beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เริ่มต้นการเรียนวิชาชีววิทยาเบื้องต้น


ให้นิสิตช่วยตอบโจทย์ ๒ ข้อ ๑.นำหนังสามก๊กตอนนี้มาให้ดู จุดมุ่งหมายเพื่ออะไร ๒. ได้ข้อคิดอะไรบ้าง

     ปีการศึกษา 2551 นี้ ผมมารับผิดชอบสอนวิชาชีววิทยาเบื้องต้นหรือ Introductory BiologyPart Animal เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี (ปรับปรุงหลักสูตรในปีการศึกษา 2546)

     เริ่มต้น ๓ ชั่วโมงแรก ผมเปิดหนัง (VCD) สามก๊ก ตอน "เล่าปี่ไปเชิญขงเบ้งที่กระท่อมน้อยครั้งที่ ๓" หรือ "เปิดตัวขงเบ้ง" ให้นิสิตดู เพื่อหวังให้นิสิตรู้จักเรื่อง "การวางแผน" โดยเฉพาะแผนการเรียนรู้หรือแผนการเรียนนั่นเอง

     แต่ก่อนที่จะเฉลยก็ให้นิสิตช่วยตอบโจทย์ ๒ ข้อ (แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน)

  1. ผู้สอน-นำหนังสามก๊กตอนนี้มาให้ดู (เปิดตัวขงเบ้ง) จุดมุ่งหมายเพื่ออะไร (เดาใจ)
  2. ดูหนังเรื่องนี้แล้วได้ข้อคิดอะไรบ้าง (ใช้วิธีจับประเด็น)

    นิสิตตอบมาว่าอย่างไรบ้าง เอาไว้จะนำมาเล่าให้ฟังอีกครั้งครับ....

    ปัญหาที่พบ ในแต่ละปีที่ผ่านมาสำหรับวิชาพื้นฐาน คือ

  1. นิสิตส่วนมาก ถูกฝึกมา ให้เรียนแบบ teaching mode คือ มาเข้าห้อง Lecture แล้วก็จดเนื้อหาวิชาผ่าน Powerpoint เมื่อไม่ทัน ก็ขอ Powerpoint นั้นจากอาจารย์ หรือไม่อาจารย์ก็ต้องเตรียม sheet มาให้ วิธีการเรียนแบบนี้เปรียบเสมือน "สอนกินข้าว" แบบป้อนให้กิน
    • ผมมาคิดว่า วิธีสอนให้กินข้าวนี้ไม่ค่อยดี สู้สอนให้ "หาข้าวกินเอง" ไม่ได้ การสอนแบบหาข้าวกินเองนี้ ก็คือ สอนแบบ Learning Mode นั่นเอง คือสอนเมื่อคุณพร้อมที่จะเรียน
    • เนื่องจากความพร้อมและระยะเวลาการทำความเข้าใจของแต่ละคนไม่เท่ากัน การสอนโดย Powerpoint ในห้องนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไร
    • เราจึงมีทางเลือกอีกอย่างหนึ่งคือ ให้เรียนผ่านสื่อ ICT ที่เรากำลังพยายามทำให้คุณอยู่นี่ไง ทุกคนเริ่มต้นที่เท่าๆ กัน หาเวลาไปใช้ห้องคอมพิวเตอร์ที่คณะฯ, สำนักหอสมุด, เครื่องส่วนตัวหรือเครื่องของเพื่อนฯ และสามารถ copy เนื้อหาไปไว้ ใน word เพื่ออ่านได้
    • นอกจากนั้นก็อ่านเสริมจากหนังสือเรียนวิชา Biology ทั่วไป
    • สำหรับในห้องเรียน เรามีไว้เพื่อทบทวนเนื้อหา และทำกิจกรรมกันบ้าง
    • นอกจากนั้นเราก็จะหาบทเรียนที่เรียกว่า "สอนแบบไม่สอน" มาเล่าสู่กันฟัง ในบรรยากาศสบายๆ ในห้องเรียน
    • เข้าใจว่านิสิตที่มาเรียนวิชา (intro-biology)นี้ ในเทอมนี้ภาคปกติมีประมาณ ๗๒๕ คน ส่วนภาคพิเศษมีประมาณ ๘๐ กว่าคน (ค่อยหาตัวเลขที่ใกล้เคียงมาแก้ไขอีกครั้งครับ)
  2. ปัญหาของห้อง Lecture เราพบว่าคนที่อยู่ด้านหลังๆ ของห้องจะมองไม่เห็นเนื้อหาใน powerpoint ซึ่งอาจทำให้จดไม่ทัน และพลอยทำให้ไม่อยากเรียนด้วย ต้องพึ่งเนื้อหาใน Sheet ซึ่งแต่ละคนก็จะต้องไปถ่ายเอกสาร ประมาณว่าคนละ ๕๐ หน้าหรือ ๒๕ แผ่นสำหรับผู้สอน ๑ คน มีผลทำลายสิ่งแวดล้อม เราพยายามลดการใช้กระดาษ หรือ paperless ลง โดยให้นิสิตไปศึกษาผ่านสื่อ ICT ของใครก็ได้ โดยดูจาก Outline ที่ให้เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อชินกับระบบเดิม เรามาพบกันครึ่งทาง โดยผู้สอนเตรียมเนื้อหาให้ จะได้ลดเวลาในการเรียนรู้ลงบ้าง
  3. ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ ระบบการเรียนการสอนแบบปัจจุบัน นิสิต "เรียนเพื่อสอบ มิใช่เรียนเพื่อเอาความรู้" ซึ่งจะโทษนิสิตอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมหรือบริบท มันทำให้เป็นเช่นนี้นั่นเอง
  4. การกำหนดกรอบ ต่างๆ มากมาย ก็ทำให้อึดอัด บรรยากาศของการเรียนเคร่งเครียดเกินไป กระแส Teaching mode แรงกว่า Learning Mode
  5. ปัญหาผู้เรียนแบบเรื้อจ้างเรือโยง คือ เรียนกันครั้งหนึ่งตั้ง ๕๐๐ ถึง ๑๐๐๐ คน ก็มีปัญหาเหมือนกัน การ Lecture หรือ ปาฐกถา แบบมากๆ โดยใช้คนเพียงคนเดียวนี้ ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
    • ผมพึ่งไปดูงาน ปาฐกถาแบบคน ๕๐๐ คนขึ้นไป เขาต้องใช้ทีมงานประมาณ ๒๐ คน ช่วยดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวก
    • แต่วิธีจัดกการเรียนการสอนของเราใช้ ๑ คน ต่อ ๕๐๐ นี้ นับว่าไม่ค่อย Fair เท่าไร

         บ่นมามากพอแล้ว การบ่นอาจมีประโยชน์บ้าง แต่บ่นมากไม่ดี เพราะสมองจะคิด negative ไม่สร้างสรรค์อะไร ในเมื่อเป็นมนุษย์ อุปสรรคหรือปัญหาคือบททดสอบ ที่ดีที่สุด

         การคิด Positive จะดีกว่า ผมเลยออกแบบกระบวนการเรียนการสอน แบบที่นิสิตจะได้พบในห้องเรียนครับ

         นิสิตลองสังเกตวงจรนี้

วงจร Learning Mode 

          โดยปกติ ในกระบวนการเรียนการสอนแบบเดิม เรามุ่งไปที่ตัว "องค์ความรู้-Body of Knowledge" โดยไม่สนใจ "กระบวนการเรียนรู้-Process of Knowing" และมันก็จะไม่เกิด "การเรียนรู้-Learning" เลย เราจึงมีความรู้สึกว่า

          "สิกขา ปรมา ทุกขา" การศึกษาเป็นทุกข์อย่างยิ่ง.... เรียนแล้วเป็นโรคซึมกะทือกันหมด (ตามศัพท์ของท่านอาจารย์หมอประเวศ)....เมื่อไร การศึกษาจะเป็น "สิกขา ปรมา สุขา" กันบ้าง ทางมช. เขาก็มีการสอนแบบ "Edutainment" กันแล้ว แต่ของผมจะเรียกการสอนแบบ "เฮฮาศาสตร์" คือ เรียนแบบสนุกและมีความสุขแต่ให้ได้ศาสตร์ครับ...แต่สอนแบบเรือจ้าง-เรือโยงทำได้ยากจังครับ...

        การเรียนเราต้องใช้ หลักการของอิทธิบาท ๔ (คุณเครื่องแห่งความสำเร็จ) ครับ คือ

  1. ฉันทะ มีความพอใจรักใคร่ในวิชาที่เรียน (ผู้สอนมีอทธิพลด้วยเหมือกัน) หรือพยายามเสมือนว่ามีฉันทะก็ยังดี
  2. วิริยะ มีความเพียรพยายามหมั่นศึกษา และเรียนให้เป็น
  3. จิตตะ จิตต้องมีสมาธิพอที่จะ "จับจ่อ จดจ้อง จริงจัง ตั้งใจ" อย่างชนิดที่ใครๆ ก็สู้เราไม่ได้  เราพบว่า Capture (จับประเด็น) สำคัญกว่า Lecture (จดคำบรรยาย)
  4. วิมังสา ใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณา ทุกขั้นตอน ก่อน "คิด พูด ทำ" คือมี "สติ-sati" นั่นเอง 

           นอกจากนั้น เราต้องมี "หัวใจนักปราชญ์" ด้วย ประกอบด้วย

  1. สุ-สุตะ ฟัง
  2. จิ-จินตะ คิด
  3. ปุ-ปุจฉา ถาม
  4. ลิ-ลิขิต เขียน

          ไม่ต้องอธิบายก็พอเข้าใจกันอยู่แล้ว แต่คุณคิดว่า "ข้อไหนสำคัญที่สุด" ในความคิดของคุณ....

      ต่อไปเรามาว่ากันด้วยเรื่อง "วิธีเรียนวิชาชีววิทยา" ผมขอเสนอวิธีการเรียน ๓ แบบด้วยกัน ซึ่งควรใช้ทั้ง ๓ แบบ ร่วมกัน

  1. เรียนโดยใช้เครื่องมือ Etymology
  2. เรียนโดยใช้เครื่องมือ Depict
  3. เรียนโดยใช้เครื่องมือ Mind Map

       (เสริมทักษะด้วยวิธีการ Capture=จับประเด็น, มากกว่า Lecture=จดคำบรรยาย)

ตัวอย่างแรก...เรียนโดยใช้เครื่องมือ Etymology....

       ผมพยายามสอนให้นักเรียน (นิสิต-นักศึกษา) ได้เรียนรู้วิชาชีววิทยาด้วยความเข้าใจแล้วจึง "จำได้" จากความเข้าใจของตัวเอง ลองยกตัวอย่างมาสักเรื่องหนึ่ง เรื่องศัพท์ทางชีววิทยา หรือ ที่บางคนเรียกว่า "technical term" ผมก็เอาไปบูรณาการกับวิชาภาษาอังกฤษว่าด้วยเรื่องคำศัพท์ หรือ Vocabulary

    ในภาษาอังกฤษมีวิชาหนึ่งเรียกว่า "Etymology" แปลเป็นไทยว่า "นิรุกติศาสตร์" หรือ วิชาว่าด้วยรากศัพท์   ซึ่งเขาจะมีการเพิ่มศัพท์ให้มากขึ้นดังตัวอย่าง

     

prefix 

+ Root + 

suffix 

Bio

 degrad

 able

 สิ่งมีชีวิต  ทำให้เล็กลง  ที่สามารถ
 ที่สามารถ  ย่อยสลายได้  โดยสิ่งมีชีวิต
  • สีแดง คือ หน้าที่ของคำ
  • สีเขียว คือ ตัวอย่างคำและการแปลโดยรูปศัพท์
  • สีน้ำเงิน คือ การแปลตามความหมาย

     ต่อไปก็มาลองดูตัวอย่างอื่นๆ กันครับ โดยดูจาก Link ต่อไปนี้

  1. Etymology : Benign and Malignant
  2. Etymology : True or False
  3. Etymology : Eat (Biology)
  4. Etymology : Gourmet (กูร-เม่) = นักกินนักดื่ม

ตัวอย่างที่สอง...เรียนโดยใช้เครื่องมือ Depict....

      Depict : เป็นการเรียนโดยการดูภาพและคำบรรยายภาพ คำว่า "Depict" มาจากคำ 2 คำ คือ คำว่า "Describe" (บรรยายหรือพรรณนา) และ "Picture" (รูปภาพ) รวมความหมายว่า "พรรณนาด้วยภาพ" นั่นเอง หมายความว่า ภาพ 1 ภาพ แทนอักษรได้เป็นล้านตัวอักษร แล้วแต่ว่าเราจะตีความว่าอย่างไร อย่างเช่นภาพตัวอย่างเซลล์ (สัตว์) ดังต่อไปนี้ (แทนคำบรรยายได้สัก 3-4 หน้ากระดาษ A4 เป็นอย่างน้อยครับ)

  1.  
   
   
 

 คลิกขยายภาพ

 
     

  • สำหรับหนังสืออ่านประกอบ ผมใช้เล่มนี้ครับ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖)

 

หนังสืออ่านประกอบ

 

ตัวอย่างที่สาม...เรียนโดยใช้เครื่องมือ Mind Map....(ค่อยมาเขียนต่อครับ)

 

 

หมายเลขบันทึก: 200915เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ภาพที่ท่านอาจารย์ JJ นำมาฝาก น่าจะเป็นภาพเกี่ยวกับท่าน "ขงจื้อ" นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณคัฟอาจารย์...

อาจารย์น่ารักจังเยยยยยยย

  • ขอบคุณครับ
  • เอาไว้ 2 วันหยุดจะ Update ให้นะครับ

จากที่ผมได้เข้าฟังอาจารย์สอน ตอนที่เข้าไปเช็คชื่อนะครับ

ผมคิดว่าอาจารย์สามารถตีกรอบจุดประสงค์ของการเรียนในแต่ละครั้งได้ดีมากเลยทีเดียว แล้วก็สอนให้อยู่ในกรอบนั้นได้อย่างเข้าใจ อย่างตัวผมเอง ซึ่งเคยเรียนมาแล้ว สามารถเดาได้เลยว่าอาจารย์จะออกข้อสอบยังไง ควรจะอ่านหนังสือตรงไหน เป็นสิ่งที่ผมชื่นชมมากครับ และขออาจารย์ตรงนี้เลยว่าขอจำวิธีการสอนของอาจารย์ไปใช้สอนที่พะเยาหลังผมเรียนจบครับ (ได้ทุนอาจารย์พะเยาครับ)

และจากที่ผมวิเคราะห์เหตุที่ทำให้นิสิตไม่สนใจเรียนให้ฟังนะครับ

1. ลอกการบ้านที่จะส่งในคาบต่อไป (โดยเฉพาะเอกสถิติ)

2. เข้าเรียนสาย มาไม่ทันตั้งแต่เริ่มสอน เลยพาลไม่สนใจเรียนต่อทั้งคาบ รอฟังที่เพื่อนอัดเสียง หรือรอแลคเชอร์เพื่อน

3. อาจารย์พูดเสียง monotone ชวนให้หลับ (อันนี้น้องบอกนะครับ)

4. ฉันไม่ใช่เอกชีวะ จะให้เรียนไปทำไม(วะ)

พอดีมาโหลดเอกสารประกอบการสอยของอาจารย์ เลยแวะมา comment ทีให้ซักหน่อยครับ

เรียน TA ธีรภัทร

  • วิเคราะห์ได้เยี่ยมจริงๆ ครับ
  • ข้ออื่นๆ ก็ OK
  • แต่ข้อ Monotone ผมก็รู้ตัวนะครับ แต่ว่าแก้ไขมา ๒๐ ปี ก็ยังไม่ได้ ผมจึงต้องใช้วิธีใช้กิจกรรมอื่นๆ เข้าแทรก
  • แต่พอมาเจอพวกก่อกวน โดยอาศัยสื่อ reaction paper โจมตี ทำให้ผมเบื่อที่จะสอนคนจำนวนมากโดยผ่านสื่อ Power point
  • และผมขอไปสอนชั้นที่มีคนไม่เกิน ๓๐ คนดีกว่า ยอมเหนื่อยหน่อยแต่ได้ผลดี

พอมาหาอะไรอ่านเล่นๆ ไม่รู้ทำไม???

ต้องมาพบblogของอ.ทุกครั้งเลย

หนูไม่ได้เรียนที่ม.ที่อ.สอนหรอกนะค่ะ555+

แต่เรียนชีววิทยาเหมือนกัน เคยอ่านblogของอ.เมื่อตอนปี1

เจออีกทีก็ปี2 ตอนนี้ก็จะขึ้นปี3แล้ว

หนูก็กำลังรู้สึกเบื่อๆ ที่จะเรียนแบบท่องๆ แล้วก็สอบ

หนูไม่ชอบวิธีการเรียนแบบนี้เหมือนกัน

หนูจะชอบอ่านก็ต่อเมื่อหนูอยากอ่านแล้วอยากรู้เท่านั้น

คิดว่ามันจะทำให้เรารู้สึกภูมิใจแล้วก็จะจำได้เองมากกว่า

  • เรียนชีววิทยา ก็เหมือนเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของตัวเองเหมือนกัน
  • ถ้าเบื่อชีววิทยา ก็เหมือนเบื่อตัวเอง
  • ชีวิตบางตอนก็เบื่อ บางตอนก็อยาก เป็นธรรมชาติของจิต..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท