สิ่งที่ควรพิจารณาในการวางแผนการเรียนรู้ออนไลน์กับการศึกษาระดับอุดมศึกษา


สิ่งที่ควรพิจารณาในการวางแผนการเรียนรู้ออนไลน์

สิ่งที่ควรพิจารณาในการวางแผนการเรียนรู้ออนไลน์กับการศึกษาระดับระดับอุดมศึกษา                                                                  Suzanne Levy, Ed.D.

บทนำ

อินเตอร์เน็ตและ www ได้สร้างกระบวนการทางการศึกษาที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเวลาและสถานที่ซึ่งทำให้ง่ายต่อผู้เรียน ในขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้แก่การศึกษาด้วย ในการเรียนทางไกลออนไลน์นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการสอนผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น  แต่ยังให้กระบวนการทางการศึกษาอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์ด้วย กระบวนการทางการศึกษาเหล่านี้ได้แก่ การให้บริการทางการศึกษา การฝึกอบรม และการส่งเสริม การส่งผ่านไปยังการเรียนทางไกล โดยมากจะขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่สร้างสรรค์ออกมาเป็นกระบวนการที่ปรับทิศทางในวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จากการเรียนการสอนต่างๆ (โรเจอร์ 2000) ผู้บริหาร คณะ เจ้าหน้าที่ และนักเรียนต่างตระหนักถึงการใช้ ODL อย่างได้ผล ว่า วิทยาลัยจะต้องมีการประเมินโปรแกรมซ้ำ งานวิจัยนี้จะทบทวนตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับปัจจัยทั้ง 6 โดยพิจารณาทั้งในส่วนของการวางแผน และการพัฒนาโปรแกรมการเรียนทางไกลออนไลน์ ทั้ง 6 ส่วนนี้ได้แก่ วิสัยทัศน์ และการวางแผน หลักสูตร การฝึกเจ้าหน้าที่ และการส่งเสริม การให้บริการผู้เรียน การฝึกอบรมและส่งเสริมผู้เรียน และการสร้างลิขสิทธิ์และสิทธิทางปัญญา

สภาวะของปัญหา

ในปี 1998  51% ของสถาบันการศึกษาขั้นสูงในสหรัฐมีการรวมวิธีการเพื่อการวางแผนทางเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ ในปี 1999 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 61% (สภาการศึกษาขั้นสูง 1999) แต่ส่วนมากสถาบันเหล่านั้นมีแผนที่ไม่เหมือนกันในโปรแกรมการเรียนทางไกลและองค์ประกอบหลักในการวางแผน เช่น การให้บริการนักเรียน การฝึกอบรม ส่งเสริม นั้นหายไป

ในปี 2001 หน่วยสำรวจวิทยาเขต พบว่า 11.8% ของวิทยาลัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยได้รวม

e – commerce เช่น ร้านหนังสือ และการจ่ายเงินออนไลน์ ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ โดยมากมักดำเนินการน้อย และพอมีการวางแผนการใช้โปรแกรมออนไลน์ การวางแผนการเรียนออนไลน์จะกลายมาเป็นหลักของกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์เพราะความคาดหวังของนักเรียนสนใจให้ดำเนินการในโปรแกรม ODL ต่อไป วิทยาลัยต่างๆ จึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขณะที่ต้องคงภารกิจของวิทยาลัยไว้ด้วยเช่นกัน

จนกระทั่งห้องเรียนออนไลน์เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1994 โรงเรียนต่างๆ ที่เข้าร่วมการเรียนทางไกลใช้เทปบันทึกการสอนในชั้นเรียนแบบบันทึกเทป และวิดีโอ การพัฒนาคอมพิวเตอร์พีซีนำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากของแหล่งเงินที่นำมาสนับสนุนเทคโนโลยี เทคโนโลยีต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการยอมรับเช่น อินเตอร์เน็ต www แต่มันไม่เคยเกิดขึ้นจนกระทั่งห้องเรียนออนไลน์เริ่มต้นขึ้นทำให้ประเด็นทางการศึกษากลายเป็นที่สนใจในกลุ่มผู้สอนออนไลน์ เทคโนโลยีจึงเป็นส่วนสำคัญ สำหรับ ODL ที่ไม่อาจนำมาใช้ได้หากไม่มีเทคโนโลยี แต่การพัฒนาหลักสูตรและการส่งเสริมผู้เรียนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา ห้องเรียนออนไลน์ที่กำหนดไว้มีการสอนน้อยลงมากว่าทศวรรษ มีการศึกษาบางส่วนที่ทำขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำโปรแกรม ODL ไปใช้  Crumpacker (2001)กล่าวว่า ต้นแบบของ ODL แทบจะไม่มีความสำเร็จอันเนื่องมาจากความใหม่ของมัน  Kriger (2001) กล่าวถึง ODL ว่ามีการสร้างและดำเนินการขึ้น ดังนั้น ต้องทราบวิธีการทำให้ ODL สำเร็จ และต้องพิจารณา ODL เมื่อมีการวางแผนการทำงานเพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่าย เวลา ความสับสน และความกดดันสำหรับกลุ่ม ODL  โปรแกรม ODL ที่ดีต้องเน้นไม่ใช่เพียงคอมพิวเตอร์หรือระบบในด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการศึกษา แต่ต้องเน้นในส่วนพิเศษ 6 ประการที่เกี่ยวเรื่องกับแนวทางการสร้าง ODL และระบบการศึกษาโดยรวม

การพิจารณาทั้ง 6 ส่วน

วิสัยทัศน์และการวางแผน

ผู้เขียนหลายรายเขียนถึงความจำเป็นของวิสัยทัศน์เพื่อใช้ ODL   Hache (2000) อธิบายว่าคณะ เจ้าหน้าที่ และผู้บริหารต้องเริ่มจากวิสัยทัศน์ มันจำเป็นต่อการทำความเข้าใจที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมองค์กร ODL ไม่เป็นเพียงต้นแบบในภาพของโปรแกรมในวิทยาเขตที่มีอยู่ซึ่งมีการสร้างระบบบริหารและรองรับสำหรับผู้เรียนในวิทยาเขตแบบเดิม

โครงสร้างการสนับสนุนเชิงบริหาร การให้บริการผู้เรียน การส่งเสริมทางเทคโนโลยี และการฝึกอบรมหรือความจำเป็นในการช่วยเหลือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องวิเคราะห์และบางทีอาจต้องเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ ODL สำเร็จ ในการยอมรับวิสัยทัศน์และการนำไปใช้ สิ่งเหล่านั้นเป็นส่วนหลักของ ODL ที่วิทยาลัยจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะ องค์กร และโปรแกรม และอาจรวมถึงแหล่งทรัพยากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Berge and Mrozowski (2001), Care and Scanlan (2001), Chute et al. (1999), Robinson (2000), Verduin and Clark (1991), Walton (2001), and Willis (2000) กล่าวว่าขั้นตอนการวางแผนสำคัญมากใน ODL และ Gellman-Danley and Fetzner (1998) เห็นพ้องว่าการวางแผนและการพัฒนานโยบายขั้นสูงเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการของโปรแกรมการเรียนทางไกล การวางแผนจะให้งบในการซื้อซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์อันหลากหลาย มากกว่าจะซื้อหลายแพคเกจมาใช้ การวางแผนจะเอื้อให้ใช้ทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่ด้วย การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมทางเทคนิคของทุกคณะ ดีกว่าการให้คณะประสานงานเพื่อรองรับเทคนิคในแต่ละครั้ง แผนส่วนมากของ ODL จะใช้ร่วมในแนวทางที่มีอยู่และไม่แยกออกจากเอกสาร  Hache (2000) ศึกษาแผน ODL และสืบหาว่ามันเป็นเครื่องมือสำคัญในการเติบโตที่จะประสานเทคโนโลยีเข้าในการเรียนการสอนโดยไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องพื้นฐานทางการศึกษา Stone และคณะ (2001) พบว่าโปรแกรม ODL ประสบความสำเร็จดีหากมีการวางแผนทางวิธีการ แนวทางเชิงระบบในการวางแผนต้องทำขึ้นเพื่อสร้างคุณภาพทางการศึกษาสำหรับชุมชนการเรียนรู้ที่หลากหลายในศตวรรษที่ 21

ในการสร้างวิสัยทัศน์และแผนเพื่อ ODL ลำดับ คุณค่า และประสบการณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องนำมาพิจารณา โปรแกรม ODL ส่วนมากจะใช้ตามวิสัยทัศน์ซึ่งไม่ได้ใช้ร่วมกันโดยสากล และเป้าหมายเหล่านี้ไม่ได้กล่าวถึงโดยละเอียดนัก ในการบริหาร คณะ เจ้าหน้าที่ นักเรียนในกระบวนการนี้ จะง่ายต่อการสร้างความสอดคล้องในวิทยาเขตต่างๆ ด้านวิสัยทัศน์   Tosh, Miller, Rice, and Newman (2000) แยกแยะว่า คณะควรสืบหาสิ่งที่ต้องทำก่อน นโยบาย และกระบวนการเพื่อใช้ ODL จากจุดเริ่มต้น หากไม่มีการประสานกันในส่วนของ ODL ประเด็นเหล่านี้อาจจะไม่ได้รับการแก้ไข และคำถามจะยังคงอยู่โดยไม่ได้รับคำตอบ อีกทั้งสร้างความสับสน และ

ความไม่เข้าใจ

            WWW สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการศึกษา และการเรียนรู้ เนื่องจากมีการทำเป็นหนังสือมากกว่า 500 ปีแล้ว มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนนั้นมีแนวโน้มจะต่อต้านกระบวนการ ค่านิยม และความเชื่อโดยไม่ต้องการเสี่ยง จึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโปรแกรม ODL  Draves (2000) ประกาศว่าอัตราการปรับ ODL จะปรับปรุงได้หากมีการทบทวนนโยบาย กระบวนการ และวิธีการในประเด็นที่มีเกณฑ์ที่มีอยู่ ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้เสีย การสืบหากระบวนการหรือเป้าหมายของโปรแกรม ODL และการทำความเข้าใจประเด็นที่เกี่ยวเนื่องของ ODL จากทุกคนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารจะต้องหาข้อดี ข้อเสียที่นำไปสู่วิธีลดการต้านทานการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่ใครจะเป็นผู้นำในการสร้างวิสัยทัศน์ และการเปลี่ยนแปลงใน ODL ยังไม่มีความเห็นสอดคล้องกันในเอกสาร ตามที่ Care and Scanlan (2001) and Mills and Paul (1993), กล่าวไว้ นักวิชาการ ต้องให้แนวทางและเป็นผู้นำในการพัฒนาแผนของ ODL  การวางแผนจะเป็นตัวริเริ่ม ขับเคลื่อน และมุ่งเน้นที่วัฒนธรรมขององค์กร ดังนั้น กระบวนการวางแผนจะเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้บริหารที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แต่ในการจะขับเคลื่อน ODL, คนอื่นๆ ต้องเชื่อว่าแผนนั้นจำเป็นต้องได้รับการยอมรับจากทุกคนที่เกี่ยวข้อง  Schifter (2000), Kriger (2001), Myers and Ostash (2001), and Rockwell, Schauer, Fritz, and Marx (2000) อ้างว่าหากไม่มีผู้นำ คณะจะไม่ได้รับการส่งเสริม  Weigel (2000) เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่นำโดยคณะจะทำงานได้เองหากคุณภาพของคอร์ส

การเรียนได้รับการปรับปรุง  George and Camarata (1996) รู้สึกว่า ความเป็นผู้นำ และเจ้าของ ODL, ต้องมาจากทุกส่วนในวิทยาลัย และต้องไม่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารหรือเป็นผู้นำในคณะ

Husmann and Miller (2001) ศึกษาในสิ่งที่นักวิชาการเชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของ ODL ผู้บริหารกล่าวว่า โปรแกรมต้องมีการช่วยเหลือจากคณะ และปรับเปลี่ยนคุณภาพ และกลุ่มลูกค้า สิ่งที่ผู้บริหารมองไม่เห็นเป็นบทบาทที่ควรทำในการสร้างความสำเร็จแก่ ODL ผู้บริหารจึงมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรม ODL แต่ไม่มีโอกาสที่จะส่งเสริมวิทยาลัยเหล่านั้นผ่านทาง ODL  ผู้บริหารที่งานรัดตัวจะไม่มีเวลาทำความเข้าใจศัพท์ เทคโนโลยี และประเด็นใหม่ ๆ ในกลุ่มผู้สอนและนักเรียน Husmann and Miller (2001) สรุปว่าผู้บริหารเห็นบทบาทการบริหารโปรแกรม แต่ไม่ใช่เจ้าของโปรแกรม พวกเขาไม่ทราบถึงผลกระทบที่พวกเขามีต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางบวกใน ODL แต่ผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโปรแกรมด้วยการสร้างความปลอดภัยแก่แหล่งทรัพยากร ที่มีอิทธิพลต่อผู้เข้าร่วม ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง และใช้กระบวนการในการรับมือกับอุปสรรคที่มีผลต่อผู้สอนและนักเรียน ผู้บริหารที่มีความรู้เกี่ยวกับ ODL สามารถสร้างวัฒนธรรมทางบวกที่เสริมวิทยาเขตอื่นๆ ให้ได้เรียนรู้และปรับปรุงตัวเพื่อเข้ากับเทคโนโลยีใหม่

            ความท้าทายของวิทยาลัยต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 นั้นไม่อาจตัดสินได้ว่าทำไมพวกเขาต้องมีแบบเรียนออนไลน์แต่ต้องตัดสินใจว่าจะออกแบบและใช้โปรแกรมอย่างไร ดังนั้น การทำความเข้าใจว่าจะวางแผนโปรแกรมให้ดีอย่างไรเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จ การสอนจะปรับจากต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีส่วนบุคคลเพื่อประสานการสอนกับการให้บริการนักเรียนผ่านเทคโนโลยี แต่จากวิทยาลัยในชุมชนแคลิฟอร์เนีย การแข่งขันกันระหว่างสถาบันต่างๆ ในการพัฒนาและให้คอร์สการเรียนทางไกลและโปรแกรมต้องมีประเด็นต่างๆ ในการจัดการวิทยาลัยและขจัดอุปสรรคโดยรวม ดังที่ Garrison (1989) กล่าวว่า กระบวนการนั้นมีข้อจำกัดเพราะบางคนมีความเข้าใจในแนวคิดที่จะสร้างแผนการทำงานที่สำคัญสำหรับการปรับวิธีการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับค่านิยมและเป้าหมาย ตามที่ Bothel (2001) and McLendon and Cronk (1999), กล่าว การก้าวไปข้างหน้ากับวิสัยทัศน์เดี่ยวและการพัฒนานโยบายและกระบวนการเป็นส่วนที่ท้าทายอย่างมากในการวางแผน ODL

หลักสูตร

            การวางแผน ODL เน้นที่งบประมาณและการวางแผนบุคลากร ไม่ใช่ประเด็นเกณฑ์การสอน ODL จึงเป็นมากกว่าหมวดการสอนหรือวิธีการ มันเป็นสิ่งสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เน้นที่วิธีการส่งผ่านและหลักการสอนอย่างใหม่ ผู้บริหารมีแนวโน้มจะปรับวิธีการเพื่อสร้างเทคโนโลยีอย่างได้ผลขณะที่คาดหวังผลกำไรหลัก broad outcomes   เทคโนโลยีเป็นเป้าหมายหลัก การกำจัดอุปสรรคในการเข้าถึงจะไม่อาจป้องกันได้หากอุปสรรคด้านความสำเร็จของนักเรียน ยังมีอยู่ ผู้บริหารดูเหมือนจะเชื่อว่าหากพวกเขาจัดหาเทคโนโลยี คอร์ส และนักเรียนจะมาเอง แต่อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีจะไม่สร้างขึ้นหากไม่มีการพิจารณาถึงความต้องการทางวิขาการและการศึกษาในโปรแกรม ODL  Daniel (1997) กลัวว่าการยอมให้คณะสร้างห้องเรียนเองโดยไม่มีการวางแผน จะมีรูปแบบการส่งผ่าน เทคนิคการจัดการการสอนที่ต่างกัน และสร้างความสับสนแก่นักเรียน

            ผู้สอนหลายรายไม่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการสอนของตัวเอง บางคนรู้สึกว่า interactive lectures, small group activities, หรือ closed labs เป็นทางเดียวที่จะสอนเรื่องต่างๆ ได้ คนอื่นๆ ยังไม่ปรับการสอนให้ก้าวหน้าตามเทคโนโลยีเช่นการใช้ PowerPoint และ multimedia และไม่ต้องการปรับรูปแบบการสอน โดยฝังอยู่ในความเชื่อและวิธีการที่ทำมานานต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงเพราะคอร์สต่างๆ ต้องปรับเข้าสู่การสอนออนไลน์ และต้องมีแนวทางการเรียนการสอนอย่างใหม่

การฝึกอบรมและส่งเสริมเจ้าหน้าที่

แม้ว่าหลักการออกแบบการสอนจะไม่ต่างกันมากใน ODL เมื่อเทียบกับแบบเดิม ผู้สอนต้องได้รับการอบรมและส่งเสริมให้อยากจะปรับแนวทางการสอนใหม่ ผู้สอนต้องเข้าใจถึง รายละเอียดของคอร์สเพื่อสร้างเครื่องมือให้เข้ากับสภาพการสอนใหม่ คอร์สต่าง ๆ ในโปรแกรม ODL จำเป็นต้องวางแผนและออกแบบให้ชัดเจน การแทนที่รูปแบบการสอนเดิมเป็นแบบดิจิตอลนั้นยังมีไม่เพียงพอ 

            การปฏิวัติอย่างรวดเร็วด้านองค์ความรู้ต้องการการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมหลักสูตร และคณะจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในการสอน  ODL ที่มีประสิทธิภาพผู้สอนต้องมีความรู้ในเนื้อหา และมีทักษะส่วนตนในการสื่อสารกับผู้เรียนออนไลน์ ผู้สอนจะมีบทบาทเป็นผู้วางแผน ออกแบบ แนะแนว ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก แต่จะแสดงตนเป็นผู้นำหรือผู้สอนอีก    เนื่องจากขาดการสนับสนุนในหลายสถาบันการศึกษาขั้นสูง ผู้สอน ODL จึงต้องมีทักษะทางเทคโนโลยี โดยต้องอัพโหลดไฟล์ จัดการปัญหาของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และช่วยแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีของนักเรียน ผู้สอนต้องออกแบบคอร์ส เพื่อให้เข้าถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้วย แบบเรียนออนไลน์ต้องดำเนินงานในคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ผู้สอนจำเป็นต้องพิจารณาหน่วยความจำและความเร็วของเครื่องที่ต่างกันของนักเรียน โดยบทเรียนต้องไม่ใช้เวลาในการดาวน์โหลดนานเกินไป เว็บเพจต้องมีสัดส่วนหน้าจอที่เหมาะสม ไม่ยุ่งยากและมีสีที่ดี ผู้สอนที่ต้องประสานกับผู้เรียนจะเป็นคนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องมีการฝึกอบรมทางเทคโนโลยีที่ไม่แพร่หลายในกลุ่มผู้สอนนัก

            ทั้งที่มีข้อดีชัดเจนในการทำคอร์สให้เข้าถึงผู้เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ผู้สอนและสถาบันกลับไม่สมัครใจจะเปลี่ยนเป็น ODL. ผู้สอนจะมีหลากหลายเหตุผล รวมถึงการยอมรับในช่วงเวลาที่จะเพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาและส่งผ่านคอร์สออนไลน์  ไม่มีการส่งเสริมในส่วนเทคนิคและการบริหารจัดการ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา การกระตุ้น อุปสรรคในการสอนออนไลน์ การถูกบังคับให้ทำ การฝึกอบรมผู้สอนที่ไม่เพียงพอสำหรับการเขียนและสอนคอร์สออนไลน์ด้วย  ประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับการที่ผู้สอนพยายามที่จะเทียบประสิทธิภาพและผลกำไรจาก ODL กับการสอนแบบ on-campus จึงเป็นความกดดันของผู้สอนในการสอนคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ

การอบรมผู้สอนจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมจากคณะในส่วนของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  Bennett, Priest, and Macpherson (1999) เสริมว่าการพัฒนาเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องจำกัด ดังนั้น การเสริมเทคนิคของคณะจึงเป็นเรื่องท้าทายเพราะมีแหล่งข้อมูลอันจำกัด แต่เดิม คณะจะได้รับการส่งเสริมจาก 3 ส่วนในวิทยาลัย เช่น หอสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ และศูนย์พัฒนาของคณะ บางโรงเรียนจะประสานเข้ากับศูนย์ทรัพยากรของคณะ สถาบันต่างๆ ต้องเน้นการจัดหาเพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ช่วยให้สมาชิกของชุมชนในวิทยาเขตบรรลุถึงเป้าหมาย

            การอบรมผู้สอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างใหม่และวิธีการสอนเป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้สอนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อนำไปรวมกับการสร้างความชำนาญของผู้สอน การเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการยกระดับขึ้น ในการเพิ่มความรู้จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือในหลักสูตรออนไลน์อย่าง ผู้สอนต้องเข้ารับการอบรม การแนะนำ และการส่งเสริมที่จำเป็น เพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้ การอบรมของคณะต้องพิจารณาเมื่อแผนการสอนของคณะมีโปรแรกมการสอนทางไกลออนไลน์

การให้บริการผู้เรียน

แม้ว่าบางคนจะกล่าวว่าเทคโนโลยีไม่ควรจะเป็นส่วนกระตุ้นการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร บ้างกล่าวว่าเทคโนโลยีนั้นไม่อาจจะนำไปสู่การสอนได้โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนส่วนอื่นๆ ในกระบวนการทางการศึกษา ดังนั้น ความจำเป็นอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องกำหนดมาจากโครงสร้างองค์กร โดยเฉพาะในส่วนที่จะให้บริการแก่ผู้เรียน ปัญหาหนึ่งในการวางแผน ODL เน้นมากที่การสอน และไม่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการนักเรียน  Care and Scanlan (2001) ไม่ได้ศึกษาเปรียบเทียบอย่างเพียงพอในประเด็นการวางแผน และส่งผ่านคอร์ส แต่ไม่พิจารณาในส่วนของการส่งเสริมการให้บริการและทางเทคนิค  Tinto (1993), Voorhees (1987), พบว่าในการสร้างความสำเร็จแก่นักเรียนต้องถึงการให้บริการของนักเรียน Husmann and Miller (2001) เห็นด้วยกับปัญหาหลักว่าโปรแกรมโดยรวมไม่มีการวางแผนไว้ และจะต้องสนใจกับการวางแผนคอร์สส่วนบุคคล การวางแผน ODL ต้องประกอบด้วยประเด็นทางงบประมาณ บุคคล การเรียน กฎหมาย เทคโนโลยี และการส่งเสริมไว้เป็นกรอบในการตัดสินใจ  ODL ไม่ใช่เรื่องการเรียนการสอนเท่านั้น มันจะช่วยเอื้อแก่เด็กที่ไม่อาจจะมาเรียนในวิทยาลัยได้โดยเปิดโอกาสให้เทียบเท่ากับเด็กที่มาเรียน โดยจะให้บริการที่เป็นประเภทเดียวกันกับเด็กที่เรียนในวิทยาเขต  

ปัจจัยกำหนดการวางแผน ODL มีข้อจำกัดเพราะคณะต้องเผชิญหน้ากับแรงต้านหลังจากการใช้ ODL ในวิทยาเขตต่างๆ  ปัญหาของ ODL มีความสำคัญมากหากวิทยาลัยยอมให้สมาชิกในคณะและหน่วยงานทำห้องเรียนออนไลน์โดยไม่วางแผนการใช้เครื่องมือในโครงสร้างเสริมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน ในการสำรวจชุมชนวิทยาเขตปี 2001 สนับสนุนข้อค้นพบที่ว่ามีวิทยาลัยไม่มากที่ให้บริการแก่ผู้เรียนออนไลน์ ตามที่ Brown and Jackson (2001), กล่าว ผู้บริหารไม่ควรจะเกี่ยวเนื่องกับคณะจะพัฒนาและสอนคอร์สออนไลน์อย่างไรในการศึกษาอื่นๆ แต่ควรสนใจถึงวิธีการประสานความต้องการเพื่อสนับสนุนนักเรียนออนไลน์ในส่วนอื่นทางการศึกษาเช่น การให้การปรึกษา การให้บริการสาธารณะ และการช่วยเหลือทางการเงิน

            Sally Johnstone (2002) ผู้บริหารในส่วนโทรคมนาคมทางการศึกษาในองค์กรตะวันตกเพื่อการศึกษาขั้นสูง อ้างว่ามี 3 ขั้นตอนในการจัดหาส่วนสนับสนุนนักเรียนออนไลน์ ประการแรกคือ สร้างเว็บเพจให้ข้อมูล ประการที่สองเพิ่มรูปแบบและวิธีการสื่อสารในเว็บเพจ และขั้นสุดท้ายให้บริการที่เป็น personal interaction เช่น การให้คำปรึกษาออนไลน์ผ่านห้องแชต หรือการประเมินออนไลน์ตามผลงานของนักเรียน  หลายสถาบันอยู่ในภาวะวิกฤตทางการให้บริการเสริมเพราะไม่มีการวางแผนมาก่อน จึงไม่อาจหาแหล่งทรัพยากรได้เพียงพอต่อการส่งเสริมผู้เรียน หากวิทยาลัยต้องการสร้างความสำเร็จใน ODL  พวกเขาต้องพิจารณาการเข้าถึง ความเท่าเทียม และการเสริมอย่างต่อเนื่องในฐานะของพลเมืองชั้นสอง  Aoki and Pogroszewski (1998) อ้างว่าการประสานคอร์สออนไลน์และการให้บริการนักเรียน ค่าใช้จ่ายจะต้องลดลง และการสร้างซ้ำต้องปรับให้ดีขึ้น  ตามที่ Matthews (1999) กล่าว การลงทะเบียนเรียนจะเพิ่มขึ้น  

โชคไม่ดีที่วิทยาลัยต้องเผชิญหน้ากับสภาวะยากลำบากในการวางแผน ODL เพราะมันขาดตอนไประหว่างความต้องการที่จะตอบสนองผู้เรียนออนไลน์และความจำเป็นในการสร้างเสริมการให้บริการนักเรียนแบบเดิม แต่ มันจำเป็นสำหรับผู้บริหารในการพิจารณาถึงนักเรียนที่ไม่ได้มาเรียนในวิทยาเขต และเพื่อให้บริการที่จำเป็นต่อผู้เรียน   Inglis et al. (1999) อ้างว่าการส่งผ่านคอร์สออนไลน์ในแบบโทรทางไกลเพื่อเตือนเป็นบริการเสริมที่ควรจัดหาไว้ เพราะมันจำเป็นสำหรับมาตรฐานการส่งเสริมขั้นสูงที่จะเตรียมไว้ในส่วนของแหล่งทรัพยากร และเพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 

Dennis Bancroft, Director of Oscail, the National Distance Education Centre in Dublin, Ireland, ที่สัมภาษณ์โดย Savrock (2001), แยกการส่งเสริมนักเรียนเป็น 1 ใน 3 เกณฑ์ (ที่เหลือคือ หลักสูตรและเทคโนโลยี) จำเป็นต้องคงไว้ในโปรแกรม ODL ที่มีอยู่

 

การฝึกอบรมและการส่งเสริมผู้เรียน  

นักเรียนที่ไม่ได้เตรียมพร้อมกับสภาพการเรียนออนไลน์จะมีผลทางลบต่อนักเรียนคนอื่นและผู้สอนในห้องเรียนออนไลน์  ผู้สอนส่วนมากไม่อาจบอกได้ว่าทำไมไฟล์จึงไม่ดาวน์โหลด หรือจะทำอย่างไรในการเข้าถึงการติวออนไลน์หรือการขยายเวล่ในการทดสอบ การเช้าถึงและส่ง้เสริมนั้นจะเป็นเกณฑ์สำคัญกว่า   Lynch (2001) สรุปว่านักเรียนจะปรับตัวเข้ากับคอร์สออนไลน์และเข้าสังคมกับกลุ่มนักเรียนอันจะส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียน ดังที่กล่าวไว้แล้วในเอกสาร นักเรียนที่มีระบบช่วยเหลือเช่น การติวออนไลน์ ที่ปรึกษาออนไลน์ และการเรียนกลุ่มออนไลน์ดูจะประสบความสำเร็จอย่างดีในชั้นเรียน ODL  Bennett et al. (1999) ศึกษาการแยกตัวทางสังคมของนักเรียนแสดงว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือมากแต่ไม่ได้ร้องขอ  Moore and Kearsley (1996) สังเกตว่า งานวิจัยส่วนมากในการเรียนทางไกลเน้นที่ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และอินเตอร์เน็ต

            อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1991 และคอร์สออนไลน์เริ่มเมื่อ 1994 ดังนั้นนักเรียนส่วนใหญ่จึงไม่คุ้นเคยกับการเรียนออนไลน์หรือการใช้อินเตอร์เน็ต จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องฝึกอบรมและส่งเสริมผู้เรียน

ลิขสิทธิ์ และสิทธิทางปัญญา

            ลิขสิทธิ์เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อสถาบันการศึกษา กม.ลิขสิทธิ์มีการชำระขึ้นในปี 1976 หลังจากปรับปรุงไปล่าสุดปี 1909 โดยเป็นกม.ที่ยอมให้เจ้าของลิขสิทธิ์ครอบครองสิ่งที่ตนเองสร้างขึ้นได้ 50 ปี ผู้กุมลิขสิทธิ์จะสามารถสร้างซ้ำได้ในหลายรูปแบบ เพื่อเตรียมงานหรือทำสำเนา ผ่านทางการจัดจำหน่าย ให้เช่า ทำสัญญาเช่าหรือเป็นของขวัญ  หรือมอบเป็นสาธารณสมบัติ

Marcus v. Rowley (1983) ยืนยันว่าการขายลิขสิทธิ์เป็นสิ่งผิดกม. แม้ว่าจะไม่มีการส่งต่อไปยังผู้ขาย กม ลิขสิทธิ์ดูเหมือนจะชัดเจนพอสมควรว่าคนอื่นไม่สามารถทำซ้ำผลงานลิขสิทธิ์ได้ ในระบบของมหาวิทยาลัย การแบ่งปันกันใช้ของลิขสิทธิ์ไม่ต้องมีการขออนุญาตจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในภาคของการศึกษาเพราะไม่สร้างความเสียหายแก่กลไกการตลาด ซึ่งงานต้นฉบับนั้นจะถูกนำมาใช้และไม่ต้องเข้าเกณฑ์ แต่ต้องให้ลิขสิทธิ์แก่เจ้าของ ในส่วนของการปฏิบัติ มีกิจกรรมการสอนบางส่วนในระบบที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาการสอน และถูกส่งผ่านมาเพื่อการยอมรับในชั้นเรียน

เมื่อผู้เขียนได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้สอนเต็มเวลา ในทางกม.นั้น พวกเขาอาจจะมองว่าเป็นการทำงานเพื่อค่าจ้าง และวิทยาลัยเป็นเจ้าของงาน (งานบรรยาย แบบทดสอบ คู่มือ) เป็นเวลา 75 ปีจากวันที่ตีพิมพ์ หรือ 100 ปีจากวันที่สร้าง ซึ่งอาจจะสั้นลง  ผู้สอนในช่วงพาร์ทไทม

หมายเลขบันทึก: 197556เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2008 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท