แดนสุขารมณ์


"สุขารมณ์" เป็น "ความรู้สึก" ทางด้าน"อารมณ์" จึงเป็นภาวะทางจิต บริเวณที่"เผยตัว"ของ"ความรู้สึก"นี้ คือ  บริเวณคอร์เท็ซ์ที่เป็นเปลือกของสมอง 

 แต่ "แหล่งที่เกิด"ของความรู้สึกสุขารมณ์นี้จะอยู่ที่บริเวณสมองตอนกลางระหว่างไขสันหลังกับสมองส่วนบน โดยเฉพาะที่ "ไฮโปทาลามัส"(Hypothalamus) 

นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยพบว่า  ถ้ากระตุ้นที่ไฮโปทาลามัสนี้แล้ว  "ความรู้สึกอยากให้กระตุ้นซ้ำอีก" เกิดขึ้น และยิ่งกระตุ้นก็จะยิ่งตองการให้กระตุ้นซ้ำ  เหตุการณ์นี้จะไปเกิด"ความรู้สึก"ที่บริเวณคอร์เท็กซ์  และ"สังเกต" หรือ "วัด" ได้ที่ "พฤติกรรมหรือการกระทำ"  เช่น  ถ้ากระตุ้นไฮโปทาลามัสของหนูในขณะที่มันถีบจักรอยู่แล้ว มันจะถีบจักรไม่หยุด  เราเรียกชื่อเหตุการณ์นี้ว่า"ความสุข" และผมเรียกว่า"ความสุขารมณ์"

ในหมู่มนุษย์  กาดื่มเหล้า  เหล้าก็จะเข้าไป "กระตุ้น"แดนสุขารมณ์นี้  และเกิดความเคลิบเคลิ้ม และ"อยากกระตุ้นอีก"  คือดื่มอีก ๆ ๆ และดื่มอีก !

ถ้าเอา"ย้าบ้า"เข้าไป"กระตุ้น"แดนไฮโปทาลามัสหรือแดนสุขารมณ์นี้ มันก็จะต้องการให้"กระตุ้นอีก ๆ ๆ ๆ และ กระตุ้นอีก"  เพื่อการเกิด "สุขารมณ์" !!

ฯลฯ

นี่คือ เรื่องของการเกิดสุขารมณ์ !!!

สิ่งที่ตามมาคือ  มีคนอีกจำนวนหนึ่ง "ต้องการหาความสุขารมณ์ด้วยการหาเงินมากระตุ้นแดนสุขารมณ์ของตนเองด้วยการสร้างเหล้า, ยาบ้า, ... ขึ้นมาขายเอาเงินจากบุคคลผู้น่าสงสารเหล่นั้นครับ !!!!!

หมายเลขบันทึก: 202652เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • คอยบันทึกใหม่อาจารย์นานเหลือเกิน....

ตามที่อาจารย์เล่ามา เมื่อมีแดนสุขารมณ์ ก็ต้องมีแดนทุกขารมณ์ (หรืออาจมีแดนอุเบกขารมณ์อีกด้วย) ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะผ่าตัดเอาแดนทุกขารมณ์ออกจากสมอง เพื่อไม่ต้องทนทุกขเวทนาอีกต่อไป...

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

แดนทุกขารมณ์ก็อยู่ที่เดียวกันแหละครับ หรืออันเดียวกันนั่นเอง คือที่ไฮโปทาลามัสนั่นแหละ แต่มันเกิดดังนี้

ถ้าเราสูบบุหรี่หนึ่งครั้งแล้วเป็นสุข จะทำให้อยากดูดครั้งที่สอง สาม ... ไปเรื่อยๆ คือ "อยากทำซ้ำอีก ๆ ๆ ๆ " เราเรียกพฤติกรรมนั้นว่า "สุข" ดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าคราวนี้ "ดูด"ได้หนึ่งครั้ง แล้วมีคนมาแย่งไปขยำทิ้ง ทำให้ "สิ่งที่พึงปรารถนา"ของเขา "ถูกดึงออกไป" ผลที่ตามมาคือ "เขาจะโกรธ" อาจจะถึงกับชกต่อยกันก็ได้

พฤติกรรมเช่นนี้ "ตรงกันข้าม"กับสุข เราจึงจัดเข้าเป็น พวก "ทุกข์"

ความรู้สึกทุกข์จึงเกิดจาก "การเอาออกไปซึ่งสิ่งที่ผู้น้นปรารถนา"

อันที่จริงปรากฏการณ์นี้ พระพุทธองค์ได้ค้นพบมากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว ดังคำสอนที่ ว่า "การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์"

แหล่งเกิด คือที่เดียวกันครับ คือทีบริเวณไฮโปทาลามัส หรืออาจจะรวมแดนย่อยอื่นๆที่รวมกันเข้าเป็นระบบลิมบิคก็ได้ แต่ผลของ มันจะไป"เผยตัว"ออกสู่ "ความรู้สึก"ที่บริเวณ"ซีรีบรัลคอร์เท็กซ์"ครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท