทักษะการอ่านเป็นทักษะที่นักเรียนต้องใช้มากที่สุด  ทักษะการอ่านจะช่วยส่งเสริมความรู้ความคิดของคนเราให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นการส่งเสริมยุทธวิธีการอ่าน  ได้แก่  การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท  การจับใจความสำคัญ  การอ่านเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ  การคาดคะเนและการตีความหมายโดยนัย  การพัฒนาคำศัพท์เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าในด้านการอ่าน  เพื่อพัฒนาความรู้พื้นฐานในด้านการอ่านของผู้เรียนให้ก้าวหน้า ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศของด้านการศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาการศึกษาในทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริง และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้จนเกิดความรู้ที่มีความหมายมากขึ้น ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศกลุ่มสาระที่ 8 เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ และศักยภาพพื้นฐานในการคิดและการทำงาน โดยมีเป้าหมายหรือผลที่คาดหวังให้ผู้เรียนใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและศึกษาต่อไปในระดับสูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ผู้เรียนในยุคโลกาภิวัตน์ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษา คือ การใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับสากลได้ด้วย  (กรมวิชาการ. 2545 : 1-5)  ซึ่งการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะภาษามิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ต้องการและเพื่อการประกอบอาชีพเท่านั้น  ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร  การเจรจาต่อรองเพื่อการแข่งขัน  และความร่วมมือ  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การรู้ภาษาต่างประเทศยังช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้คน  เพราะมีความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติ  ทำให้สามารถปฏิบัติตนต่อกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  มีความเข้าใจและภาคภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมไทยสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยไปสู่สังคมโลก
 การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษในประเทศไทยให้ความสำคัญทั้ง  4  ทักษะ  คือ  ฟัง  พูด  อ่านและเขียน  แต่สภาพที่เป็นจริงนักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีเท่าที่ควร (วรรณา  ภูพิชญ์พงษ์. 2545 : 2) ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาเนื้อหาในบทเรียนที่ไม่เหมาะสมกับผู้เรียน บทเรียนอาจยากหรือง่ายมากเกินไป หรือเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ และไม่ทันสมัยทำให้นักเรียนไม่มีความกระตือรือร้น ทำให้มีความสนใจในภาษาอังกฤษน้อยและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งสอดคล้องกับผลการทำการวิจัยของ วนิดา ดวงฤทธิ์ (2543 : บทคัดย่อ) พบว่า ผลของการใช้บทเรียนที่สร้างขึ้นตามความสนใจต่อพัฒนาการทางทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รวมทั้งสภาพสื่อการเรียนการสอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน อีกทั้งยังขาดความต่อเนื่องระหว่างบทเรียนแต่ละบทและแต่ละเล่ม รวมถึงกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ค่อยหลากหลายเท่าที่ควร ส่วน อารีย์  สังฆานาคิน (2542 : 2-3) พบว่าเนื้อหาที่ใช้เป็นสื่อในกิจกรรมการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษนั้น ส่วนใหญ่เป็นสื่อที่มีเนื้อหาเดียวกันกับสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเจ้าของภาษาหรือของผู้เขียนซึ่งเป็นเรื่องที่ไกลตัวที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษา และกระบวนการในการอ่านเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้เรียน หากผู้เรียนมีภูมิหลัง  (Prior Background Knowledge) เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน ไม่ว่าจะเป็นในด้านลักษณะลีลาการเขียน รูปแบบของงานเขียนหรือเนื้อหาในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาที่ละเอียดลึกซึ้ง ก็ย่อมที่จะทำความเข้าใจเนื้อหานั้นได้ยาก ซึ่งทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ดังนั้น การเลือกเนื้อหาที่มีภูมิหลังด้านสังคมและวัฒนธรรมของผู้เรียนมาเป็นสื่อในการเรียนการสอน จึงเป็นไปอีกแนวทางหนึ่งในการเลือกสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้ที่สื่อหรือเนื้อหาที่ผู้เรียนคุ้นเคยจะทำให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย เพราะจะทำให้การทำความเข้าใจความหมายทางด้านภาษาของผู้เรียนเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้เรียนสามารถฝึกการเดาศัพท์จากข้อความข้างเคียง (Guessing) คาดการณ์ล่วงหน้า (Anticipation) ทำความเข้าใจด้วยการสรุป และต้องอาศัยการตีความช่วยอย่างมาก และหากผู้เรียนขาดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้ไม่มีโอกาสได้ปรึกษากันในขณะที่เรียนหรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ร่วมกัน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการอ่านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ยิ่งขึ้น
    จากประสบการณ์ในการสอนภาษาอังกฤษของผู้วิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  (ช่วงชั้นที่  3)  มีความรู้ความสามารถในด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษน้อยมาก  อีกทั้งนักเรียนส่วนใหญ่คิดเป็นวิชาที่ยากและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชานี้  ทำให้ประสบกับปัญหาในการเรียนการสอนตลอดมา  จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะศึกษาการสร้างบทเรียนในลักษณะบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น  ด้านวัฒนธรรมในจังหวัดมหาสารคามขึ้น  โดยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยสาระที่นำมาใช้การสร้างบทเรียนดังกล่าวนั้นเป็นสาระที่มีอยู่ในท้องถิ่น  เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะศึกษามากขึ้น  นอกจากนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องการทราบว่าการอ่านภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นนั้นสามารถพัฒนาการอ่านเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนหรือไม่  ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาปีที่ที่  1  หรือ  มัธยมศึกษาปีที่  3  ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
 1.  เพื่อพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80
 2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ก่อนและหลังการใช้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม
 3.  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามที่พัฒนาขึ้น
 4.  เพื่อหาค่าความคงทนการเรียนรู้หลังจากเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม
 5.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
 1.  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  1.1  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  โรงเรียนมหาวิชานุกูล  อำเภอเมือง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4  ห้องเรียน จำนวน 163  คน
  1.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/4 ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  โรงเรียนมหาวิชานุกูล  อำเภอเมือง   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   จำนวน  1  ห้องเรียน จำนวน 30  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย  (Simple Random Sampling)  โดยวิธีจับฉลาก
 2.  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี  4  ชนิด  คือ
   2.1  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  จำนวน  16 บท
   2.2  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
   2.3  แผนการจัดการเรียนรู้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 18  แผน
   2.4  แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม
 3.  การเก็บรวบรวมข้อมูล
  ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการทดลองด้วยตนเองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต 1  โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
   3.1  ทดสอบก่อนเรียน  (Pre-test)  กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง  ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น  จำนวน  40  ข้อ  ใช้เวลา  50  นาที  และตรวจเก็บคะแนนไว้
  3.2  ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ทำความ
เข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้และอธิบายวิธีการศึกษาจากบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนดไว้ดังนี้
    3.2.1  ครูชี้แจงและอธิบายวิธีการศึกษาจากบทอ่านภาษาอังกฤษ
โดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามให้นักเรียนเข้าใจ พร้อมที่จะเรียน
    3.2.2  ให้นักเรียนศึกษาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามไปทีละบทเรียน  จากบทเรียนแรกจนถึงบทเรียนสุดท้าย  เมื่อศึกษาจบในแต่ละชุดให้ทำแบบทดสอบย่อยของแต่ละบทเรียน  แล้วเก็บคะแนนไว้
   3.3  ทดสอบหลังเรียน  (Post-test)  เมื่อสิ้นสุดการเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบท  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
   3.4  สอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนโดยใช้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม หลังจากการทดสอบหลังเรียน

ผลการศึกษาค้นคว้า
  1.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.98/83.42  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่  80/80
  2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 
  3.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น  ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม มีค่าดัชนีประสิทธิผลของเท่ากับ  0.6266  แสดงว่า  นักเรียนมีก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากก่อนเรียน  คิดเป็นร้อยละ  62.66
  4.  หลังการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่เรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ  33.34  และหลังจากผ่านไป  2  สัปดาห์  คะแนนเฉลี่ยความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ  32.03  คะแนนเฉลี่ยลดลง  1.34  และสูญเสียความทรงจำคิดเป็นร้อยละ 3.34  ของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน แสดงว่ามีความคงทนต่อการเรียนรู้
  5.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.91)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อเช่นกัน   นักเรียนเห็นว่า  ข้าพเจ้ารู้สึกเชื่อว่าวิชาภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  การใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรอบรู้วิชาภาษาอังกฤษ  และมีการวัดผลระหว่างภาคปลายภาคและแจ้งผลการวัดให้นักเรียนทราบ

อภิปรายผล
 จากผลการศึกษาค้นคว้า มีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผลได้ดังนี้
  1.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.98/83.42  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  เป็นไปตามเกณฑ์และสมมติฐานที่ตั้งไว้  สอดคล้องกับงานวิจัยของ ดารณี  ชาจิตตะ (2548  :  บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องการสร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนเกาะแก้วพิทยาสรรค์ พบว่า บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น  มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของบทเรียน  80.84/80.50  และผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง  หลังจากการใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นบริบทท้องถิ่นสูงกว่าการใช้บทเรียนการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  ;  สุทัศน์  สังคะพันธ์  (2547 : บทคัดย่อ) วิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาบริบทท้องถิ่นโดยใช้วิธีสอน แบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  พบว่า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และเอกสารประกอบการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาบริบทท้องถิ่นโดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ  87.59/82.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70  และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาบริบทท้องถิ่นโดยใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  ซึ่งหลังการใช้บทเรียนการอ่านที่มีเนื้อหาเน้นบริบทท้องถิ่นสูงกว่าก่อนเรียน  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  แสดงว่าบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นบริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียน  มีส่วนสำคัญในการพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนได้จริง  ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยดังกล่าวคือ
   1.1  การใช้เนื้อหาที่มีบริบทท้องถิ่น  ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวผู้เรียนทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการที่จะเรียนรู้เพิ่มขึ้น  นักเรียนมีความสนใจตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง  และเข้าใจเรื่องราวได้ดี  เพราะนักเรียนได้ตระหนักเห็นคุณค่าซึ่งเป็นประโยชน์จากการเรียนเรื่องราวใกล้ตัวผู้เรียนและนักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้เรื่องราวที่เกิดขึ้นใกล้ตัวและอยู่ในระดับความสนใจของผู้เรียน  และจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่านสูงขึ้น  ซึ่งสอดคล้องกับอารีย์  สังฆานาคินทร์  (2542  :  บทคัดย่อ)  กล่าวว่าการอ่านบทอ่านที่มีความรู้เดิมทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวในบทอ่านได้ดีขึ้นและมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียนมากขึ้น
   1.2  เนื้อหาในบทอ่านที่เน้นบริบทท้องถิ่นที่ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนมีความยากง่าย  และอยู่ในความสนใจเหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน  โดยยึดหลักการสอนคือสอนจากง่ายไปหายาก  กล่าวคือ  ให้นักเรียนอ่านข้อความที่ไม่ยาวนัก  รวมทั้งให้นักเรียนฝึกอ่านเป็นคู่หรือกลุ่มย่อยเสียก่อน หลังจากนั้นนักเรียนจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเองมากขึ้นจึงค่อยเพิ่มข้อความที่อ่านให้ยากขึ้นและยากขึ้น  เพื่อที่จะให้นักเรียนได้ฝึกอ่านตามลำพังต่อไป 
   1.3  ลักษณะของบทอ่านมีเนื้อหาตรงตามความสนใจของผู้เรียน  และเนื้อหามีความยากง่ายเหมาะกับวัยของผู้เรียนและโครงเรื่องดำเนินน่าสนใจและสนุกสนาน  และสอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร  และที่สำคัญตรงกับความต้องการของนักเรียน 
   1.4  การคัดเลือกเนื้อหาในบทอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นบริบทท้องถิ่นให้เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน  โดยผู้ศึกษาค้นคว้าได้พิจารณาคำศัพท์  โครงสร้างไวยากรณ์  โดยยึดสาระการเรียนรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544  เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการคัดเลือกเนื้อหา
   1.5  คำศัพท์ที่เลือกมาใส่ในบทอ่านภาษาอังกฤษ  เป็นคำศัพท์ที่ครอบคลุมเนื้อหาในบริบทท้องถิ่นในด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น  จำนวนคำศัพท์ที่ไม่มากเกินไป  ซึ่งจะทำให้นักเรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น  อีกทั้งนักเรียนมีพื้นความรู้เดิมในบทอ่านในด้านท้องถิ่นอยู่แล้ว  ซึ่งเป็นการง่ายที่นักเรียนจะเรียนรู้คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
   1.6  โครงสร้างไวยากรณ์  เป็นโครงสร้างไวยากรณ์ที่ใช้สอนในชั่วโมงเรียนปกติของนักเรียน  ซึ่งยึดกลุ่มการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544
   1.7  ความกะทัดรัดของเนื้อหาในบทอ่าน  พร้อมกับแบบฝึกหัดท้ายบทซึ่งเหมาะสมกับเวลา  และการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับเนื้อหาในบทอ่านทำให้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นบริบทท้องถิ่น  น่าสนใจและมีความหมายสำหรับนักเรียนและเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
  2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  โดยรวมอยู่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ( = 4.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง  21  ข้อและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  4  ข้อ  นักเรียนเห็นว่า  ข้าพเจ้ารู้สึกเชื่อว่าวิชาภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนที่ทำให้ข้าพเจ้ามีความรอบรู้วิชาภาษาอังกฤษ และมีการวัดผลระหว่างภาค  ปลายภาคและแจ้งผลการวัดให้นักเรียนทราบ ทั้งนี้เพราะการเรียนโดยบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม เป็นกิจกรรมการเรียนที่แปลกใหม่ที่ผู้เรียนเรียนไม่เคยเรียนมาก่อน  ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายเพราะความจำเจในการสอนแบบเดิม ๆ ของครู  และเกิดความสนใจในการเรียน  เนื่องจากบทเรียนได้นำเสนอประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ให้อยู่เสมอ  เช่น  การใช้คำถามหรือสื่อง่าย ๆ คือ  รูปภาพ  แผนผัง  เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนตอบสนอง  แล้วให้การเสริมแรง  (Reinforcement)  โดยให้ทราบผลการตอบสนองทันที  ผู้เรียนจึงเกิดความพึงพอใจในการเรียน  อีกทั้งเป็นการตอบสนองการจัดการศึกษาโดยยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถสร้างองค์ความรู้และพัฒนาตนเองได้  มีส่วนร่วมในการเรียนทุกขั้นตอน  ปฏิบัติกิจกรรมอย่างหลากหลาย  ทั้งที่เป็นรายกลุ่มและรายบุคคล  โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู

หมายเลขบันทึก: 204626เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาเยี่ยม Blog ท่านอาจารย์ ดร.ฉลาด ครับ วันที่ ๓ กันยายน เรามีประชุม กก KM เช้าครับ แล้วบ่ายมาที่ศึกษาศาสตร์ ครับท่านอาจารย์

  • โอโหตื่นเต้น
  • พบบันทึกอาจารย์
  • อาจารย์เป็นสมาชิกนานมากๆๆๆ
  • เอาคนนี้มาฝาก
  • http://gotoknow.org/blog/sutthinun
  • พ้อมกับงานวิจัยชิ้นนี้ครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/128242

     

    My Research (Full text)

  • ขอบคุณครับ

เครื่อข่ายครูเพื่อศิษย์จังหวัดมหาสารคาม ได้เริ่มนำเสนอบทความวิจัย ไม่เกิน 15 แผ่น

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานของครู อาจารย์ ที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว มีการตรวจสอบจนมั่นใจว่า เป็นชุดความรู้ที่สร้างขึ้น และได้จัดเก็บความรู้ไว้หลากหลาย และที่ง่ายและสดวกต่อการนำมาใช้ คือ อยู่บนฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีจำนวนของนิสิตระดับป.บัณฑิ ปริญญาโทและปริญญาเอกเข้าร่วมด้วยในโอกาสต่อไป และขอเชิญชวนเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่นี้ด้วย ขอขอบคุณ

ผศ.ดร.ฉลาด จันทรสมบัติ

เลขานุการและคณะกรรมการเครือข่ายครูเพื่อศิษย์จังหวัดมหาสารคาม

www.drchalard.com

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ฉลาด คะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ
  • มาเก็บความรู้ ที่อาจารย์ให้มาค่ะ
  • เยี่ยมยอด มาก ๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท