เรียนรู้กับแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ (4) ตอนเรื่องเล่าจาก รพ.ราชบุรี เรื่องที่ 2


ทำให้เขามีชีวิตที่ดีกว่าเดิม เราไม่ดูแค่โรค แต่ดูทุกอย่าง

เรื่องเล่าเรื่องที่ 2 จากโรงพยาบาลราชบุรี

คุณลำดวน แจ้งชัดใจ โรงพยาบาลราชบุรี

           

          เป็นกรณีของคนไข้ที่ส่งมาจาก รพ.อำเภอ และมีความพิการ ข้อเข่า ข้อสะโพก ติดแข็งทื่อ เหมือนไม้กระดาน ผงกคอได้อย่างเดียว ส่งมาที่ รพ.ราชบุรี เพราะมีแผนกเวชกรรมฟื้นฟู เมื่อมีคนไข้เข้ามาไม่ว่าจะมาด้วยกรณีใด เราจะซักถามพื้นฐานชีวิต สำหรับคนนี้เราพบว่าไม่มีญาติเลย  เมื่อทีมเรา (หมอ นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล...) ลงไปดูบ้านก็พบว่าผุแล้ว ผุอีก พื้นบ้านมีไม่กี่แผ่น (ภาพที่วาดและนำเสนอ สวยเกินจริง) จึงกลับมาคิดว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง ก็ประสานไปที่ พมจ. เขาบอกว่ามีงบส่วนหนึ่ง แต่ไม่กี่พันบาท จะใช้เป็นทุนสร้างบ้านใหม่คงไม่พอ ก็คิดจะส่งไปสถานสงเคราะห์ แต่คนไข้ไม่อยากไป เมื่อถามผู้นำชุมชน เขาบอกว่าชุมชนสามารถช่วยเรื่องอาหารได้ แต่ช่วยเรื่องบ้านใหม่ไม่ได้ จึงขอบริจาคจนได้เงินพอจะสร้างบ้านใหม่ได้ โดยปรับสภาพบ้านตามสภาพคนไข้ ปรับห้องน้ำ โถส้วม ให้อยู่กับพื้น ตอนนี้คนไข้เริ่มขยับได้ 45 องศา แต่นั่งตรงไม่ได้ จึงปรับรถเข็นให้วางขาได้ และฝึกให้เขาใช้รถเข็น 

            1 ปี ถัดมา พบคนไข้ที่แผนกกระดูก มาด้วยขาหัก เพราะเด็กชอบมาเล่น มาเข็นรถ เกิดตกข้างทาง แสดงว่า เขาอยู่ในชุมชนได้ดี ไม่โดดเดี่ยว

 

เมื่อเล่าจบ วิทยากรได้ซักถามเพิ่มเติม

         ถาม      คิดได้อย่างไร

         ตอบ      ถามตัวเองว่า ถ้าเป็นเรา เราจะต้องการอะไร ที่จะอยู่ในชุมชนได้ จึงประสานกับนักสังคมฯ ที่สนิทกันเหมือนพี่น้อง ว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง

   ได้ช่วยแล้วรู้สึกดีใจ ยินดีไปกับเขาด้วย และชื่นชมชุมชนที่ไม่ดูดาย แต่กลับยินดีที่จะร่วมมือ ช่วยคนของเขา

ถาม      ตอนนั้นคิดอย่างไร แค่ดูแล แล้วไปส่งกลับ ก็พอ ทำไมต้องดูแลเยอะแยะ

ตอบ      งานของเรา เจอคนไข้ที่ยากจน เราต้องทำให้เขามีชีวิตที่ดีกว่าเดิม เราไม่ดูแค่โรค แต่ดูทุกอย่าง ทั้งด้านจิตใจ เศรษฐกิจ สังคม

ถาม      ทำไมต้องคิดอย่างนั้น ปล่อยไปก็ไม่มีใครว่าอะไร

ตอบ      ผู้ป่วยเสมือนญาติ ถ้าเราเป็นเขา เราต้องการอะไร เราก็จะทำแบบนั้นกับเขา

ถาม      กระบวนการของการหล่อหลอม ให้ คน รพ.ราชบุรี คิดเหมือนกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ที่ส่งผลถึงพฤติกรรม คืออะไร

ตอบ      เดิมอยู่ออโธ ที่ไม่ค่อยเจอคนไข้เรื้อรัง  ชีวิตหักเหมาอยู่ที่ฟื้นฟู ได้ไปดูงานที่ มช. (สวนดอก) คนไข้เขาคล้ายเรา เขาพูดถึงแนวคิดของเขา พูดว่าเขาทำอะไร อย่างไรบ้าง แล้วไปดูงานอีกที่ รพ.พระมงกุฎ  แล้วเราก็มาปรับใช้ ทุกคนในกลุ่ม โดยเฉพาะคุณหมอรุ่งอรุณ มีส่วนในการส่งเสริมแนวคิด เพราะเป็นหมอที่มีความเห็นอก เห็นใจ สงสาร เราเปิดหอผู้ป่วยนี้มา เราต้องทำให้หอนี้ เสมือนบ้าน ทำให้คนไข้รู้สึกอบอุ่นเหมือนเป็นบ้านตัวเอง

ถาม       ถ้าเราดูเขา แล้วเราไม่ช่วย จะรู้สึกอะไร

             จากการไปดูงาน แล้วทำไมเราต้องทำตาม 

ตอบ      เราทำเพราะอยากทำ คิดว่าถ้าเรามีโอกาส เราควรช่วยเขา ถ้าเกินความสามารถของเรา ก็หาคนมาช่วย

           

 

 

หมายเลขบันทึก: 201059เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุดยอด Humanized Health Care ครับ อ่านแล้วซึ้งใจจนน้ำตาซึม

วิจารณ์

เป็นกำลังใจให้อาดวลทำงานดีๆเพื่อสังคมต่อไปนะคะ หวังว่าคงจำหนูได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท