Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

เค้าโครงการสอน (Course Syllabus)


การจัดทำเค้าโครงการสอนหรือประมวลรายวิชา  เป็นแผนการสอนชนิดที่แสดงรายละเอียดในภาพรวมของรายวิชาอย่างกะทัดรัด เพื่อช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีการเตรียมตัวและมีความเข้าใจในรายวิชาตรงกัน  เมื่ออาจารย์ผู้สอนพิจารณาเห็นว่าเนื้อหารายวิชาไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน หรืออาจารย์ผู้สอนต้องการความมั่นใจในการสอนมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดในเค้าโครงการสอนให้มากขึ้นได้ ดังเช่นตัวอย่างเค้าโครงการสอนนี้   ตัวอย่างเค้าโครงการสอน

1. คณะ                        บริหารธุรกิจ   สาขาวิชา  การจัดการทั่วไป

2. รหัสวิชา                  134 - 405           

3. ชื่อรายวิชา               การบริหารความขัดแย้ง     4. จำนวน                     3  หน่วยกิต

5. ชื่อผู้สอน               อาจารย์แพรภัทร  ยอดแก้ว

6. ชื่อผู้ประสานงานรายวิชา  ไม่มี

7. ภาคเรียนที่           1        8. ปีการศึกษา            2551   

9. เงื่อนไขรายวิชา       วิชาบังคับก่อน    1.  วิชา 134 201  การจัดองค์การและการจัดการ

10. คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษากระบวนการบริหารความขัดแย้งในองค์การ  สภาพแวดล้อมภายในองค์การและภายนอกองค์การที่มีผลกระทบต่อข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น  ศึกษากลไกของพฤติกรรมทั้งในองค์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  วิเคราะห์ปัญหา  เพื่อหาวิธีข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยใช้กรณีศึกษา

 11. วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เมื่อเรียนจบวิชานี้แล้ว นักศึกษามีคุณลักษณะดังนี้

1.    มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้ง

2.    มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล

3.    มีความสามารถและทักษะในการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้งไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผล

 12. Textbooks

รัตติกรณ์ จงวิศาล . 2544. "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)" . วารสารสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์. 2540. การขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ต้นอ้อ  แกรมมี่ จำกัด

Robbins, S. P. and Mary Coulter. 2002. Management. (7h ed.). New  Jersey ; Prentice – Hall  Inc.

 13. รายชื่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม

1. การจัดการความขัดแย้งในองค์กร  ชื่อผู้แต่ง  ดร.ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี  สำนักพิมพ์ / ปีที่พิมพ์ บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด /  2550.

2.  การจัดการความขัดแย้งและการ"ขอโทษ"  ชื่อผู้แต่ง  มอริส, แคทเธอรีน., วันชัย วัฒนศัพท์., บรรพต ต้นธีรวงศ์., ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์.สำนักพิมพ์ / ปีที่พิมพ์ ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า / 2547

3. ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา ชื่อผู้แต่ง  วันชัย วัฒนศัพท์.  สำนักพิมพ์ / ปีที่พิมพ์ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า / 2550.

14. วิธีจัดการเรียนการสอน

                 1. การสอนแบบบทเรียนออนไลน์                 2. การสอนแบบแก้ปัญหา

                 3. การสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ              4. การสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการกลุ่ม

                 5. การสอนแบบร่วมมือ                             6. การสัมมนา

 15. สื่อการสอน

E-Learning บทเรียนออนไลน์ , PowerPoint, Case study, Clip Vdo, ข่าว , รูปภาพ , การศึกษานอกสถานที่ (Study Trips) และกิจกรรมต่าง ๆ

 16. ประมวลการเรียนรายวิชา (Course Outline) 

สัปดาห์ที่

หัวข้อการสอน

งานมอบหมายที่ให้นักศึกษาทำ

1

แนะนำลักษณะวิชา  ชี้แจงวิธีการเรียน  การประเมินผลการเรียน  ตำราหลักและหนังสืออ่านประกอบ และแหล่งศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

อ่านเอกสารประกอบบทที่  1

อ่านหนังสือที่มอบหมาย

2

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความขัดแย้ง

อ่านเอกสารประกอบบทที่  2   

E - Learning, อภิปราย

3

ทัศนะที่สำคัญเกี่ยวกับความขัดแย้ง

อ่านเอกสารประกอบบทที่  3

E - Learning, อภิปราย

4

สาเหตุของความขัดแย้งของบุคคล

อ่านเอกสารประกอบบทที่  4

E - Learning, อภิปราย

17. เกณฑ์การเขียนงานบ้าน(Criteria for written assignment)  การบ้านที่จะส่งต้องทำดังนี้

@   ถ้าเป็นงานรายบุคคลและงานกลุ่มให้พิมพ์ในโปรแกรม M.S.word Font Cordia New  16

@   ไวยากรณ์ ตัวสะกด และเครื่องหมายวรรคตอนต้องถูกต้อง ชัดเจน

@   ใช้กระดาษสีขาวขนาด A4 เท่านั้น

@   จัดทำตามรูปแบบการเขียนรายงานของสถาบัน  

18. ข้อกำหนดของรายวิชา (Course Requirement)

 5.1 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

นักศึกษาต้องมีความกระตือรือร้น และใช้ความรู้ร่วมในกิจกรรมในห้องเรียน หรือกิจกรรมกลุ่ม การให้ความร่วมมือกับสมาชิกในชั้นเรียนและการเข้าเรียนเป็นสิ่งจำเป็น

 5.2 การประมวลความรู้ด้านทฤษฎี

นักศึกษาต้องจัดทำประมวลความรู้ด้านทฤษฎีโดยการวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล จัดทำเป็นรูปเล่ม ให้มีเนื้อหาครบถ้วนตามหลักสูตร เขียนด้วยตนเองตลอดทั้งเล่มมีรูปแบบตามลักษณะของรายงานทุกประการ ให้นำส่งที่โต๊ะอาจารย์ห้อง 12 -1005 ภายในเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากสอบปลายภาคเสร็จแล้ว

 19. การประเมินผลงาน

การประเมินผลงานในวิชานี้ ยึดพื้นฐานขึ้นอยู่กับหลักฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของนักศึกษาที่แสดงต่อผู้สอน และขอเน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ขอให้รับผิดชอบทำงานด้วยตัวท่านเอง หากพบว่าทุจริตจะปรับเป็นเกรด F ทันที

6.1

คุณภาพและปริมาณของการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และกิจกรรมกลุ่ม

การตอบสนอง(ตอบโต้)ในชั้นเรียน

การทดสอบย่อย

การเข้าชั้นเรียน

การทำแบบฝึกหัด

5 %

6.2

โครงการกลุ่ม (แบ่งกลุ่มละ 3-5 คน จัดทำรายงานที่เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง พร้อมรายงานและนำเสนอผลงาน)

ความสำเร็จในการทำโครงการ

ความสามารถของระบบที่ได้

ความสมบูรณ์ของรายงาน

การนำเสนอผลงาน

5 %

6.3

การสอบกลางภาคเรียน

การตอบคำถาม

20 %

6.4

การวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้ง

ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา

ความชัดเจนอ่านง่าย

ความสมบูรณ์ของรายงาน

เนื้อหาครบถ้วนตามหลักสูตร

ส่งทันกำหนด

10 %

6.5

การสอบปลายภาค

ตอบคำถามและการวิเคราะห์ปัญหา

50 %

 หมายเหตุ ระดับคะแนนที่นักศึกษาได้รับนั้น ไม่ใช่คะแนนที่ผู้สอนเป็นคนให้ แต่เกิดจากผลงาน ที่นักศึกษาทำได้เอง โดยมีค่าระดับคะแนนดังนี้

คะแนน 80% ขึ้นไป         เกรด คะแนน 75 % - 79 %     เกรด B+ คะแนน 70 % - 74 %     เกรด B

คะแนน 65 % - 69%      เกรด C+ คะแนน 60 % - 64%      เกรด คะแนน 55 % - 59%      เกรด D+

คะแนน 50 % - 54%      เกรด คะแนน ต่ำกว่า 49%       เกรด F

20. ปฏิทินลำดับขั้นตอนการสอน  ในการเรียนการสอนของวิชานี้ ขอเรียนให้ทราบว่า ผู้เรียนต้องใส่ใจในการเรียนด้วยตนเอง ผู้สอนจะทำหน้าที่เพียงผู้แนะนำเท่านั้น ดังนั้นเนื้อหาทฤษฎีต่าง ๆ ผู้เรียนต้องศึก

หมายเลขบันทึก: 200663เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท