ลปรร. : การพัฒนากลยุทธ์


          วันนี้ช่วงเช้าได้มีโอกาสแวะไปให้กำลังใจนักส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรท่านหนึ่ง  คือคุณกิติกานต์  ศรีวิชัย (จันทร์ฉาย) สอบวิทยานิพนธ์ ป.โท สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา  ที่ มรภ.กำแพงเพชร

                                             
                                                              คุณกิติกานต์  ศรีวิชัย

        ที่นำมาบันทึกไว้ก็เพราะอยากนำมาแลกเปลี่ยนกับนักส่งเสริมการเกษตร หรือท่านที่สนใจก็สามารถนำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานฯ ได้  เพราะคุณกิติกานต์ ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งเป็นการวิจัยในงานประจำของคุณกิติกานต์เอง   เป็นการวิจัยที่ผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 

วัตถุประสงค์/วิธีดำเนินการวิจัย/ประชากร-กลุ่มตัวอย่าง โดยย่อเพื่อพัฒนาหรือสร้างกลยุทธ์มีดังนี้ครับ

          1.  เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร 

          ใช้แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลคือนักส่งเสริมการเกษตรทุกคนของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

          2.  เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของการประประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

          ใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนเกษตรกรจากทุกอำเภอ และการสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบข้อมูลจากตัวแทนอีก 2 อำเภอ

          3.  เพื่อพัฒนากลยุทธ์การประประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

          ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการของตัวแทนนักส่งเสริมการเกษตร  ผู้สื่อข่าว  เกษตรกร จำนวน 2 ครั้ง  และการพัฒนา-เกลากลยุทธ์จากผู้บริหารและนักวิชาการอีก 1 ครั้ง โดยนำข้อมูลจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 มากำหนดกลยุทธ์โดยใช้เทคนิคสวอท


เพื่อนๆ มาให้กำลังใจ

          ที่นำมาบันทึกนี้ก็เพียงอยากจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ   และสำหรับผมแล้ววันนี้ก็เหมือนการได้ไปเรียนรู้เพิ่มเติมจากทุกคนในการสอบครั้งนี้   มีประเด็นใหม่ๆ อีกเยอะที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเช้าวันนี้   เพราะในทุกที่ทุกเวลาหากเราไม่ปิดกั้นตนเองแล้ว  เราก็สามารถที่จะเปิดรับหรือเรียนรู้ได้ตลอดเวลา   ทำตัวเหมือนเป็นแก้วน้ำที่เติมเท่าไรก็ไม่มีวันเต็ม

          มีประเด็นหนึ่งที่อยากจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมก็คือ  ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรทั้งงานประชาสัมพันธ์หรือด้านอื่นๆ นั้นปัญหาที่จะพัฒนางาน หรือความรู้ที่จะนำมาพัฒนางานนั้นคงจะไม่ใช่เรื่องยาก   เพราะเราสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นใช้เองได้แล้วในบางส่วน  แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม   แต่สิ่งที่ยากยิ่งไปกว่านั้นก็คือการหาโอกาสนำความรู้ที่มีอยู่ไปสู่การปฏิบัติ ที่จะทำงานโดยอิสระเพื่อการพัฒนาตามศักยภาพอย่างแท้จริงนั้นยากยิ่งกว่า   เพราะทุกวันนี้เราทำงานตามสั่งกันจนชิน  จนคิดอะไรไม่ออก (ไม่กล้าคิด-ไม่มีเวลาที่จะคิด)  แล้วสิ่งเหล่านี้เรายังครอบงำและส่งต่อสิ่งเหล่านี้ไปยังเกษตรกรที่เราใกล้ชิดอีกด้วย....อิอิ  ไม่ได้บ่นนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก

7  สิงหาคม  2551

หมายเลขบันทึก: 199378เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2008 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

  • เป็นแก้วที่พร้อมจะเติมน้ำทุกเวลา เติมอย่างไรก็ไม่เต็ม
  • และอย่าลืมบันทึกเอาไว้กันลืมนะครับ..
  • ขอแสดงความยินดีกับน้องจันทร์ฉายด้วย
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะท่านสิงห์สุดเท่ห์

* ....

เดี๋ยวนี้ การปชส. ถือว่ามีความสำคัญมากๆ เลยนะคะ

ไม่ว่าจะเป็นองค์กร หน่วยงานทั้งรัฐ หรือแม้แต่มูลนิธิต่างๆ

* ....

* มาอ่านความรู้ ให้มีความสุขเพลิดเพลินกับงาน ขอบคุณค่ะ

P

 

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • จะแจ้งให้คุณจันทร์ฉายทราบครับ

P

 

  • สวัสดีครับคุณ poo
  • เห็นด้วยครับ การ ปชส.นั้นมีความสำคัญมากๆ กับทุกองค์กร
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท