Best Practice "Siwaram Model"


Best Practice ของโรงเรียนวัดศิวราม รูปแบบการบริหารการจัดการความรู้"Siwaram Model"

แบบปฏิบัติการจัดการความรู้ที่ดีเลิศ (Best Practice)

ของโรงเรียนวัดศิวารามตามแนวทางการจัดการความรู้ (KM)  ที่นำมาใช้ในองค์กร

ภายใต้กรอบรูปแบบ  SIWARAM  Model : การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ภายในองค์กรของโรงเรียนวัดศิวารามด้วยการจัดการความรู้ (KM)

 

 

 


                เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของการปฏิรูปการศึกษา  คือ การสนับสนุนให้องค์กรทางการศึกษาทุกระดับมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพสูงขึ้นในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  ตลอดจนการทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545 รวมทั้งมาตรฐานการศึกษาชาติ    โรงเรียนวัดศิวารามจึงได้ดำเนินงานตามโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้  ของ  สกศ. โดยได้นำหลักการและแนวทางการจัดการความรู้(Knowledge Management) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการนำสติปัญญาขององค์กรมาเพิ่มพลังในการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร    ผลจากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวทำให้โรงเรียนมีรูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน  มีการขยายผลการจัดการความรู้ไปยังสถานศึกษาอื่นและสามารถใช้การจัดการความรู้(KM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรอย่างเป็นระบบ  ต่อเนื่องและยั่งยืน   กระบวนการ(How to)  ของการจัดการความรู้(KM)  ที่โรงเรียนได้ดำเนินการและนำมาประยุกต์ใช้จะอยู่ภายใต้กรอบรูปแบบ  SIWARAM Model: การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายในองค์กรของโรงเรียนวัดศิวารามด้วยการจัดการความรู้(KM)  มีด้วยกันทั้งหมด  7  ขั้นตอน  ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การจัดทำ SWOT (SWOT: S)  คือ  การศึกษาสภาพแวดล้อม  จุดเด่น  จุดด้อย  เพื่อวิเคราะห์ข้อกำหนดปัญหา/พิจารณาความต้องการในสิ่งที่จะพัฒนา

ขั้นตอนที่ 2  การกำหนดวิสัยทัศน์/เป้าหมายของ KM (กำหนดหัวปลา) (Identify Knowledge Vision: I)  คือการกำหนดวิสัยทัศน์/เป้าหมายของการจัดการความรู้(KM) ซึ่งก็หมายรวมถึง  การกำหนดหัวปลาแล้วก็ดำเนินการไปตามทิศทางที่กำหนดตามหัวปลาเพื่อที่จะมุ่งไปสู่ความสำเร็จ  โดยมีขั้นตอนย่อยดังนี้

                1. การพัฒนาทีมแกนนำการจัดการความรู้ (KM)      ได้แก่

                -  การประชุม  อบรม  สัมมนา

                -  การทำ Workshop

          -  การพัฒนาความรู้ด้วยตนเอง(Self-knowledge Development)

                2. การขยายผล KM ทั้งโรงเรียนและร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์/เป้าหมายของ KM (Share Vision) ซึ่งก็คือการร่วมกันกำหนดหัวปลาเพื่อเป็นทิศทางในการปฏิบัติมุ่งไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่

                -  การกำหนดวิสัยทัศน์/เป้าหมาย (Share Vision) ร่วมกัน

                -  การระดมความคิด (Brain Storming) อันเนื่องมาจากผลจากการทำ SWOT สู่การปฏิบัติ

                -  การประชุมปฏิบัติการโดยทีมแกนนำ KM ของโรงเรียน

                -  การนำเครื่องมือ KM มาประยุกต์ใช้  เช่น  เรื่องเล่าเร้าพลัง(Story Telling)  เพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist)  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Sharing)  การประชุม(Monday Meeting)  การบันทึก(Note)  เป็นต้น

                3.  การร่วมกันกำหนดแก่นความรู้และขุมความรู้อันเนื่องมาจากหัวปลาที่เรากำหนดไว้  โดยได้จากการระดมความคิด  การประชุมปฏิบัติการ  การนำเครื่องมือ KM มาใช้

ขั้นตอนที่ 3  การวางแผนการดำเนินงานโดยรวม (Whole Action Planning: W)  คือ  การร่วมกันกำหนดแผนงาน/โครงการ  ปฏิทินปฏิบัติงานและแผนการนิเทศติดตามโดยรวมที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 4  การลงมือปฏิบัติ (Action: A)  คือ  การลงมือปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ  ปฏิทินปฏิบัติงานที่วางไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและความสำเร็จภายใต้หัวข้อแนวคิดที่ว่า  ทำอะไร(What?)  ทำอย่างไร(How to?)  ทำทำไม(Why?)

ขั้นตอนที่ 5  การทบทวนดารปฏิบัติ/ปรับปรุง (Review & Repair: R)  คือ  การทบทวนหลังการลงมือปฏิบัติ  โดยมีการนิเทศติดตาม  ประเมินผลและนำผลการประเมินมาวิเคราะห์พิจารณาเพื่อที่จะปรับปรุงในส่วนที่เป็นปัญหา/สิ่งที่จะพัฒนาต่อไป

ขั้นตอนที่ 6  ภาพความสำเร็จและคลังความรู้ (Achievement & Assets: A)   คือ  ผลงานความสำเร็จหรือผลการปฏิบัติที่เป็นความภาคภูมิใจ  ตลอดจนการเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ  เกิดเป็นคลังความรู้   ยกตัวอย่าง เช่น

                -  รางวัลเกียรติยศที่โรงเรียน  ครูและนักเรียนได้รับ

                -  โรงเรียนผ่านการรับรองมาตรฐานจาก  สมศ.

                -  เอกสาร / คู่มือ

                -  การจัดเก็บเอกสาร / คู่มือที่เป็นระบบ (E-filing)

                -  Website                       

ขั้นตอนที่ 7  การขยายผลสู่ภายนอก (Movement: M)  คือ  การเผยแพร่ขยายผลงานความสำเร็จหรือผลการปฏิบัติที่เป็นความภาคภูมิใจตลอดจนคลังความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการความรู้(KM)  มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายในองค์กรไปสู่สถานศึกษาอื่น  ชุมชน  เอกชนและหน่วยงานอื่น ๆ   ยกตัวอย่างเช่น

                -  การจัดทำ Blog (ให้+รับ)

                -  เอกสาร / คู่มือ

                -  นิทรรศการทางวิชาการ / ตลาดนัดความรู้

                -  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล (ให้+รับ)

 

คำสำคัญ (Tags): #best practice siwaram model
หมายเลขบันทึก: 198389เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอชมเชยค่ะ ที่ำนำมาเล่าสู่กันฟัง น่าจะเป็นองค์กรแรกในโครงการของเราที่

ทำเช่นนี้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอแถมนิดหนึ่งนะคะ เรื่องน่าสนใจมาก ถ้าอาจารย์แยกเป็นตอนๆ เสริมเรื่องเบาๆ ตลกๆที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เป็นทางการน้อยลงหน่อย จะวิเศษมากเลยค่ะ

เพราะว่าชุมชนบล็อกจะเป็นกันเองมากกว่าทางการค่ะ

เขียนต่อนะคะ จะติดตามอ่านค่ะ

อยากได้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ KM สัก ๑ เรื่อง นะคะ เพราะเป็นสุดยอดของครูผู้สอนค่ะ

ถ้ามีวิธีจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ KM มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ด.ช วิรัตน์ จันทะเสน

สุดยอดมากครับ

ชอบมากๆมีเนื้อหาสาระที่ดี

มีเนื้อหาสาระที่ดีเหมาะกับการเรียนการสอน (ครูจำลองเก่งมาก)

เนื้อหาไม่ดี หน้าตาไม่หล่อ ฮิฮิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท