จิตตปัญญาศึกษาจากวงน้ำชา


ต้องสามารถมองและเข้าใจว่าทุกอย่างมีสองด้านเสมอ การสร้างสมดุลย์จะทำให้เกิดผลที่นำไปสู่ความรู้แจ้ง

(รูปถ่ายข้างบนได้รับจาก อ. ก๊อ แห่ง มมส. ที่ไปร่วมการอบรมครับ...ขอบคุณ หลาย ๆ เด้อ)

         ระหว่างวันที่ 28-31 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องของ จิตตปัญญาศึกษาจากวงน้ำชา ของสถาบันขวัญเมือง โดยที่ผมดื่มชาเขียวธรรมดา ส่วนท่านเจ้าสำนักชอบดื่มชาเขียวดาวแดง แต่ก็สามารถตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ครับ หลังจากการเรียนรู้เรื่องการสร้าง SPACE มณฑลแห่งการตื่นรู้ และ  มณฑลแห่งพลังจากท่านแล้ว

         ในวันที่สองหลังจากการ สร้าง SPACE และ กระบวนการผ่อนพักตระหนักรู้แล้ว แต่ละท่านที่เข้าร่วมอบรมก็ต้องสะท้อน (Refrection) โดยการสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ลงในกระดาษ และนำเสนอให้กลุ่มได้ทราบ ตามรูปแบบของแต่ละคน ผมเองเลือกที่สะท้อนสรุปออกมาเป็นรูปแทนการเขียนบรรยาย ซึ่งบังเอิญนั่งอยู่แถวหน้าใกล้ท่านกระบวนกร  อาจารย์ตู่จึงขอให้เล่าถึงสิ่งที่ผมวาดว่าหมายถึงอะไร ผมก็เล่าสั้น ๆ ว่า รูปที่ผมวาด หมายถึงข้อสรุปการเรียนรู้ ที่ตอบคำถามของตนเองก่อนมาร่วมงานครั้งนี้ คือ จิตตปัญญาศึกษา กับ การจัดการความรู้ นั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? (เนื่องจากได้พูดคุยกับหลายท่าน หลังจากไปสัมผัสเรื่องจิตตปัญญาศึกที่พัทยามา ว่ามีทั้งความเหมือน และความต่างกัน) หลังจากฝึกอบรมมาสองวันก็ สรุปได้ว่า จิตตปัญญาศึกษา หรือ การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ น่าจะเป็นส่วนแกนกลางของ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งชั้นนอกสุดเป็น การจัดการความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นเรื่องของความรู้ภาคทฤษฏี ส่วนชั้นถัดเข้ามาเป็นเรื่องของ การจัดการความรู้ในตน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ ภาคปฏิบัติ และ ชั้นในสุดเป็นการจัดการความรู้สึกตัว หรือการจัดการเรื่องของจิตใจ ถือว่าเป็น จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) ดังนั้นอาจมองได้ว่า จิตตปัญญาศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในตนก็ได้

          ในตอนนั้นผมไม่ได้อธิบายตามความคิดให้ละเอียดมาก เนื่องจากเกรงจะกินเวลาท่านอื่นมากไป จึงขอมาขยายความไว้ในที่นี้ดังนี้

          การจัดการความรู้หรือการเรียนรู้ ที่เป็นการเรียนรู้ในระบบการศึกษาทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาตรี โท หรือ เอก ก็ตามเป็นการเรียนรู้เน้นที่วงนอกสุด หรือความรู้ภาคเนื้อหาหรือทฤษฎี (EK) เท่านั้น ซึ่งต่อมาก็เริ่มเห็นตรงกันมากขึ้นว่าที่จริง ความรู้ในคน (TK) หรือความรู้ที่ได้จากการปฏิบัตินั้นมีมากกว่ามาก เหมือนภูเขาน้ำแข็งส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำนั้นมากกว่าส่วนที่โผล่ขึ้นมาให้เห็น การจัดการความรู้ในระยะหลังจึงพยายามมาเน้นที่ความรู้ส่วนนี้ เพื่อดึงให้สามารถกลายเป็นความรู้แบบชัดแจ้งให้มากขึ้น เหมือนกับการพยายามยกภูเขาน้ำแข็งให้สูงขึ้น

          ในกรณีของการจัดการความรู้สึกตัว หรือการจัดการเรื่องของจิตใจ ที่เรียกว่า จิตตปัญญาศึกษา หรือ การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ จะเน้นที่การเรียนรู้จากข้างในหรือจิตใจเป็นสำคัญ โดยเชื่อว่าถ้าสามารถรู้สึกตัว หรือ มีสติ ก็จะสามารถมองเห็นธรรมชาติของสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสุดยอดของการเรียนรู้ เมื่อรู้สิ่งที่เป็นแกนวงในสุดแล้ว ก็ง่ายที่จะเรียนรู้และเข้าใจวงที่อยู่ชั้นถัดออกไปด้านนอก นั่นก็อาจจะมองได้ว่า จิตตปัญญาศึกษา กับการศึกษาตามกระแสหลัก เน้นการศึกษาในทิศทางตรงข้ามกัน  คือจิตตปัญญาศึกษา เรียนจากด้านในไปด้านนอก ส่วนการศึกษาตามกระแสหลั เรียนจากวงนอกเข้ามาสู่วงใน

          อย่างไรก็ตามทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ ผมจึงใส่เส้นโค้งแยกทุกชั้นเป็นสอง ส่วนเหมือนกับหยินและหยาง  จะต้องสามารถมองและเข้าใจว่าทุกอย่างมีสองด้านเสมอ การสร้างสมดุลย์จะทำให้เกิดผลที่นำไปสู่ความรู้แจ้ง เหมือนกับประกายที่เปล่งออกไปได้ทุกทิศทาง

          รายละเอียดขั้นตอนการเรียนรู้จากวงน้ำชา ครั้งนี้อ่านได้จากบันทึกข้างล่าง

         

          เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ

(1)    ปฐมบท

(2)    การสร้าง SPACE มณฑลแห่งการเรียนรู้

(3)    การรับฟังอย่างลึกซึ้ง

(4)    กิจกรรมละคร หมี อินทรี กระทิง หนู

(5)    มณฑลแห่งพลัง

(6)   ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง

(7)   ชวนคุย และ เรื่องเล่านาโรปะ

(8)   ปัจฉิมบท

หมายเลขบันทึก: 198983เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ Panda

หนิงขอตามมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

  • ทุกคนเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long Learning) ครับท่านP หนิง
  • สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมไปที่เว็บ วงน้ำชา.comได้ครับ

ตามมาขอบคุณอาจารย์ค่ะที่คอยให้กำลังใจมาโดยตลอด   ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการคงจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อการพัฒนาของ แผ่นดิน+แดนไท ครับ

เรียน ท่านพี่ มาถ่ายทอดให้ทีม KM_QA ด้วยนา

สวัสดีค่ะ

ตามมาเรียนรู้เช่นกัน

ขอบคุณมากค่ะ

ทึ่งค่ะ และอยากเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตามมาอ่านบันทึกของอาจารย์ครับ

ขอบคุณมากครับ ไปอ่านของ อ. ไร้กรอบแล้วด้วยครับ อิอิ

  • ขอบคุณทุกท่านที่แวะมา ลปรร. ครับ รวมทั้ง ท่าน จอมป่วน แห่ง ลานปัญญา ด้วย...อิอิ

สวัสดีค่ะ อ.แพนด้า

หาคำว่าวงน้ำชา กำลังศึกษาเรื่อง KM เพิ่มเติมค่ะ มาพบบันทึกของท่านอาจารย์โดยบังเอิญ ขอบคุณมากค่ะ

ช่วยสรุปให้เข้าใจได้ ง่าย "เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ" Internalization คงเหมือนความรู้ที่เกิดขึ้นในตนเอง จากการประมวลผลภายใน

สวัสดีครับ คุณส้ม Pก็เป็นบันทึกจากการเรียนรู้และฝึกกับทีม วงน้ำชา จาก สถาบันขวัญเมือง ดีใจที่มีผู้ได้ใช้ประโยชน์จากบันทึกครับ

โอ้โหเขียนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว เพิ่งมาเปิดเจอวันนี้ จากการค้นหาในกูเกิ้ล ด้วยความอยากรู้ว่าวงน้ำชาทำอะไรกันบ้าง ตอนนี้คงเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วหรือเปล่า? 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท