กลุ่มการเรียนรู้ R2R


การก้าวเดิน...การพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการวิจัย ของโรงพยาบาลยโสธร ตั้งแต่รุ่นแรกคาบเกี่ยวระหว่างปี 2549 -2550 นั้น ได้เรียนรู้การแบ่งกลุ่มการทำวิจัย R2R จากทั้งหมด 4 ทีม มีงานวิจัยที่สำเร็จ 2 ทีม...

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • งานวิจัยกลุ่มใหญ่เกินไป
  • อุปสรรคเรื่องของเวลาของทีม
  • ต้องอาศัยความอดทน ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า สำหรับทีมที่ทำสำเร็จ

สิ่งที่ได้เรียนรู้นี้...นำมาปรับ พัฒนาในรุ่นที่ 2

  • ปรับกลุ่มเล็กลง
  • พบปะกันมากขึ้น เดือนละครั้ง
  • เติมสาระในเรื่องระเบียบวิธีวิจัยแบบง่ายๆ

ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างกลุ่มเก่าใกล้จะเสร็จสิ้นงานวิจัย กลุ่มใหม่ที่ต้องเตรียมความพร้อม... ข้าพเจ้าดำเนินตามฐานแนวคิดเรื่อง Zone of Proximal หรือแนวคิดในเรื่องการแบ่งโซนของผู้เรียน และเติมเต็มในเรื่องฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) เข้าไปให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละโซน ดังนี้

โดยเพิ่มสาระการเรียนรู้...เรื่อง ระเบียบวิธีการวิจัยเข้าไป ข้าพเจ้าจะเน้นสอนแบบง่ายๆ ไปสู่ความลึกซึ้ง สำหรับในรุ่นใหม่ คือรุ่นที่สามนี้ ได้ปรับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ใหม่เล็กน้อย...ตามแผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานประจำ ซึ่งแบ่งเป็นสามส่วน

  • ส่วนแรก นั้นเรียนรู้ เพื่อให้คนทำงานมองและวิเคราะห์ปัญหาหน้างานของตนเองให้ออกเพื่อนำไปสู่ความเชื่อมโยงของการออกแบบการวิจัยที่จะมาตอบโจทย์ปัญหาหน้างานของตนเองให้ออก
  • ส่วนที่สอง นั้นเรียนรู้เพื่อ... นำไปสู่การออกแบบเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบโจทย์วิจัย
  • ส่วนที่สาม คือการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้มา และการเขียนรายงานการวิจัย

เมื่อนักวิจัย...มองเห็นหรือมองปัญหาหน้างานของตนเองออก... รูปแบบการวิจัยจะออกแบบให้สอดคล้องว่าจะดำเนินเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ ... หรือทั้งสองแบบผสมสานกัน และจัดฐานการช่วยเหลือ ให้คนทำงานได้เติมเต็มในสาระทางทฤษฎีการวิจัย

__________________________________________________________________________________

Note: ข้าพเจ้าหวังว่าในเวลาที่เหลืออีกสี่ปีของการทำงานใช้ทุนที่เป็นความผูกพันกันนี้กับโรงพยาบาลยโสธร ข้าพเจ้าจะได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ๆ น้องๆชาวยโสธรได้อย่างมากเต็มสุดกำลังความสามารถที่มีอยู่ ...

........................................

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 195892เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ Dr.Ka-Poom

  • พึ่งรู้จักศัพท์ R2R จาก G2K นี่เองครับ สนใจที่นำไปใช้พัฒนาองค์กร จึงขออนุญาต ลปรร ดังนี้ครับ
  • จากแผนภูมิ ส่วนที่แตกออกจากสอนวิจัย ถ้าใส่ วิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) เพิ่มเข้าไปด้วยจะดีไหมครับ หรือว่า R2R เป็น Action Research อยู่แล้วครับ (Action Research ผมก็พึ่งทำความเข้าใจเหมือนกันครับ)
  • จริง ๆ แล้วอยากมารบกวนให้ Dr.Ka-Poom ไปช่วยให้คำแนะนำในกระทู้  พลังจิต : สงสัยผมจะหลงทาง  (ถ้ามีเวลานะครับ)
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณ เด็กข้างบ้าน

....................

ขอบพระคุณมากเลยนะคะสำหรับข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์และเป็นคุณค่านี้...

  • ในส่วนสาระเนื้อหาทางระเบียบวิธีวิจัยที่กะปุ๋มนำมาเติมเต็มให้กับคนหน้างาน R2R โรงพยาบาลยโสธรนี้ เป็นการตอบสนองต่อบริบทของผู้เรียน และเพื่อตอบโจทย์ปัญหาหน้างาน...
  • หากว่ามีแนวทางที่ต่างออกไปจากที่วางไว้ กะปุ๋มก็จะ set เนื้อหาเพิ่มเติม... จะไม่สอนแบบเหวี่ยงแห แต่จะสอนตามลักษณะการใช้งาน ... เพราะคนทำงานไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ได้ทั้งหมด เพราะภาระหลักคือ การทำงาน แต่การทำวิจัยนี้เพิ่มเข้ามา... ก็เลยเอาแบบตรงจุดและตอบสนองต่อความต้องการเขาโดยตรงเลยค่ะ
  • ในรุ่นแรก...เราใช้ Action Research ค่ะ... ก็ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทค่ะ

(^____^)

ขอบพระคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • สนใจ R2R แต่ยังไม่มีโอกาสได้ทำค่ะ
  • กำลังศึกษาข้อมูลค่ะ ขาดคนชี้แนะค่ะ ตอนจัดประชุมที่มิราเคิล ก็สมัครไม่ทัน เสียดายค่ะ อดพบอาจารย์กระปุ้มเลย แต่ก็ติดตามอ่านบทความตลอดค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดี อีกครั้งครับ

  • ในส่วนของ การวิจัยเชิงคุณภาพ ถ้าต้องใช้วิทยากรข้างนอกและยังไม่ได้เลือกใครไว้ ผมขอแนะนำท่าน รศ.ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง ครับ (ผมเป็นลูกศิษย์ท่าน)
  • ขอถอดบทเรียนจากคำสอนของท่านบางตอนประมาณนี้ครับ
    ...การวิจัยเชิงคุณภาพ เชื่อว่า ความจริงไม่ได้มีหนึ่งเดียว ความจริงมีหลากหลาย ตามแว่นทีใส่ของแต่ละคน เหมาะที่จะมาใช้แก้ปัญหาที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่มีมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกันไป ผลวิจัยจากพื้นที่นี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับพื้นที่อื่นแต่ ตัวตนและมุมมองของผู้วิจัยสำคัญยิ่งต่อผลวิจัย ประมาณนั้นครับ... ผิดตกไม่ถูกต้องอย่างไรอย่าทวงเกรดคืนนะครับ

เคยไปฟังในการสัมนางานเรื่อง R2R ค่ะรู้สึกว่าดีมากค่ะ ตอนนี้กำลังศึกษา ป.โท ที่ม.ศิลปากร และสนใจในการทำวิจัยเชิงคุณภาพทางอาจารย์ได้เชิญอาจารย์ลือชัยมาสอน เริ่มเรียนได้ 1ครั้งมีความรู้สึกว่า การทำวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการหาคำตอบที่เกี่ยวกับมนุษย์จริงๆ เพราะความคิดของมนุษย์นั้นมีหลากหลาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท