เข้าพรรษา ๕๑ ร่วมบวชใจ


ฉันกินเหล้ามากว่า ๒๐ ปี กินถึงขนาดว่าต้องเข้าโรงหมอ ก็เคยมาแล้ว แต่พอมีโอกาสได้เข้ามาร่วมงานกับทางสาธารณสุขและได้รับเลือกเป็นผู้นำ มันต้องเลิกเองโดยอัตโนมัติ เลิกด้วยใจ เพราะผู้นำต้องเป็นตัวอย่าง

 ชุมชนคนบวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา

เข้าพรรษา ๕๑ ร่วมบวชใจ

๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ผมได้รับโทรศัพท์จากป้าอ้อย(สุภาวดี บุญญารักษ์) บอกว่าวันพรุ่ง จะชวนมาร่วมงานงดเหล้า เข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง ยังไม่ทันสิ้นเสียงผมก็ตอบตกลงโดยพลัน ป้าอ้อยบอกทิ้งท้ายไว้ว่า พรุ่งนี้ เจอกันที่วัดเสนาสนารามนะ ตอนประมาณ ๙ โมงเช้า ผมมาถึงก่อนเวลานัดเล็กน้อย ทำให้พอมีเวลา ที่จะเดินเก็บภาพบรรยากาศ ภายในวัดนิดหน่อย

 

 

วัดเสนาสนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร    วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนาวัดเสนาสนาราม เมื่อ พ.ศ. 2406 เดิมชื่อ "วัดเสื่อ" สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา

   ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้ตลาดหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

   "วัดเสื่อ" ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรียุธยา จดในพระราชหัตถเลขาว่า ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระมหารอุปราช โปรดฯ ให้สร้างวังขึ้นเป็นที่ประทับในกรุงศรีอยุธยา คือ วังจันทรเกษม อาณาเขตทางด้านทิศใต้ของวังจันทรเกษมนี้ติดกับวัดเสื่อ

   ต่อมาในรัชสมัย ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ขยายอานาเขต ของวังจันทรเกษมนี้ออกไป และรวมเอาวัดเสื่อ อยู่ในเขตวังจันทรเกษมด้วย จนกระทั่งเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 วัดเสื่อ จึงได้ร้างไป เมื่อ พ.ศ. 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) เป็นแม่กองอำนวยการปฏิสังขรณ์ เพิ่มเติมพร้อมพระราชทานชื่อใหม่ว่า "วัดเสนาสนาราม" และโปรดฯ ให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร 2 หลัง หมู่พระเจดีย์ และกุฎิสงฆ์ นับเป็นวัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกายแห่งแรกในภูมิภาค

จนกระทั่งถึงสมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรฌาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้รับสั่งให้วัดเสนาสนาราม เป็นวัดที่ทำพิธีแปลงนิกายจากมหานิกายเป็นธรรมยุตินิกาย โดยให้ทำพิธีสวดญัตติที่วัดเสนาสนารามแห่งนี้

ปัจจุบันวัดเสนาสนารามเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ธรรมยุต)

http://www.dhammathai.org/watthai/central/watsenasanaram.php

ผมว่าแปลกนะ ทำไมทุกครั้งที่ผมได้เข้าอยู่ในบริเวณวัดแล้วทำให้เรารู้สึกเย็น ยังไงไม่รู้ซิ เย็นทั้งกาย ทั้งใจ ยิ่งได้เดินผ่านใต้ร่มไม้ ความรู้สึกยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ บางทีถ้าเราร้อนหรือเหนื่อยมากๆ แวะมาวัดสักหน่อยก็น่าจะดี

 

เริ่มแล้วจากจุดเล็กๆ ผมเชื่อว่ากลุ่มพลังเหล่านี้แหละที่จะสร้างความยิ่งใหญ่ในอนาคต สิ่งใดก็ตามที่กำเนิดเกิดขึ้นมาจากการจุดโดย ชุมชน ยากยิ่งนักที่จะดับลงไปได้

ผมได้พูดคุยกับอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลหัวรอ (ป้าเพลินตา คงรอด)  ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเลิกเหล้า ป้าแกบอกว่า...

ฉันกินเหล้ามากว่า ๒๐ ปี กินถึงขนาดว่าต้องเข้าโรงหมอ ก็เคยมาแล้ว แต่พอมีโอกาสได้เข้ามาร่วมงานกับทางสาธารณสุขและได้รับเลือกเป็นผู้นำ มันต้องเลิกเองโดยอัตโนมัติ เลิกด้วยใจ เพราะผู้นำต้องเป็นตัวอย่าง

                ป้าแกยังแอบกระซิบมาว่า วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ภูมิใจ เพราะได้ชวนเด็กหนุ่มรุ่นลูกที่ติดเหล้าติดบุหรี่งอมแงม ทั้งดูดทั้งดื่มมา ๑๐ กว่าปี จะชวนให้เลิกเหล้า เด็กคนนั้นก็รับปาก ...

ฉันชวนให้เขาเลิกดื่ม บอกกับเขาว่าเลิกเถอะนะลูกนะ มันก็ตกปากรับคำ แต่ก็ยังมีข้อแม้ว่าบุหรี่ขอไว้ก่อนนะ และถ้าผมต้องเข้าโรงพยาบาล ป้าช่วยดูแลผมด้วย เพราะผมหักดิบ ก็กลัวอยู่เหมือนกัน

                ผมเองก็แอบภูมิใจในตัวป้าแกเหมือนกัน          

หมายเลขบันทึก: 196274เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2008 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • พระไตรปิฎกที่มีอุปมากล่าวถึงเรื่องจิต มีปรากฏอยู่มากมาย เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาโลกุตตระ(เหนือโลกีย์)เน้นเรื่องจิตเป็นพิเศษ ดังที่ปรากฎในพระสุตตันตปิฎกที่ ๑๑(เล่มที่๒๐) อังคุตรนิกาย เอกนิกนิบาต ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า

  • (๔๖) ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดกระเบื้องถ้วยบ้าง  ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น       ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้จักประโยชน์ตนบ้าง จักรู้จักประโยชน์ผู้อื่นบ้าง   จักรุ้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ดวยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี่มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัวฯ

  • (๔๗)ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋วไม่ขุ่น บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง  ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้างในห้วงน้ำนั้น   ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด  ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน รุ้จักประโยชน์ตนบ้าง รู้จักประโยชน์ผู้อื่นบ้าง รู้จักประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คืออุตริมนุสธรรม คือความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว

  • (๔๘) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติที่อ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต  ดูกรภิกษุทั้งหลายจิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงานฉันนั้นเหมือนกันฯ

  • จิตที่ควรแก่การงาน คือจิตที่ผ่านการอบรมแล้ว นั้นก็แปลว่า งานอบรมจิต เป็นพื้นฐานของการสร้างงานใดๆทั้งหมดทั้งมวล เพราะถ้าจิตมีคุณภาพ งานก็มีคุณภาพ ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ งานก็ไม่มีคุณภาพ ถ้าต้องการให้งานมีคุณภาพก็ต้องหมั่นฝึกจิตให้มีคุณภาพ..

ผมคิดว่าเราใช้ Gotoknow เป็นแหล่งอ้างอิงผลงานที่เราทำได้ โดยสะท้อนออกมาเป็นเรื่องเล่า ที่อ่านสนุก เข้าใจ เห็นกระบวนการครับ

อยากให้เครือข่ายปลายปากกาเขียนกันทุกคน ไพศาลช่วยกระตุ้นเพื่อนๆหน่อยครับ

ผมคาดหวังอยากเห็น เรื่องราวดีๆ นำมาเเลกเปลี่ยนกันในพื้นที่แห่งนี้

และเสียงของพวกเราก็จะดังขึ้นครับ

 

อ่านรายละเอียดจากตรงนี้ครับ  P HCI and KM » ใช้บล็อกและคำสำคัญเพื่อจัดการ Paper references

ขอบคุณครับ

tukkatummo นมัสการครับ(ผมใช้ศพท์ถูกป่าวไม่รู้) อภัยด้วยนะครับหากใช้ผิด

ขอบคุณสำหรับการเติมเต็ม

สวัสดีเพื่อนเอก

เราเองก็พยายามทั้งหัด ทั้งฝึก ทั้งลองเขียนดูอ่ะนะ แต่ลูกเล่นและรายละเอียดอาจจะยังน้อยอยู่ แต่ก็จะพยายาม สำหรับเพื่อนๆ เครือข่ายจะกระแทกให้นะ กระตุ้นคงไม่พอ

พวกนี้ชอบบอกว่างานยุ่ง ไม่มีเวลา อิอิ

บอกตรงๆ ว่าเราอ่านเรื่องที่เพื่อนเขียนเกือบทุกเรื่อง อ่านแล้วเพลินดีอ่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท