คำขวัญอุตรดิตถ์


อุรตดิตถ์

คำประพันธ์เกี่ยวกับอุตรดิตถ์

คำขวัญอุตรดิตถ์

โดย นางเพ็ญจันทร์  กิตติวัฒน์

เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านเกิดพระยาพิชัย ถิ่นสักใหญ่ของโลก

โคลงสี่สุภาพ                                                                 

เหล็ก  คงแข็งแกร่งกล้า                มีมา

                        น้ำ  น่านไหลธารา                                   ถิ่นที่

                        พี้  แข็งแกร่งพฤกษา                                สักสูง  เทียมนา

                        ลือเลื่อง เจริญจรุง                                   ทั่วหล้าปถพี

                                    เมือง  อุตรดิตถ์แม้น                    วิมาน

                        ลาง เกิดดีนานกาล                                  แน่แท้

                        สาด  แสงส่องสถาน                                เรืองรุ่ง

                        หวาน  จับจิตจริงแล้                                เลิศล้ำคำชม

                                    บ้าน  เมืองเรืองรุ่งรุ้ง                    แพรวพราว

                        เกิด  แต่แรงจูงน้าว                                  จับจ้อง

                        พระยา  ร่วมครองด้าว                              โดดเด่น

                        พิชัย ช่วยปกป้อง                         ทั่วท้องสยามินทร์

                                    ถิ่น  แดนเทียมแผ่นฟ้า                 สวรรค์

                        สัก  เท่าไรมิทัน                                       เทียบหล้า

                        ใหญ่  เกินกว่ากั้น                                    เทิดศักดิ์  ศรีนา

                        ของโลก บ่มิหวั่น                                     ต่อท้ายอายใคร                                                  

 ประเพณีอัฐมีบูชา                      

โดย นางเพ็ญจันทร์  กิตติวัฒน์

                        วันสำคัญแห่งพุทธศาสนา                        น้อมบูชามานานกาลสมัย

รู้จักกันห้าวันประจักษ์ใจ                                                   รำลึกในศาสนาพร้อมบูชา

เพ็ญสิบห้าค่ำในเดือนสาม                                               มาฆบูชานามรำลึกหา

เป็นวันแสดงปฐมเทศนา                                                  พระศาสดาพาหลุดพ้นกรรมวังเวง

วันถัดมาวิสาขบูชานั้น                                                      คือวันประสูติตรัสรู้แจ้ง

ปรินิพพานวันเดียวกันแสดง                                              ดั่งกลแกล้งแต่งมาปาฏิหาริย์มี

อาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา                                             น้อมระลึกฤดูวสันต์ศรี

ขึ้นสิบห้าค่ำล้ำต่อหนึ่งค่ำมี                                               ณ ครานี้พระสงฆ์พักพรรษากัน

เดือนสิบขึ้นสิบเอ็ดค่ำนั้น                                                  เป็นวันออกพรรษาพาสุขสันต์

พระสงฆ์ได้จาริกเดินทางกัน                                             เผยแนวธรรม์มั่นคงดำรงบุญ

แต่มีอีกวันหนึ่งซึ่งลืมนัก                                                   คือวันจักจดจำนำเกื้อหนุน

วันเผาพระศพพระผู้นำบุญ                                               ระลึกคุณขององค์พระศาสดา

คือวันอัฐมีบูชานั้น                                                           จะทำกันบางกลุ่มระลึกหา

ทำกันมาเป็นประเพณีดำเนินมา                                        คือประชาทุ้งยั้งยังทำมา

กิจกรรมเริ่มกันเพ็ญเดือนหก                                             ได้หยิบยกพระองค์ดับชันษา

ตั้งบรมศพองค์พระศาสดา                                               เป็นเพลาเจ็ดวันเจ็ดราตรี

ประชาชนเริ่มงานการก่อสร้าง                                           สมมุติอ้างพระศพเทิดศักดิ์ศรี

ปางไสยาสน์ตัวแทนองค์ภูมี                                              ทุกคนพลีแรงกายใจได้ช่วยกัน

พอเสร็จสรรพจัดงานสวดพระศพ                                      อภิธรรมครบด้วยแรงสมานฉันท์

วันที่แปดอันเชิญสู่เมรุกัน                                                  ดั่งสุพรรณงดงามอร่ามตา

เหล่าพระสงฆ์ประชาพาสมมุติ                                          ว่าเป็นชาวพุทธกุสินาราหนา

ร่วมพิธีที่เรียกอัฐมีบูชา                                                     เหล่าเทวดานางฟ้ามาชุมนุม

เมื่อกระทำทักษิณาคราสามรอบ                                        ศิรนอบน้อมถวายพระเพลิงสุม

จุดเท่าไรพระเพลิงไม่ไหม้รุม                                              ผู้ชุมนุมเฝ้ารอดูเหตุการณ์

สมมุติสงฆ์องค์หนึ่งในครานั้น                                           พระมหากัสสัปปะนั่นถึงสถาน

เพื่อเคารพพระศพพระศาสดาจารย์                                   พระเพลิงกาฬมอดไหม้ไปเป็นจุล

เสร็จพิธีสมมุติเพลิงไหม้หมด                                            ประชุมพรตแบ่งพระธาตุเป็นแปดหุ้น

ให้กษัตริย์พระองค์ผู้ทรงบุญ                                       นำบูชาพทุธคุณถ้วนหน้ากัน

ต่างนำไปบรรจุในพระธาตุ                                           อภิวาทกราบไหว้ให้สุขสันต์

พระบรมธาตุทุ้งยั้งนั้น                                                    มีเช่นกันรำลึกบูชาคุณ

อัฐมีบุชานั้นว่าสอน                                                        ประชากรร่วมมือกันยึดมั่นหนุน

ต่อเนื่องมาประเพณีได้ทำบุญ                                        ไม่ลืมคุณขององค์พระศาสดา

 

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

โดย  นางเพ็ญจันทร์  กิตติวัฒน์

                        ประเพณีมีมาพาสร้างสรรค์          สารพันคุณค่ามหาศาล

            สืบกันมายึดถือนานวันผ่าน                       ร่วมสืบสานรักษามาเนิ่นนาน

            เทศกาลต่างมีทุกที่ถิ่น                              เป็นทรัพย์สินส่งต่อสู่ลูกหลาน

            ลอยกระทงกฐินและสงกรานต์                  เทศกาลมาถึงจึงช่วยกัน

            ประเพณีมีคำสอนซ่อนแอบแฝง                คิดให้แจ้งจะรู้ดูสร้างสรรค์

            เช่นประเพณีเทศน์มหาชาติคุณอนันต์        อานิสงส์นั้นหนุนนำด้วยแรงบุญ

            เริ่มตั้งแต่ร่วมกันตกแต่งวัด                       ต่างช่วยจัดตกแต่งไม่วายวุ่น

            แบ่งหน้าที่กันไปเพื่อได้บุญ                       ชายงานหนักหญิงงานเบาเด็กร่วมแรง

            การแต่งวัดนั้นสมมุติว่าเป็นเขา                  บรรพตเงาวงกตสวยสดแต่ง

            ผลหมากรากไม้นำมาแปลง                      แล้วจัดแจงนิมนต์พระมาเทศนา

            ขึ้นคาถาพระมาลัยหนึ่งวันก่อน                 แล้วเริ่มผ่อนที่ละกัณฑ์รุ่งขึ้นหนา

            ครบสิบสามกัณฑ์ที่แสดงมา                     หนึ่งทิวาราตรีมีบุญกัน

            ประเพณีที่ดีนี้ควรอยู่                               จักเชิดชูพุทธศาสน์ให้เฉิดฉัน

            ให้อนุชนรุ่นหลังสืบทอดกัน                       ปลูกคุณธรรมนำชีวีที่ยั่งยืน

 

 

หมายเลขบันทึก: 203687เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท