สารานุกรมวิชาชีพครู


ครูที่ปรึกษา

ครูที่ปรึกษา

                                                                                                              ดร.ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ

ความสำคัญ

อาชีพหมอไม่อาจจะเลือกคนไข้ได้ฉันใด ชีพครูก็ไม่อาจจะเลือกศิษย์ได้ฉันนั้น ไม่ว่าสิ่งที่มีอยู่ของศิษย์จะเป็นอย่างไร ครูก็ต้องเริ่มพิเคราะห์จากจุดนั้น เพื่อแสวงหาแนวทางที่จะสร้างเสริมเชื่อมต่อสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสมให้แก่ศิษย์อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้  ถ้าการพินิจพิเคราะห์ อบรม สั่งสอนและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ละเอียดอ่อน จริงจัง คุณภาพไม่ว่าในรูปใดๆย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ศิษย์ และครูอย่างแน่แท้

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนไทยที่นิยมใช้ความรุนแรง ขาดความสนใจ เอาใจใส่ด้านการเรียนและมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนหนึ่งเกิดจากสถาบันหลักของสังคมอ่อนแอ เริ่มตั้งแต่ครอบครัว การศึกษา ศาสนา และสถาบันสังคม ทำให้เด็กไทยไม่มีที่พึ่ง หลายคนขาดความมั่นคง     ในชีวิต ขาดการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ขาดเหตุผล จึงถูกพัดไปตามกระแสสังคมง่ายๆ อย่างไร้สิ่งยึดเหนี่ยวที่สำคัญ พ่อ แม่ ผู้ปกครองหลายคน ยกลูกให้โรงเรียนดูแล โดยให้เหตุผลว่าต้องทำมาหากิน และเช่นเดียวกันในส่วนของครูที่มีหน้าที่ต้องดูแลเอาใจใส่นักเรียนในชั่ววันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมงนั้น ๒ ใน ๓ ของเวลาที่ตื่นและต้องรับรู้อารมณ์ของคนเรา  เวลาของนักเรียนกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่โรงเรียน      อยู่กับครู อยู่กับกิจกรรมการเรียนรู้นานาประการ โรงเรียนจึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองและครูจึงมีความสำคัญและมีความหมายรองลงไปจากพ่อ-แม่

ความหมาย

ครูที่ปรึกษา (นิยมใช้ในระดับมัธยมศึกษา) หมายถึง ผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนหรือชั้นเรียน   ตั้งแต่ต้นภาคเรียนถึงปลายภาคเรียนหรืออาจเป็นหนึ่งปีการศึกษาพร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการนักเรียนประจำห้องเรียน   ครูที่ปรึกษาจึงเป็นภารกิจเพิ่มขึ้นของครู นอกจากการเรียนการสอน และงานอื่น ๆ ที่ผู้บริหารมอบหมาย

พื้นฐานและแนวคิด

            ครูที่ปรึกษา มักนิยมใช้กับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น ครูที่ปรึกษาชั้นเรียน ครูที่ปรึกษาชมรม ชุมนุมต่างๆ ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาใช้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยทั่วไปมี ๓ ประเภท คือ (๑) อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ (academic  advisers) ได้แก่ อาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาในภาควิชาหรือคณะวิชา (๒) อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษา (student activity  advisers) ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาองค์กรหรือชมรมกิจกรรมนักศึกษา (๓) อาจารย์ที่ปรึกษาหอพักนักศึกษา (residential  advisers) ได้แก่ อาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในหอพักนักศึกษา

           

            ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะครูที่ปรึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้

 

มาตรฐาน

ตัวชี้วัด

แหล่งข้อมูล

ครูที่ปรึกษามีความรู้  ความเข้าใจ        มีเจตคติที่ดีและมีความสามารถในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๑.มีความรู้  ความเข้าใจในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

 

 

 

 

 

 

๒.มีเจตคติที่ดีในบทบาทหน้าที่ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

 

 

 

 

๓.มีความสามารถในการดำเนินงานตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๓.๑ มีการศึกษานักเรียน

เป็นรายบุคคล

-         หลักฐานการเข้ารับการอบรม/แสวงหาความรู้

-         หลักฐานการประชุม หรือการแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจ  ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

-         หนังสือเชิญ/ขอบคุณในการเป็นวิทยากร

-         ครู / ผู้ปกครอง

 

-         หลักฐานการติดตามช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

-         คำนิยม  หนังสือเชิดชูเกียรติ     เกียรติบัตร

-         นักเรียน    ผู้ปกครอง

 

-         ระเบียนสะสมของนักเรียน           ในความดูแล

-         ร่องรอยการใช้และวิเคราะห์ข้อมูลจากระเบียนสะสม

-         สรุปผลนักเรียนเป็นรายบุคคล

 

 

 

 

มาตรฐาน

ตัวชี้วัด

แหล่งข้อมูล

 

๓.๒ มีการคัดกรองนักเรียนเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา

 

 

 

๓.๓ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน

 

 

 

 

 

 

๓.๔ มีการจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มมีปัญหา

 

 

 

 

 

 

 

 


๓.๕ มีการส่งต่อนักเรียนในกรณี ที่ปัญหาของนักเรียนยากต่อการช่วยเหลือ

-         เกณฑ์การคัดกรองนักเรียน

-         หลักฐานการจัดกลุ่มนักเรียนตามเกณฑ์การคัดกรอง

-         รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนในความดูแล

 

-         บันทึกการจัดกิจกรรมโฮมรูมและการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน  ( Classroom meeting )

-         รายงานสรุปผลการจัดกิจกรรมโฮมรูม และการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน

 

-         หลักฐานหรือร่องรอยการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนด้วย ๕  กิจกรรมหลัก  คือ

) กิจกรรมเสริมหลักสูตร

) กิจกรรมในห้องเรียน

) กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน

    หรือจับคู่กัลยาณมิตร

) กิจกรรมซ่อมเสริม

) กิจกรรมการสื่อสาร
กับผู้ปกครอง

-         บันทึกการส่งต่อ

-         รายงานผลการช่วยเหลือ

 

การประยุกต์ใช้

 

โดยหนาที่แลวครูที่ปรึกษา ควรดูแลเอาใจใส่กับนักเรียนหองของตัวเองเปนพิเศษ เหมือนกับ

เปนพอแมระหวางที่อยูโรงเรียนก็วาได อีกกลุมหนึ่งก็จะเปนอาจารยในระดับมหาวิทยาลัย ก็จะเป

อาจารยที่ปรึกษา  ในที่นี้ขอรวมทั้งสองกรณีเขาไววยกัน ทั้งนี้ครูที่ปรึกษายังมีหนาที่รับผิดชอบ     ในการดูแลสารทุกขสุกดิบของนักเรียนในสังกัดของตน ความสนใจและใสใจในนักเรียนของตน     จึงเป็นเรื่องสําคัญ ซึ่งถาครูพอมีเวลาก็อาจจะได

หมายเลขบันทึก: 198847เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท