TOILET SPY ช่วยด้วย


ใช้ดีรักษาดีมีสุข
ห้องสุขาพาสุขกายสุขใจ
เพราะมีบางสิ่งบางอย่างในโถสุขภัณฑ์ที่ไม่ยอมลงไปแต่โดยดี แถมส่งกลิ่นเหม็นก่อกวนทั้งร่างกายและจิตใจของทุกคนในบ้าน จึงต้องรีบหาทางแก้ไขที่เร็วที่สุด ซึ่งก็คือโทรไปเรียกรถเทศบาลมาจัดการสูบแต่บางครั้งกลับเป็นแค่การแก้ไขที่ปลายเหตุเพราะสุขาของบางบ้านเต็มบ่อยมาก ต้องสูบกันปีหนึ่งไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ซึ่งในลักษณะอาการเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องของสุขาเต็มตามปกติธรรมดาอย่างแน่นอน ทางที่ดีควรจะสืบสาวหาสาเหตุเพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างตรงจุด โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาสุขาที่เต็มบ่อยมีดังนี้
  • ติดตั้งโถสุขภัณฑ์ในระดับที่ต่ำกว่าบ่อเกรอะ
การติดตั้งโถสุขภัณฑ์ต่ำกว่าบ่อเกรอะย่อมจะทำให้ความลาดเอียงของท่อสุขาไม่มีความลาดเทไปถึงบ่อเกรอะได้อย่างพอเหมาะ ด้วยสาเหตุนี้เองจึงส่งผลให้ลงไปมีโอกาสย้อนไหลกลับขึ้นมาได้อีก
  • ท่อสุขาที่ฝังอยู่ใต้ดินมีรอยแตก
ปัญหารอยแตกของท่อสุขานี้อาจเป็นการยากที่จะมองเห็นแต่กลิ่นที่โชยมาเป็นระยะ ๆ ย่อมสามารถจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าต้องมีบางสิ่งบางอย่างมีปัญหา และลักษณะอาการที่ชัดเจนมากกว่าท่อสุขามีรอยแตกคือ การที่สุขาราดน้ำลงบ้างไม่ลงบ้าง หรือถ้าหากรอยแตกนั้นแตกหักเสียหายมากก็จะไม่สามารถราดลงเลย
  • ลืมใส่ท่ออากาศให้กับท่อสุขา
กรณีนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งทำให้สุขาราดไม่ลงได้เช่นกัน เพราะน้ำที่ราดไม่สามารถเข้าไปแทนที่อากาศได้ ( บางคนเรียกท่ออากาศนี้ว่าท่อหายใจสำหรับสุขา ซึ่งเป็นท่อสำคัญที่ไม่ควรจะลืมติดอย่างเด็ดขาด )
  • ใต้พื้นดินที่ติดตั้งโถสุขภัณฑ์มีความชุ่มชื้นเกินไป
โดยเฉพาะโถสุขภัณฑ์แบบบ่อซึม หากติดตั้งไว้ในดินที่มีลักษณะชุ่มชื้นอุ้มน้ำมากเกินไปแทนที่น้ำจากบ่อเกรอะหรือบ่อซึมจะไหลซึมออกก็กลับกลายเป็นน้ำไหลซึมเข้ามา แล้วปัญหาที่เกิดคือสุขาจะเต็มบ่อยมาก หรือราดน้ำไม่ค่อยจะลง
  • ขนาดของบ่อเกรอะและบ่อซึมเล็กเกินไป
โดยปกติผู้ออกแบบมักจะกำหนดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนคนที่ใช้สุขา แต่หากในระหว่างการก่อสร้างผู้รับเหมาเกิดไปเลือกใช้บ่อผิดหรือขนาดผิดประเภท เช่น ลดขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึมให้เล็กลงตรงตามสเป็คที่ผู้ออกแบบตั้งไว้แต่ทีแรกเช่นนี้ ก็จะส่งผลให้สุขาของบ้านนั้นเกิดปัญหาสุขาเต็มได้ง่ายและเต็มเร็วผิดปกติ ทั้งนี้เพราะพื้นที่ภายในบ่อเกรอะบ่อซึมดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะรองรับ หนำซ้ำยังอาจทำให้น้ำภายในบ่อนั้นไม่สามารถซึมออกไปได้ทันอีกด้วย
  • มีสิ่งของเข้าไปอุดตันอยู่ในโถสุขภัณฑ์
หลายคนอาจคิดว่า สุขาสามารถรองรับสิ่งสกปรกต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของที่ย่อยสลายได้ยากเช่น ผ้าอนามัย ถุงยางอนามัย หรือแม้แต่กระดาษชำระ ที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้โถสุขภัณฑ์สุขาของเราเต็มซึ่งพบได้บ่อยที่สุด
ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษโดยสามารถช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลทั้งหลายภายในบ่อเกรอะได้ อย่างไรก็ดีอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อการทำการติดตั้งได้อย่างถูกวิธี และที่สำคัญเจ้าอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน ฉะนั้นหากคุณติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว แต่สุขาของคุณยังคงเต็มอยู่ก็น่าจะเช็คดูว่าคุณลืมเสียบปลั๊กอุปกรณ์นั้น ๆ หรือเปล่า       ที่มา หนังสือนิตยสาร ลิซ่า ปีที่ 5ฉบับที่ 35วันที่ 11/ 11/ 2004หน้า 91
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19822เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2006 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท