สารานุกรมวิชาชีพครู2


ครูประจำชั้น

ครูประจำชั้น

                                                                                                             ดร.ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ

ความสำคัญ

            ในอดีตความสัมพันธ์ของครูประจำชั้นจะเปรียบเสมือนผู้ปกครองคนที่สอง ต้องคอยดูแล   เอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ช่วยแก้ปัญหา และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน อันเป็นผลทำให้ครูและโรงเรียนได้รับความศรัทธาพร้อมทั้งมีบุญคุณต่อนักเรียนและครอบครัว
         
ระบบการให้การศึกษาของไทย  หรือประเทศอื่นก็ตาม   เราแบ่งนักเรียนออกเป็นชั้นๆ เป็นห้องๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน  และการดูแลปกครอง รวมทั้งทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วยภาษาอังกฤษเรียกตรงๆว่า Classroom  และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า Classmate ซึ่งก็ได้ความหมายตรงกับความรู้สึกไทยๆทุกประการ
            
ชั้นเรียนเป็นระบบดูแลการปกครอง  หรือหน่วยเล็กที่สุดในระบบโรงเรียน  การบริหารโรงเรียนหรือองค์กรใดๆ ก็ตาม ระบบเล็กๆ นั้นมีความสำคัญมาก   เพราะโรงเรียนย่อมประกอบขึ้นด้วยระบบเล็กๆจำนวนมาก  โรงเรียนจะดีหรือไม่ดี   ขึ้นอยู่กับระบบเล็กๆ เหล่านี้  โรงเรียน จะดีไปไม่ได้  ถ้าระบบเล็กๆ ไม่ดี  ดั้งนั้น   “ครูประจำชั้นซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการและบริหารหน่วยชั้นเรียน   ย่อมมีความสำคัญมากต่อระบบโรงเรียนเป็นส่วนร่วมหน้าที่ของโรงเรียนที่แท้จริงนั้นคือ  การพัฒนาผู้เรียนที่เป็นเด็กหรือเยาวชนหรือพัฒนาคน  คือทำให้ผู้เรียนมีความรู้ในทฤษฎีทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพ   ให้ผู้เรียนได้ฝึกงานอาชีพที่เขาถนัด  ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในวิชาหรือกิจกรรมที่เขาถนัดและความสนใจ   ให้ผู้เรียนได้มีคุณธรรม  เข้าใจและซาบซึ้งในหลักธรรมของศาสนา  มีนิสัยที่ดีงาม  มีค่านิยมที่เหมาะสม  และให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพ   มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยและมีนิสัยที่ดี ดังนั้นสังคมจึงคาดหวังให้ครูประจำชั้นช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งจำนวน    ๓๐-๔๐ คน  ให้เป็นไปตามเป้าหมายคุณภาพที่ต้องการให้ดีที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบุคลิกภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ความหมาย

ครูประจำชั้น  หมายถึง ผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนหรือชั้นเรียน   ตั้งแต่ต้นภาคเรียนถึงปลายภาคเรียนหรืออาจเป็นหนึ่งปีการศึกษาพร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการนักเรียน ประจำห้องเรียน

พื้นฐานและแนวคิด

งานของครูประจำชั้น

.  เข้าพบนักเรียน ในคาบโฮมรูม  ดำเนินการเรื่องต่างๆ ดังนี้
              -
สำรวจการมาโรงเรียนของนักเรียน  (ในกรณีนักเรียนไม่มาโรงเรียนเกิน ๓ วัน  ให้แจ้งหัวหน้าระดับชั้น)
              -
ตรวจการแต่งกาย ผม และความสะอาดของเครื่องแต่งกาย
              -
ตรวจความสะอาดของร่างกาย เช่นเล็บ  ฟัน และความสะอาดทั่วไป
              -
ตรวจดูความเรียบร้อยและความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนเป็นครั้งคราว
              -
ดูแลติดตามผลการปฏิบัติงานของเวรประจำวัน
              -
ดูแลสภาพห้องทั่วไป
              -
ให้การอบรม
              -
ชี้แจงเรื่องที่โรงเรียนประกาศหรือขอความร่วมมือ
              -
นัดหมาย
              -
บันทึกสมุดรายงานโฮมรูม  เป็นปัจจุบัน
. จัดทำเอกสารต่างๆ เช่น  ทะเบียนนักเรียน   สมุดประจำชั้น   เป็นต้น
. ทำคะแนนสมุดรายงานนักเรียนเป็นปัจจุบัน
. ประสานงานกับฝ่ายแนะแนว   เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
. เยี่ยมบ้านนักเรียนประจำปี  หรือกรณีที่นักเรียนมีปัญหา
. การวางแผนและพัฒนาห้องเรียน
. การสอนเสริมพิเศษ
. การจัดกิจกรรมพิเศษในชั้นเรียน
. สรุปรายงานการปฏิบัติงาน  ปัญหาและข้อเสนอแนะ  ตลอดปี  เป็นต้น

 ตอนขั้นในการดำเนินการเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นครูประจำชั้น

. ขอทะเบียนนักเรียนและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง   เช่น ตารางสอน  จากฝ่ายวิชาการ
. เข้าพบนักเรียน   แนะนำตัว  และให้นักเรียนแนะนำตัวทั่วไป
. ดำเนินการเลือกหัวหน้าชั้น  รองหัวหน้าชั้น  และกรรมการอื่นๆ  ตามที่เห็นสมควร เช่นเลขานุการ
. จัดเวรประจำวัน
๕. ชี้แจงหน้าที่ของหัวหน้าชั้น   รองหัวหน้าชั้น  กรรมการ  และเวรประจำวัน
. วางระเบียบของห้องเรียน              

 

การประยุกต์ใช้

การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันจึงเป็นช่วงจังหวะเหมาะสมอย่างยิ่ง  ที่จะได้มีการพัฒนาระบบครูประจำชั้นให้มีคุณภาพสมดังความคาดหวังของนักเรียนและผู้ปกครอง อันจะก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจและความศรัทธาในที่สุด ดังนี้

๑.       สถาบันผลิตครู ต้องจัดทำหลักสูตรเฉพาะของการเป็นครูประจำชั้นให้นักศึกษาที่เรียนสายวิชาชีพครูได้ศึกษาเป็นวิชาบังคับ พร้อมทั้งฝึกประสบการณ์และต้องผ่านการประเมินผล

๒.     พัฒนาครูประจำชั้นในปัจจุบันให้เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ในบทบาทความเป็นครูประจำชั้นที่ต้องทุ่มเท ดูแลเอาใจใส่นักเรียนในความรับผิดชอบ มิใช่เพียงผู้ทำหน้าที่ธุรการประจำห้องเรียน

๓.      ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับบทบาทของครูประจำชั้นด้วยการจัดเวลาให้ครูประจำชั้นพบกับนักเรียนอย่างเพียงพอ ในการปฏิบัติหน้าที่

๔.      ผู้ปกครองและสังคม ต้องให้ความสำคัญกับระบบครูประจำชั้นให้ความร่วมมือร่วมกันแก้ปัญหา สนับสนุนและต้องทำหน้าที่ประเมินผลครูประจำชั้นร่วมกับโรงเรียน

เกณฑ์มาตรฐานของชั้นเรียน

ลักษณะทางกายภาพ
           
๑.๑  สภาพห้องที่ดี   ได้แก่ประตู  หน้าต่าง  ฝาผนัง   มีสภาพดีแข็งแรง  ไม่ชำรุด
           
๑.๒  กระดานพร้อมบอร์ด  (ถ้ามี )  มีสภาพดี
           
๑.๓ โต๊ะ  เก้าอี้  เป็นแบบด้วยกัน  มีสภาพที่แข็งแรงมั่นคง
           
๑.๔ โต๊ะครู เป็นโต๊ะพิเศษ ตัว  หน้าห้อง ควรมีผ้าปูและมีการจัดตกแต่งพิเศษตามควร
           
๑.๕ ไฟฟ้า พอเพียง มีสภาพดี  ใช้งานได้  ไม่ชำรุด   และไม่เป็นอันตราย

อุปกรณ์ประกอบและแนวทางพัฒนา
             
๒.๑ ห้องเรียนต้องมีสัญลักษณ์ของ ๓ สถาบันของชาติ ได้แก่  ชาติ  ศาสนาพระมหากษัตริย์
             
๒.๒ ห้องเรียนต้องมีอุปกรณ์ทำความสะอาดครบพร้อมอยู่เสมอ   ได้แก่  ไม้กวาด  ไม้ถู

หมายเลขบันทึก: 198907เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท