kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

AAR การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำ KM ให้เนียนกับเนื้องาน : ตลาดนัดการจัดการความรู้ ศูนย์อนามัยที่ 8


เจ้าหน้าที่ใช้กระบวนการ CQI มาใช้ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการทำงาน แต่ยังไม่ได้ใช้วิถีทางของการจัดการความรู้ ซึ่งได้แก่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอดบทเรียนจากขุมความรู้ อย่างแท้จริง

     จากที่ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้จัดการประชุมวิชาการโดยการนำเสนอผลงาน KM  ที่นครนายก(http://gotoknow.org/blog/kongkiet/202447)  เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 25551 และผู้นำเสนอได้รับการชี้แนะ และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างกันแล้ว

      ต่อมาในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2551 ผู้นำเสนอได้ปรับปรุงผลงาน KM เพื่อให้เห็นถึงผลลัพธ์และกระบวนการที่นำวิธีการของ KM มาใช้ นำเสนอด้วยการจัดบอร์ด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทั้งองค์กรได้มีโอกาสมาเรียนรู้ และรับทราบทั่วกัน (http://gotoknow.org/blog/kongkiet/204127)  ซึ่งได้มีการประกวด (http://gotoknow.org/blog/kongkiet/204163) และแจกรางวัลไปเรียบร้อยแล้ว (http://gotoknow.org/blog/kongkiet/204181)  นั้น

      วันที่ 29 สิงหาคม 2551 ศูนย์ ฯ  จึงได้จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มการเรียนรู้ที่นำเสนอ (รวมทั้งผู้อื่นที่ไม่ได้นำเสนอด้วย)

      ในการจัดกิจกรรมผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 (นายแพทย์ชาญชัย  พิณเมืองงาม) ได้กล่าวว่า

  • การจัดการความรู้ของศูนย์อนามัยที่ 8  หากพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง จะต้องมีการพัฒนาเข้าไปอยู่เป็นนิสัย  มีพฤติกรรม โดยไม่รู้ตัว
  • จะเห็นว่าบุคลากรบางกลุ่มได้ใช้กระบวนการ KM มาใช้ในการทำงานตลอดเวลา คิดตลอดเวลา จะเห็นถึงการพัฒนา แต่จะทำอย่างไรให้คนอื่นทำได้ เช่นถ้ากลับไปมองที่บ้านก็สามารถใช้กระบวนการนี้ในการพัฒนาได้
  • โดยพื้นฐานของมนุษย์นั้นเกิดมาสร้างให้มีความขยันอยู่แล้วตั้งแต่ขวบปีแรก ในช่วง 1-2 ปี ความ ขยันของเด็กขึ้นอยู่กับพ่อแม่ เด็กเล็ก ๆ มักจะชอบเข้ามามีส่วนในกิจกรรม แต่พ่อแม่มักจะไม่ชอบและขัดขวาง ทำให้พฤติกรรมเด็กพยายามหลีกเลี่ยงนิสัยที่จะคิดประดิษฐ์และพัฒนา พยายามจะหลีกเลี่ยงที่จะทำงานตลอดเวลา เพราะจะทำก็กลัวไปหมด
  • ดังนั้นกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ศูนย์ ในช่วงนี้เปรียบเหมือนเด็ก ที่ต้องอาศัยการประคับประคองจากพ่อแม่ ซึ่งก็คือหัวหน้าหน่วยงาน และมีคณะกรรม KM คอยช่วยเหลือ  ซึ่งจะทำให้มีผลงานที่ดีในโอกาสต่อไปมากยิ่งขึ้น มีองค์ความรู้ ที่พัฒนาสะสมไปเรื่อย ซึ่งต้องใช้เวลา และต้องมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ  ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ

       สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลเรื่องการเล่านิทานเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยคุณเตือนใจ แก้วสารพัดนึก (แผนก ER) ป้าเตือนบอกว่า

  • จุดเริ่มต้นของกิจกรรมคือหมอเปิ้ล ซึ่งคิดว่านิทานน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ จึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกัน 
  • ตัวป้าเตือนเองตอนแรกไม่ได้อยู่ในกลุ่มหรอก แต่เดินผ่านไปเห็นว่ามีการเล่านิทานจนเกิดความสนใจเข้าไปรวมกลุ่มตัว โดยในกลุ่มทุกคนร่วมกันทำงานด้วยกันด้วยใจรัก  
  • ต่อมาหมอหญิงมาเล่าร่วมด้วนว่าสมาชิกของกลุ่มเป็นคนที่รักเด็ก และอยากพัฒนากิจกรรมการเล่านิทาน  โดยทุกคนมาจากงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และอื่น ๆ  
  • ช่วงแรกเริ่มด้วยการพัฒนาถึงกระบวนการในการเล่า การหาอุปกรณ์  วิธีการเล่า ฉาก เนื้อเรื่อง วิธีการพากษ์เสียง   
  • ต่อมาเริ่มพัฒนาเรื่องช่วงเวลาการแสดง  นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่นการหาต้นไม้ประกอบฉาก  เครื่องเสียง อุปกรณ์ประกอบฉาก 
  • ทุกครั้งที่จัดกิจกรรมจะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 
  • ในระยะต่อไปจะมีการวัดในลักษณะการเผยให้พ่อแม่นำไปใช้เล่านิทานให้ลูกได้ รวมถึงการวัดว่าการเล่านิทานมีผลมากน้อยต่อพัฒนาการเด็กเพียงใด

       กลุ่ม NICU (ทารกวิกฤต) โดยพี่จ๋อมมาเล่าว่า

  • ที่ NICU มีกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพตลอดเวลาอยู่แล้ว
  • ในปีที่แล้วที่ NICU ส่งเรื่องถึง 5 เรื่อง ในปีนี้ส่ง 2 เรื่อง
  • ปีนี้ผลงานที่ได้รางวัลคือเกราะป้องกันตัวเย็น ได้รางวัล Popular vote ซึ่งที่ได้รับรางวัลผลงานนั้นเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกัน
  • ทุกคนมีส่วนร่วม เห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนา   

       พี่บุษรา จากห้องคลอดมาเล่าเรื่อง ชุมชนคนเฝ้าคลอด   

  • พี่บุษบอกว่าเรื่องที่ทำเกิดจากปัญหาของงานที่ทำ และสิ่งที่ทำเป็นงานที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว  
  • คือคนไข้บ่นว่าเจ้าหน้าที่ห้องคลอดดุ  เจ้าหน้าที่ในห้องคลอดต้องการจะปรับปรุงในส่วนนี้มากที่สุด 
  • พี่บุษ บอกว่าการทำ KM ในเนียนกับเนื้องาน เกิดจากงานที่ทำประจำมีปัญหา และจากการทบทวนประจำเดือน
  • จุดเริ่มของ KV มาจากการเล่าเรื่องในหน่วยงาน จากนั้นมีการสรุปประเด็น มีแนวทางที่จะต้องทำและปรับปรุง ที่ทุกคนได้มีการสรุปบทเรียนจากประสบการณ์และการพบเห็น
  • ต่อจากนั้นได้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการ AAR ตลอดเวลา ซึ่งการปรับกิจกรรมนั้นมีผลลัพธ์ตอบกลับมาอย่างน่าชื่นชม เช่นมีการติดตามหลังการทำงาน การเยี่ยมหลังคลอด การไปดูผลงานที่ทำไปแล้ว
  • ซึ่งผลตอบกลับมาคือความชื่นชมทั้งจากผู้รับบริการ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ และผู้บังคับบัญชา  สังเกตได้จากของกินที่ผู้รับบริการนำมาฝากที่ห้องคลอดมากขึ้น  วัดความพึงพอใจมีคะแนนมากยิ่งขึ้น  ไม่มีข้อร้องเรียน และมีคนมาเล่าให้ฟังว่ามีคนชมลับหลังด้วย

   จากการประเมินของคณะกรรมการ   พบว่า

  • ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ใช้กระบวนการ CQI มาใช้ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการทำงาน แต่ยังไม่ได้ใช้วิถีทางของการจัดการความรู้ ซึ่งได้แก่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอดบทเรียนจากขุมความรู้ อย่างแท้จริง   
  • ดังนั้นในกระบวนการการจัดกิจกรรมในระยะต่อไปน่าจะต้องให้มีการให้ความรู้ โดยการฝึกให้ทำจากกระบวนการที่แท้จริง  รวมถึงการเรียนรู้จากผู้อื่น ที่มีความสามารถมากกว่า 
  • การตั้งกลุ่มหรือเรื่องน่าจะเป็นกลุ่มที่สนใจและรักในเรื่องเดียวกัน และเรื่องที่ทำควรเป็นเรื่องที่เป็นงานที่ทำอยู่แล้ว
  • และสิ่งที่สำคัญคือตัวผู้นำกลุ่ม Key person จะมีบทบาทสำคัญในการชักและชี้นำในการทำกิจกรรม  
  • อย่างไรก็ตามมาถึงในขั้นนี้ศูนย์ ฯ ได้มีการพัฒนามาอยู่ในขั้นตอนที่น่าพอใจ  มีกลุ่มเจ้าหน้าที่หลายกลุ่มที่ใช้กระบวนการ KM ในงานประจำ และเห็นผลของการทำงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

ขอบคุณครับ 

หมายเลขบันทึก: 204561เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มาชื่นใจ และชื่นชมผลงาน ที่ได้ใจผู้ร่วมงานละค่ะ
  • สิ่งนี้รับประกันได้ ในเรื่องคุณภาพของงาน ... คับแก้ว
  • ... KM ไม่ลอง ไม่รู้ ... จริงไหมคะ

สวัสดีคะ

- แวะชื่นชม ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม
  • มีกำลังใจขึ้นเยอะเลยครับ
  • KM สู้ๆ
  • CKO สู้ตาย
  • KMB ไว้ลาย KM ไชโย
  • มีกองเชียร์อย่างนี้ ท่าจะร้อยเรียบ ... อิอิ
  • สรุปว่า CKO ตายก่อน ... รึป่าว ว ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท