ชีวิตครู กศน.


วิถีชีวิตครู ศรช.ที่ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทตัวเอง

       โดยส่วนตัวแล้ว  รู้สึกประทับใจกับความเป็นครู ศรช. ที่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ และได้ทำงานเพื่อสังคมชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือครูชาวบ้าน ที่เรารู้จักคุ้นเคยอยู่เป็นประจำ  แต่เราอาจจะขาดความรู้ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาที่แฝงอยู่กับวิถีชีวิต ของบุคคลเหล่านี้ ดังนั้นจำเป็นต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้

 

         ในยุคปัจจุบันนี้การบริหารจัดการ ศูนย์การเรียนชุมชนนั้นถือว่าครู ศรช. ทุกคนต้องเป็นนักบริหารเองเป็นนักจัดการ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่  งบประมาณ ครู ศรช. จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกับผู้บริหารอำเภอ  และศูนย์อำเภอจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระจายอำนาจและการบริหารจัดการลงไปยังพื้นที่ ระดับตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้งบประมาณลงไปถึงพื้นที่ที่แท้งจริง และให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด

        ครู ศรช. ต้องมีอาคารสถานที่  จัดการเรียนการสอน ต้องมี เวฟไซด์ เวฟบล็อก เป็นของตนเอง

ครู ศรช.ต้องมีสื่อการเรียนการสอน  ต้องมีพื้นที่บริการที่ชัดเจน  ต้องมีบุคคลากรที่เพียงพอต่อความต้องการ  ต้องมีอาสาสมัครงาน ศรช. ต้องมีครูชาวบ้าน ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษา ศรช. หน่วยงานเครือข่าย  และที่สำคัญ  ต้องงบประมาณบริหาร  ไม่ใช่ไปกระจุกอยู่ที่ใดที่หนึ่ง งานทุกอย่างต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ งานต้องเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ทำเพื่อให้งบประมาณของแผ่นดินละลาย สุดท้ายไม่ได้อะไร

         สุดท้ายฝากเพื่อครู ศรช. ให้ตั้งใจทำงานทำด้วยจิตวิญญาณ ทำเพื่อชาติและประชาชนทั่วไปและที่สำคัญทำตามแนวพระราชดำริของในหลวง  แล้วเราจะมีความสุข เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ถึงไม่ได้เป็นพนักงานราชการ  ก็อย่าท้อ แม้จะทำงานมาแล้ว 20 ปี  ขอเกษียณ ที่ครู ศรช. ดีกว่า

        ดังคำกล่าวที่ว่า

ลาภและยศหาบไปไม่ได้แน่   เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล    ทิ้งสมบัติเอาไว้ให้ปวงชน  ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ 

           วันใดที่เราได้ผู้บริหารที่ดี  วันนั้นงานของศรช. ก็จะก้าวหน้า  วันใดได้ผู้บริหารมีแต่ผลประโยชน์ วันนั้น ศรช. จะมืดมน

     แผนชีวิตที่ 25. ของในหลวงกล่าวว่า  เหรียญเดียวมีสองหน้า  คือ ความสำเร็จ  กับ ความล้มเหลว

            ครู ศรช. ถ้าทำดีก็จะประสบความสำเร็จ  ถ้าทำไม่ดีก็จะประสบความล้มเหลว

คำสำคัญ (Tags): #ชมรมยามวิกาล
หมายเลขบันทึก: 202024เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท