กิจกรรม ลปรร.สัปดาห์ที่ 3 มาตรการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนแบบยั้งยืน...


มาตรการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนแบบยั้งยืน...ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีบทบาทและร่วมมืออย่างใกล้ชิด..และเห็นความสำคัญ

กิจกรรม ลปรร. สัปดาห์ที่ 3 มาตรการส่งเสริมนัสัยรักการอ่านของนักเรียนแบบยั้งยืน....

สัปดาห์ที่สาม สมาชิกกลุ่ม 5forshare ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อสรุปภาพรวมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ดังนี้

มาตรการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียนแบบยั้งยืน  สรุปและจำแนกเป็น บทบาทของผู้เกี่ยวข้องเช่น คณะกรรมการสถานศึกษาแต่ละสถานศึกษา ที่ต้องกำหนดนโยบายให้สถานศึกษาตระหนัก  บทบาทของสถานศึกษา  ควรจะดำเนินการ คือ  * จัดห้องสมุดที่มีบรรยากาศที่เอื้อ  * จัดเวทีวิเคราะห์ปัญหาเพื่อสร้างความตระหนัก * จัดทำแผนงานโครงการและกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการอ่าน * ใช้เทคนิค BBL (Brain Based Learning) และ โยนิโสมนสิการ * วิเคราะห์ ประเมิน  สภาพการอ่านของนักเรียน เพื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  * สานต่อผลงานดีเยี่ยม  * โครงงานส่งเสริมการอ่าน  * จัดเวลาว่างสำหรับการอ่านของนักเ รียน ส่วน บทบาทของผู้ปกครอง/ชุมชน ก็สำคัญ เช่น  * อ่านและเล่าเรื่องให้ลูกหลานฟัง  * ดี เจน้อยเวทีวิทยุชุมชนเผยแพร่ผลงานการอ่าน  * ลูกหลานอ่านหนังสือให้ปู่ฟัง  *  มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน  *   จัดหาหนังสือให้ลูกหลาน  *  ตรวจสอบ ชักชวน ตักเดือน แนะนำ ให้กำลังใจ  จากนั้นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรจะจัดทำอย่างยิ่ง คือ  ตัวชี้วัดความสำเร็จ  * เพิ่มผลสัมฤทธิ์  * เสริมประสบการณ์  * ประเทืองปัญญา * พัฒนาการคิด  * มีวิจารณญาณ  * เป็นคนดี  * เป็นคนเก่ง   * เป็นคนมีความสุข  * รู้เขา รู้เรา เข้าใจตนเองและผู้อื่น   

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญมาก คือ บทบาทของครูผู้สอน* จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกการอ่าน  * ก่อนเรียนมีเวลาสำหรับเล่าข่าวจากอ่าน  * มีหนังสือเสริมการอ่านประกอบการเรียน  * มีมุมส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาสติปัญญา  * มีเกณฑ์ประเมินการอ่าน  * มีการจัดกิจกรรมเสริมแรง  จะส่งผลสะท้อนภาพความสำเร็จนักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  อย่างไรก็ตามตัวผู้อ่านจะต้องร่วมมือร่วมใจ คือ บทบาทของนักเรียน * เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน * เข้าร่วมกิจกรรมเล่าข่าวก่อนเรียนมี  * มีหนังสือส่งเสริมการอ่านที่ประทับใจ  * มีส่วนร่วมในมุมอ่านที่ประทับใจ  * เข้าร่วมชุมนุมส่งเสริมการอ่าน  * ชักชวนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ลืมเสียไม่ได้ คือ ผู้มีบทบาทสำคัญที่จะต้องส่งเสริม ต้องมีบทบาทสำคัญ คือ ขององค์กรในท้องถิ่น ให้มีผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องการส่งเสริมการอ่าน  มีนโยบายและส่งเสริม สนับสนุน  จัดหาสื่อ สิ่งพิมพ์ให้แก่ โรงเรียน ครู นักเรียน เพื่อพัฒนาการอ่าน อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง  จัดสรรงบประมาณสนับสนุน ให้กำลังใจ......โรงเรียน ลูกหลาน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมชุมชนที่เป็นหน้าที่ที่มีเกียรติของ สังคม .จะต้องเข้ามีส่วนช่วยเหลืออย่างเสียไม่ได้..เพราะคนที่มีคุณภาพจะต้องสืบสาน..งานต่อ...เพราะเขาคือ คนที่มีคุณภาพในอนาคตที่จะมาทำหน้าที่ในองค์กรหรือหน่วยงานของสังคมในอนาคต..นั่นเอง

 ***********************************************************************

ข้อคิดที่ได้ : งานที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายจะประสบความสำเร็จได้ดี และยังส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน

 :  recorder : somwang puntalee : mr.hope : group 2 : 5forshare.

หมายเลขบันทึก: 198160เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การส่งเสริมการอ่าน เป็นปัญหาทีต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากบุคคล/หน่วยงานหลายกลุ่มหลายฝ่าย รวมถึง งปม. ที่ต้องจัดสรรให้ ที่สำคัญคือความต่อเนื่องและเอาจริงเอาจัง ปรบมือให้กับสมาชิกทุกคน (ทั้งในและนอกกลุ่ม) ที่ร่วมแรงร่วมใจกัน ลปรร. ประเด็นนี้กันอย่างจริงใจ อยากให้ผู้บริหารและหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาทุกคนทุกองค์กร ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อย่างจริงจัง และพร้อมจะช่วยกันเยียวยาอย่างจริงใจเช่นเดียวกับทุกท่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท