แลกเปลี่ยนเรียนรู้...งานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก


สตรีทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม ควรได้รับการตรวจแป๊ปสเมียร์

เมื่อวันที่ 14 - 15 ก.ค. 51  ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ไปรับการอบรม เรื่องการทำ Pap smear อย่างมีคุณภาพ และ Slide management ที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น จัดโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ซึ่งพยาบาล PCU จากอำเภอเมือง ได้รับโควต้า ไปอบรม 3 คน โซนราชพกฤษ์ ได้รับการคัดเลือก มีพี่พยาบาลจากสอ. บ้านเลื่อม และน้องพยาบาลจาก สอ. เชียงยืน ร่วมรับอบรมด้วยกัน กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ เป็นคนทำงานเกี่ยวกับงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (พยาบาลเกือบทั้งหมด) จาก 12 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมประมาณ 100 คน

เมื่ออบรมกลับมาแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ นำเรื่องราวที่ไปอบรมมา นำเสนอให้ได้รับทราบในที่ประชุมประจำเดือน ในเดือนต่อไป จึงได้สรุปเรื่องราวย่อ ๆ  ให้ฟัง ดังนี้ค่ะ

เปิดโรง...ร้องเพลงนะคะ

  • ถามจริง ๆ มะเร็งนั้นคืออะไร เกิดที่ใจหรือว่าเกิดที่หน้าตา

      ฉันอยากรู้ วันนี้จึงถามขึ้นมา มะเร็งนั้นหนาเกิดได้ยังไง

      ถามจริง ๆ อยากรู้ ต้องไปหาหมอ

      ไปนั่งรอ ให้หมอตรวจ แป๊บสเมียร์  (ร้องทำนองเพลงคุณลำไย)

 

กระบวนการอบรม  เป็นการให้วิชาการ สลับกับสันทนาการ และแนวคิดการทำงาน

 

สิ่งที่ได้จากการอบรม

1.  แนวทางการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  โดย ...นพ. ธีรวุฒิ  คูหะเปรมะ   ผอ. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  • วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัด

         1.  ลดอัตราการตายและอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูก

         2.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย      

  • แนวนโยบายการป้องกัน 3 ระดับ   

         1.  Primary Prevention  คือ การป้องกันไม่ให้เป็น โดย การดูแลตนเอง เรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง แนะนำการปฏิบัติ 5 ทำ 5 ไม่

         2.  Secondary Prevention  คือ การตรวจคัดกรอง ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ตรวจพบในระยะเริ่มแรก ได้รับการดูแลรักษา (Early detection)

         3.  Tertiary Prevention    คือ เป็นแล้วต้องรีบรักษา มีสถานที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างเพียงพอ มีมาตรฐาน  

  • ใครบ้างที่ต้องได้รับการคัดกรอง

        *  ข้อดีของมะเร็งปากมดลูกคือ มีการดำเนินโรคช้า สามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรก และรักษา

             หาย ดังนั้น สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกคน

        *  สตรีทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม ควรได้รับการตรวจแป๊ปสเมียร์

            ดังนั้น ในกลุ่มมารดาหลังคลอดควรตรวจ pap smear ทุกราย

        *  สตรีกลุ่มเป้าหมายในโครงการ ฯ ที่ต้องได้รับการตรวจแป๊ปสเมียร์ อายุ 35 40 45 50 55 และ 60 ปี

  • ทำไมต้อง เริ่มคัดกรอง ที่ 35 ปี

        -  ในเชิงสถิติ พบว่า การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูก (ระยะก่อนมะเร็ง) จะเริ่มพบที่

           อายุ 35 ปีขึ้นไป

        -  สถิติข้อมูล..ประเทศไทย มะเร็งปากมดลูก จะพบมาก ช่วงอายุ 40 - 55 ปี

  • ทำไมต้องเว้นการตรวจทุก 5 ปี

        -  มะเร็งปากมดลูกมีการดำเนินโรค ประมาณ 5 - 10 ปี

        -  การตรวจคัดกรอง (Screening) จะตรวจความถี่เท่าไหร่ก็แล้วแต่ ขอให้มีความครอบคลุมทุกคนในหมู่บ้าน ตรวจครอบคลุม อัตราการเกิดจะลดลง

        -  ผลการคัดกรองปีที่ผ่านมา ปี 49  มาคัดกรอง  435,995 ราย ( 54.5 %)

                                                 ปี  50  มาคัดกรอง  386,228 ราย (48.5 %)

       - การคัดกรอง โดย pap smear

                       *    35 - 40 ปี  ครั้งหนึ่ง ในชีวิต ก็พอ

                       *    35 - 55  ปี  ตรวจทุก 10 ปี

                       *     ถ้าทำได้ครบ 80 %  ทำทุก 5 ปี

              หรือ   *     35 - 40 ปี   ครั้งหนึ่งในชีวิต

                        *     30 - 60 ปี   ทุก 10 ปี ครบ 80 %  ทำทุก 5 ปี

***  ตัวชี้วัดในงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของพื้นที่ต้อง > 80 %  ****   

 

ผู้ร่วมอบรมจาก จ. อุดรธานี

กิจกรรมสันทนาการ ...ฝึกการเป็นผู้นำ ...หน้าที่ผู้นำ คือทำให้เพื่อนสนุก และมีความสุขในกิจกรรม

ได้เป็นทั้งผู้นำหน้า ...และนำแน..!!

 

พักสายตา ..แวนด้า..จากบ้านหรรษา

2.  Update ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก

โดย........ผศ. พญ. พิสมัย  ยงยืน           สูติ-นรีแพทย์จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์

อุบัติการณ์

  • เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย (อายุที่พบมาก 41 -50 ปี)

  • พบอายุต่ำสุดที่เป็นมะเร็งปากมดลูก อายุต่ำกว่า 20 ปี

  • ในประเทศไทย   24.7 ต่อแสนปชก. ภาคเหนือ พบมาก ที่เชียงใหม่ ภาคใต้ที่สงขลา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขอนแก่น และกรุงเทพ ฯ พบเป็นที่ 2 รองจากเชียงใหม่

  • เฉลี่ย เสียชีวิตวันละ 7 ราย (ตัวเลขทางสถิติ มีไฟล์ แต่ลิ้งค์ไม่เป็นต้องขออภัยค่ะ)

สาเหตุ

  • เกิดจากเชื้อ  Human papilloma virus

  • ...................................

 

การป้องกัน และรักษา

  • วัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้จริงหรือ

        -  HPV vaccine สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 99.99 %

        -  สามารถฉีดได้ ตั้งแต่อายุ 9 - 55 ปี

        -  วัคซีนจะป้องกันได้ดี ในสตรีที่ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน

        -  แม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องตรวจแป็ปสเมียร์ อย่างสม่ำเสมอ

  • ต้องฉีดกี่เข็ม คุ้มครองได้นานแค่ไหน

        -  การฉีดวัคซีน HPV ควรฉีด 3 เข็ม ระยะห่าง ดังนี้

           เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1  1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 1  6 เดือน ( 0 - 1 -  6 )

        -  ระดับภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 6 ปี ควรมีการกระตุ้นซ้ำ

  • ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน   

         -  โรงพยาบาลของรัฐ เข็มละ ประมาณ 2,000 บาท (เบิกไม่ได้)

         -  โรงพยาบาลเอกชน เข็มละ ประมาณ 4,200 - 6,000 บาท

3.  การทำ Pap smear อย่างมีคุณภาพ และ Slide Management

โดย ........อาจารย์ นวลพรรณ  อนันตวัฒนวงศ์    นักเซลล์วิทยา  จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  •   ...มีการร้องเรียน เรื่องการมาคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว ผลตรวจปกติ  3 เดือนต่อมา มีอาการตกเลือด ไปตรวจอีกครั้งพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3

คุณภาพการป้าย

  • ไม่ได้ส่วนที่เป็นมะเร็ง เกิดจาก

         1.  ขาดการฝึกฝน (ผู้ตรวจ)

         2.  ผู้มารับการตรวจ

                  *  low estrogen

                      -  วัยหมดประจำเดือน

                      -  หลังคลอด หรือ ระยะให้นมบุตร

                      -  วางแผนครอบครัว โดยยากิน และยาฉีด

                      -  ตั้งครรภ์

                  *  Heavy infection (มีการติดเชื้อ)

                       -  แบคทีเรีย

                       -  เชื้อรา

                       -  พยาธิช่องคลอด (TV)

  Slide management

             - จุดป้ายให้ครอบคลุมตำแหน่ง T-xone ที่มีเซลล์มะเร็ง

             - ป้ายบางบนแผ่น slide เซลล์มะเร็งชัดเจน

             - รักษาความสด Fixed cell 95% alcohol  ทันที

             - การนำส่งแผ่น slide ไปที่หน่วยเซลล์วิทยา ไม่ควรนานเกิน 7 วัน

               มีแร็กใส่แผ่นสไลด์ หรือใช้คลิป / กระดาษรองแยกแต่ละแผ่นออกจากกัน

 

4.  การสร้างแรงจูงใจในการมาตรวจคัดกรอง

  • เหตุผลที่มาตรวจคัดกรอง

        -  กลัวเป็นมะเร็ง (49.3%)

        -  แพทย์นัด (37.0%)

        -  เป็นโรคนรีเวชแล้วแพทย์แนะนำ (23%)

        -  เป็นโรคอื่นแล้วแพทย์แนะนำ (20%)

       -  การรณรงค์ (16%)

       -  การตรวจสุขภาพประจำปี (5%)

  • ปัญหาที่ไม่อยากมาตรวจคัดกรอง...

       -   คิดว่าไม่น่าจะเป็น (43%)

        -  อาการก็ไม่มี (38%)

        -  ฉันบ่มีเวลา (24%)

        -  ยังเขินอายคุณหมอ (22%)

       -  ไม่เห็นมีที่ตรวจ (10%)

       -  สามีก็เสียชีวิตแล้ว  ภายในก็แข็งแรง

5.  วิธีการนำเสนออย่างมืออาชีพ (ฝึกปฏิบัติ)

  •  โดย อ. ณัฐเสกข์   น้อยสมบูรณ์ และคณะ จาก ศูนย์ฝึกอบรมฟาร์อิส ฯ

 

 

 

8.  ความสนุกสนาน และตระหนักในการตรวจอย่างมีคุณภาพ

  • ช่วงเย็น-ค่ำ มีกิจกรรมสันทนาการ ...ตามกระบวนการอบรม แบ่งกลุ่มสีต่าง ๆ มีการแสดงบนเวที...
  • ได้เพื่อนเครือข่าย ฯ จากจังหวัดต่าง ๆ มากมาย
  • ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในชุมชน และในหน่วยงานของศูนย์มะเร็ง ฯ
  • ได้พบปะเพื่อน พี่ และน้องพยาบาล  . ...ที่ไม่ได้พบกันมานาน

ก่อนจบร้องเพลงอีก 1 เพลงนะคะ

  •  เมืองอุดร ฯ ของเราน่าอยู่  อสม. ใจดีทุกคน

         พวกเราไม่เคยซุกซน ทุกคนไม่เป็นมะเร็ง

         ไม่เป็น ไม่เป็นมะเร็ง ๆ ๆ

ทีมวิทยากร จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมร้องเพลงบนเวที

ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับการอบรม .. ฝากไว้ดูเล่น ๆ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 201192เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ น้องสีตะวัน นำแน อิอิอิ

  • อบรมยุคนี้ ต้องบวกสันทนาการด้วยนะคะ
  • หนุกหนานๆๆและได้ความรู้ดีค่ะ

 

ได้ความรู้และUpdate ข้อมุลมะเร็งปากมดลูก ขอบคุณคะ่

ที่โรงพยาบาล ให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี เอาเป็นว่าวัยเราๆท่านๆ ต้องตรวจกันทุกปี

อัตราการเสียชีวิต7คนต่อวัน น้อยกว่าเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ คะ่ คือ 36 รายต่อวัน ขอแสดงความยินด้วยคะ่

สวัสดีค่ะป้าแดง คนสวย แซ่เฮ

  • ทุกงานต่างเน้นคุณภาพ
  • ถ้ามีแต่วิชาการคงเครียด
  • เลยหนุกหนาน ๆ ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณพี่ pannornote

  • ด้วยความยินดีค่ะ
  • ที่พี่มาเยี่ยม
  • ว่าจะย่อง..ไปตรวจสุขภาพที่ รพ.ศรีนครินทร์ เช่นกัน
  • ขอบคุณค่ะ

-ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า อยากรู้จักคุณสีตะวัน จากใจจริงคะ

และขอขอบคุณที่มีวิชาการดีดี มาให้ update นะคะ

-ไม่ต้องงง เพราะดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่รพ.ศรีฯ (หน่วยวางแผนครอบครัว) แต่ไม่มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมที่ผ่านมา

-ยินดีรับใช้นะคะ ถ้ามีโอกาสมาใช้บริการที่รพ.ศรีฯ

ด้วยใจจริง "บุดบา"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท