ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


ศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การประเมินและแก้ปัญหาของทีมท่าเคียน-ควนลัง

กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชนท่าเคียน
พยาบาลได้รับผู้ป่วยจาก ทีมควบคุมไข้เลือดออก CMU ควนลัง ได้รับแจ้งว่ามีเด็กป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อติดตามเยี่ยมบ้าน จึงพบว่าเจ้าของบ้านป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ภรรยาป่วย DM, HT ขาดยาทั้งคู่ จึงประสานมาที่พยาบาลศูนย์ฯท่าเคียนในการเยี่ยมบ้าน
                                                                                                                            ข้อมูลผู้รับบริการและครอบครัว
ชื่อผู้รับบริการ นางจ. อายุ 63 ปี  สัญชาติไทย  ศาสนาพุทธ อาชีพ งานบ้าน                            สิทธิการรักษา บัตรทองมี ท.
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน                                                                                           ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เคยรับยาที่ศูนย์เทศบาล ล่าสุด FBS 130 mg%
การเจ็บป่วยในอดีต ผ่าต้อกระจกตาซ้ายเมื่อ 1 ปีก่อน
GA : cl หญิงไทยสูงอายุรูปร่างอ้วน นั่งอยู่บนเก้าอี้ มองออกไปนอกบ้าน อยู่ใกล้กับเตียงนอนของสามีที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ใส่แว่นกันแดด เดินค่อนข้างช้า
การประเมิน cl โดยใช้เครื่องมือ INHOMESSS
(standing for: Immobility, Nutrition, Housing, Others, Medication, Examination, Safety, Spirituality, Services )
 I: ช่วยเหลือตนเองได้ หุงข้าว ทำกับข้าวเองได้ มักซื้อกับข้างจากรถเข็นที่มาขายหน้าบ้าน
N: กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ มีคนข้างบ้านเอากับข้าวมาให้บ่อย ชอบกินขาหมูต้ม
H: บ้าน2ชั้น อากาศถ่ายเท อยู่ติดถนน ของใช้ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
O: ดูในผังเครือญาติ http://gotoknow.org/file/pcunurse/familytree.pdf

 ผังเครือญาติ

M: กินยาสมุนไพรลูกกลอนเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าจะทำให้หายอ่อนเพลีย แข็งแรงขึ้น เป็นยาแก้ปวดเมื่อย (ส่งตรวจพบ steroid)
E:  V/S  BP 175/96 mmHg    PR  89/min  
     not pale  Both  eye  blur vision
     Heart/Lung  OK
     Extremity  no edemaFound crepitus at both knee    
S (safety): พื้นบ้านไม่เรียบ อาจสะดุดล้มได้
S (service): รับยาจากศูนย์เทศบาล แต่ไม่สม่ำเสมอ เพราะไม่มีคนพาไป บางครั้งให้บุตรไปซื้อยาที่ร้านขายยา
S (spiritual): พยายามอดทน สู้แก้กรรม ที่ดินเคยเป็นสุสานเก่า สวดมนต์ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง นั่งสมาธิแล้วสบายใจ
  เชื่อในเรื่องเวรกรรม คิดว่าที่มีชีวิตแบบนี้เป็นการใช้กรรม
ปัญหาที่พบ
 1. DM     
 2. HT      
 3. Obesity      
 4. Dyslipidemia
 5. depression in elderly    
 6. financial problems
 7. caregiver role        
การช่วยเหลือ
1. ดูแลด้านการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมเบาหวานและความดันโลหิต
   ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และอื่นๆ พบว่าไม่สามารถ  ควบคุมอาหารได้ (มีความรู้และความตระหนักต่ำ + มีภาวะซึมเศร้า)
   - ให้ความรู้เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย
   - สร้างความตระหนัก ใช้การมีส่วนร่วมของ cl
     - นำยาจากศูนย์ท่าเคียน+ควนลังไปให้ผู้ป่วย
2. ดูแลด้านอารมณ์ จิตใจ วิเคราะห์สาเหตุภาวะซึมเศร้า แสดงความเห็นใจ เข้าใจ ให้กำลังใจ ประเมินความคิดทำร้ายตนเอง วางแผนพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว
3. พัฒนาบทบาทการเป็น caregiver สอนการดูแลสามีที่ป่วย การดูแลสวล.รอบตัวผู้ป่วย การดูแลผิวหนัง ปุ่มประดูก การให้อาหาร การสังเกตความผิดปกติ
                                                                                                                            เยี่ยมครั้งที่ 2(17 มีนาคม 2551)
พบว่านายสมบูรณ์ขยับตัวไม่ได้ หายใจมีเสียงครืดคราด จึงโทรประสานให้รถกู้ชีพของเทศบาลนำส่งโรงพยาบาล  ก่อนหน้านี้ญาติให้กินยา HT ไม่สม่ำเสมอ
ติดตามผลแพทย์ให้ Admit  3 วัน และอนุญาตให้กลับไปดูแลต่อที่บ้าน
                                                                                                                            เยี่ยมครั้งที่ 3 (24 มีนาคม 2551)
ปัญหา 1. cl ขาดยา DM,HT และหยุดกินยา fluoxitine
        2. วิตกกังวลเกี่ยวกับสามีที่ต้องเป็นอัมพาต และภาระครอบครัวที่ต้องดูแลเพิ่มขึ้น
การช่วยเหลือ
แนะนำการรับประทานยาต่อเนื่อง
 ชื่นชมให้กำลังใจเรื่องที่ cl สอนการดูแลผู้ป่วยที่นอนอยู่กับที่ควบคุมอาหาร
 ประเมินความคิด suicide                                                                             

เยี่ยมครั้งที่ 4 (31 มีนาคม 2551)
ติดตามประเมินปัญหาเดิม รับประทานยา DM, HT สม่ำเสมอมากขึ้น
ยังคง เครียดกับสภาพของสามีที่เริ่มมีแผลกดทับ,  on NG tube ยังรับอาหารได้ดี    บุตรชายได้ลาออกจากงานมาช่วย ดูแลบิดา     
 เครียดกับอาการป่วยของหลานชาย บ่นว่าลูกสาว(แม่ของเด็กที่ป่วยไข้เลือดออก) ไม่สนใจลูก ไม่ช่วยค่าใช้จ่าย  ไม่ช่วยดูแลพ่อ
การช่วยเหลือ
1.ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ
2. Dressing แผลกดทับ สอนบุตรชายที่ดูแลเกี่ยวกับการทำแผล การพลิกตัว ดูแลปุ่มกระดูก เอาผ้ายางออกเปลี่ยนเป็นเสื่อกระจูด
เน้นการรักษาความสะอาด สนับสนุนอุปกรณ์
3. ตรวจร่างกายหลานชายของ cl  ให้ไปรับยาที่ศูนย์ท่าเคียน (มารดาเด็กไม่อยู่บ้านขณะเยี่ยม)
  

  bedsore

 
เยี่ยมครั้งที่ 5 (14 พฤษภาคม 2551)
ประสานกับแพทย์มาร่วมเยี่ยมผู้ป่วย  
cl ไม่กินยา fluoxitine เนื่องจากไม่คิดว่ายาจะทำให้ตนเองดีขึ้น
    สามีมีแผลกดทับเพิ่ม cl กังวลที่สามีมีอาการแย่ลง คิดว่าเป็นเรื่องเวรกรรม
     ยังมีความคิดกับบุตรสาวในด้านลบ
การช่วยเหลือ
     1. แพทย์ debride แผลให้สามี ให้คำแนะนำ เรื่องการรักษาแผลต่อที่ร.พ.
     2. ให้การปรึกษา
     3. วางแผนร่วมกับ cl เพื่อตรวจ bl for FBS, lipid, BUN/Cr

เยี่ยมครั้งที่ 6 (11 มิถุนายน 2551)
    สีหน้าสดชื่นขึ้น บุตรชายดูแลสามีแทบทั้งหมด สามีเริ่มมีไข้ แผลกดทับเกิดหลายตำแหน่ง สมาชิกครอบครัวยังไม่ตัดสินใจนำสามีไปโรงพยาบาล
เนื่องจาก cl ไม่พร้อมด้านร่างกาย และสมาชิกคนอื่นมีภาระมาก clว่าตนกลัวต้องเฝ้าคนเดียว
การช่วยเหลือ
1. วางแผนประสานทีม HHC สนับสนุนอุปกรณ์เพิ่ม และขอพยาบาล   มาทำแผล ให้การพยาบาลนอกเวลา
2. แพทย์มาตกแต่งแผลให้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง สลับกับพยาบาลจากศูนย์ท่าเคียน มาทำแผลให้
3. ดูแลให้ ATB ต่อ
 
เยี่ยมครั้งที่ 7 (7 ก.ค.51)
สามีเริ่มมีไข้สูง (T 39 องศา P 130/นาที BP 150/105mmHg) แผลกดทับมีเนื้อตายเพิ่มขึ้น cl ยังยืนยันไม่นำสามีไปโรงพยาบาล และคิดว่าแผลจะดีขึ้นเพราะได้ยา

intrasite gel สำหรับใส่แผล โดยเพื่อนเอามาให้จากรพ.มอ.
การช่วยเหลือ
  1. ให้ข้อมูลภาวะวิกฤติของสามี ให้การปรึกษา เพื่อเตรียมรับภาวะที่อาจสูญเสียสมาชิกในครอบครัว clรับได้

เยี่ยมครั้งที่ 8 (21 ก.ค. 51)
อยู่บ้านคนเดียว บุตรไปทำงาน หลังจากสามีเสียชีวิตที่บ้านเมื่อ11 ก.ค.51
จัดงานศพที่วัดท่าเคียน  clหน้าตาดูสดชื่นขึ้น ไม่อิดโรย ไม่อ่อนเพลีย ไม่บ่นเรื่องลูก สวมชุดสีขาวบอกว่า"ลุงไปสบายแล้ว ป้าได้ปฏิบัติธรรม "
 และเดินจงกรมให้พยาบาลทีมเยี่ยมบ้านดู

ทีมเยี่ยมบ้านPCUท่าเคียนประกอบด้วย

1คุณบุหงา  บำรุงชาติ       2.คุณวรวรรณ  ตุลยสุข                                                                3.คุณณัชชา  มณีผ่อง      4.คุณชุติมา  วรรโณ                                                                    5.พญ.อรุณี  ทิพย์วงค์

                                               

หมายเลขบันทึก: 197292เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากครับ

ทำให้รู้บทบาทหน้าที่อีกมิติหนึ่งของพยาบาลวิชาชีพ

ในวิชาชีพทางสาธารณสุข Health care sysytemแบ่งหน้าที่กันทำ

  1. Medical care
  2. Nurse care
  3. Pharmaceutical care

ขอชื่นชมในการเอาใจใส่ของทีมงานมากนะครับ

แต่ว่าการปฏิบัติงานถ้าได้รับความร่วมมือทั้งวิชาชีพทั้งสาม น่าจะให้ประโยชน์สูงสุดต่อคนไข้นะครับ

Nurse Care นั้นผมขอยกย่องว่าทีมงานพยาบาลทำได้ดีที่สุดแล้วนะครับ

ดูแล้วยังขาด Pharmaceutical care นะครับ

ด้วยความปรารถนาดีครับ

 

ขอบคุณอ.สุวัฒน์ กอไพศาล มากคะที่กรุณาให้ข้อคิดเห็น ปัจจุบันเรามีเภสัชกรอยู่น้อยและส่วนใหญ่ทำงานในรพ.หรือสถานบริการ มีส่วนน้อยที่จะมีเวลาให้กับการดูแลสุขภาพที่บ้านเราจึงใช้วิธีว่าเมื่อมีปัญหาทางยาเราจะเอากลับมาหารือได้ข้อสรุปแล้วก็นำไปปฏิบัติคะแต่ก็หวังว่าในอนาคตผู้บริหารจะเห็นความสำคัญและสนับสนุนเภสัชกรให้มาออกเยี่ยมบ้านกันได้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท