เบื้องต้นวิทยานิพนธ์


การเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด วิชา หลักการศึกษาและวิชาชีพครู 3(3-0-6) อาจารย์ขอบฟ้า จันทร์เจริญ

บทที่ 2

ปรัชญาการศึกษา

Philosophy มาจากคำว่า Philos + Sophia Philos แปลว่ารัก หรือความรัก Love

Sophia แปลว่า ความฉลาด ความรู้ การเรียนรู้ Wisdom

ดังนั้น Philosophy จึงหมายความถึง ความรักในการที่จะเรียนรู้

ปรัชญา มาจากภาษาสันสกฤต ชญา + ปร หมายความว่าความปราดเปรื่องหรือความรอบรู้

ความหมายตามการใช้

ปรัชญาหมายถึงแนวความคิด คติ ความเชื่อ ข้อคิด ซึ่งมักจะพบได้ในรูปของสำนวนโวหารที่มีคารมคมคาย

_ Carter V.Good ได้ให้ความหมายไว้ว่า ปรัชญาคือศาสตร์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหมวดหมู่ของ

ความรู้เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายข้อเท็จจริงต่างๆ ให้เข้าใจ

_ จำนง ทองประเสริฐ - ความคิดเห็นที่ยังพิสูจน์หรือยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอน แต่ถ้า

ทำการพิสูจน์แล้วจะเรียกว่า "ศาสตร์"

สรุป ปรัชญาคือวิธีการค้นหาความจริงของสิ่งทั้งหลาย โดยอาศัยความรู้จากศาสตร์ต่างๆมาประกอบกันใน

การคิด พิจารณาและวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ลึกซึ้ง

Wisdom ความฉลาด Cosmology - จักรวาลนิยม

Ontology – ภาวะวิทยา Metaphysic - การค้นหาความจริงสูงสุด (อภิปรัชญา)

การศึกษา Education มาจากคำว่า Educare การอบรมสั่งสอนให้เกิดความเจริญงอกงาม

Educere การชักนำให้คนรู้จักตระหนักในคุณสมบัติที่มีอยู่ในตน

Education = สิกขา (การเห็นซึ่งตนเอง เห็นประโยชน์แก่ตนเอง) = การพัฒนามนุษย์ โดยส่งเสริมให้มี

ความเจริญงอกงามอย่างมีอิสระ

John Dewey "ความเจริญงอกงามของชีวิต เป็นความเจริญงอกงามอย่างต่อเนื่องไร้จุดจบ

A S neil "การเตรียมตัวเพื่อชีวิต"

พระราชวรมุณี "ความพยายามแสวงหาจุดมุ่งหมายให้แก่ชีวิต หรือความเป็นอยู่อย่างดีที่สุด โดยมีทั้ง

อิสระภาพภายในและภายนอก

อิสระภาพภายใน คือ การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

อิสระภาพภายนอก คือ การหลุดพ้นจากการครอบงำของสิ่งแวดล้อมหรือเป็นการที่มนุษย์ได้มีการพัฒนา

และถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากรุ่นหนึ่ง ไปสู่อีรุ่นหนึ่ง ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

บทบาทของการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม

เกี่ยวข้องกับมนุษย์

1. การศึกษาเข้ามามีบทบาทต่อธรรมชาติ ความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์

2. การศึกษาเป็นการเพิ่มคุณค่า Values ให้ชีวิตมนุษย์

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด วิชา 11011106การศึกษาและความเป็นครูไทย 3(3-0) อาจารย์ขอบฟ้า จันทร์เจริญ 2

เกี่ยวข้องกับสังคม

1. ศึกษากระบวนการทางสังคม สั่งสอนอบรมให้สมาชิกได้เรียนรู้วิถีชีวิต การดำเนินชีวิต การสืบทอด

ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของ สังคมนั้นๆ

2. สร้างความยอมรับพื้นฐาน เพื่อพัฒนาสังคมให้เกิดความรู้ + ทักษะ (ในการประกอบอาชีพ)

ลัทธิปรัชญาการศึกษา

มีความแตกต่างกันไปตาม แนวความคิดและความเชื่อ

(ความต้องการ,ความจำเป็น,วัฒนธรรม,ประเพณี,วิถีชีวิต ฯลฯ ทำให้แตกต่าง)

1. ยึดปรัชญาทั่วไปเป็นพื้นฐาน

- พุทธปรัชญานิยม - สารัตถนิยม - นิรันตรนิยม

- พิพัฒนาการนิยม - ปฏิรูปนิยม - อัตติภาวะนิยม

ปรัชญาตะวันตก

ธาเลส Thales 624-550 B.C เป็นบิดาแห่งปรัชญาตะวันตก "ธาตุแท้ของทุกสิ่งเป็นน้ำ" เกิดจากน้ำดับแล้ว

กลายเป็นน้ำ โลกเป็นแผ่น กลมลอยอยู่บนน้ำ (คิดปฐมธาตุครั้งแรกของโลกคือน้ำ) จึงได้เป็นบิดาแห่ง

ปรัชญาตะวันตก อแนกซิแมนเดอร์ Anaximander 611-547 B.C เป็นลูกศิษย์ของธาเลส เป็นคนแรกที่

เขียนแผนที่โลกและตำราทางปรัชญา ค้นพบเกี่ยวกับสสารอนันต์ (ร้อน-เย็น) ต่อมาพัฒนาเป็นการทดลอง

ทางวิทยาศาสตร์ สสารเย็น รวมตัวกลายเป็นโลก / สสารร้อน กลายเป็นไฟล้อมรอบโลก ดวงอาทิตย์ ดวง

จันทร์และดาวอื่นๆ อแนกซิมินีส Anaximenenes 588-524 B.Cค้นพบปฐมธาตุของสรรพสิ่ง (อากาศ)

ฟาร์มินิดีส Parmenides 514-459 B.C ทุกสรรพสิ่งคือความเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่และดับไป ต่อมาเป็นสสาร

นิยมและวัตถุนิยม พยายามค้นหาสิ่งที่เป็นนิรันดร์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางอนิจจัง "สัต" = Being,

"อสัต" = Not-Being สิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดก็คือ "สัต" สิ่งที่ไม่จริงก็คือ "อสัต"

เซโน Zeno 489-430 B.C มีเหตุผลในการสนับสนุนฟาร์มินิดิส เริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่จิตนิยม "โลกแห่ง

ปรากฏแห่งเราเป็นมายาหลอกลวงและเป็นสิ่งไม่จริง" 1. สสารนิยม 2. จิตนิยม 3.ธรรมชาตินิยม

เอมพีโดคลีส Empedocles 495-435 B.C ดินน้ำลมไฟ

** สำนักอะตอมิสต์ ลิวคิปปุส Leucippus**

เดโมคริตุส - อะตอมเป็นหน่วยเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด วิชา 11011106การศึกษาและความเป็นครูไทย 3(3-0) อาจารย์ขอบฟ้า จันทร์เจริญ 3

การรวมตัวของอะตอมทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่คนเราเคลื่อนไหวได้เพราะอะตอมเกิดการเคลื่อนที่

อะตอมเป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม และไม่ถูกทำลายแต่เกิดการเปลี่ยนรูปร่าง

** สำนักโซฟิสต์ **

ในสมัยที่กรีกเรืองอำนาจ ได้เชลยมาเป็นทาส (พวกโซฟิสต์เป็นทาสที่มีความรู้ ส่วนมากประกอบอาชีพครู)

ต้นกำเนิดอาชีพครู-พร้อมค่าตอบแทน พวกโซฟิสต์ถูกดูถูกเหยียมหยามเพราะเก็บเงินค่าสอนศาสตร์

ก่อเกิดเป็นอาชีพครู พวกโซฟิสต์ไม่รักในกรีกเพราะตนเป็นทาส จึงไม่สอนให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อกรีกอย่าง

แท้จริง กรีกจึงอ่อนแอและล่มสลายเพราะ โรมันมายึดครอง (คนเอาแต่เพ้อฝัน) พวกโซฟิสต์เห็นว่า เรื่องที่

ควรศึกษาคือเรื่อง จิตและกระบวนการการรับรู้ของจิตซึ่งขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละคน คือ ความรู้เป็น

เรื่องเฉพาะตัว ต่อมาเป็นแนวทางในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน ที่เห็นถึงความแตกต่างในแต่ละ

บุคคลสิ่งใดก็ตามที่เห็นว่าดี เป็นสิ่งที่ถูกต้อง มันดีสำหรับเรา คนอื่นไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย เพราะฉะนั้น

"ความจริงที่เป็นปรนัยจึงไม่มี มีแต่ความจริงที่เป็นอัตนัย" คือความจริงนั้นๆ ขึ้นอยู่กับตัวเรา

**โปรทากอรัส Protagoras 480-410 B.C**

ไม่มีความจริงชนิดใดที่เป็นอิสระจากจิต (ถือเป็นพวกโซฟิสต์) คือไม่มีความจริงแบบปรนัย มีแต่ความจริง

ของอัตนัยเท่านั้น ไม่มาตราฐานแน่นอนตายตัวที่จะตัดสินความจริง เพราะความจริงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ

ของบุคคล จิตนิยม เน้นเรื่องจิตเป็นใหญ่ เช่น ผมคิดว่าอากาศในห้องนี้ร้อน

วัตถุนิยม เน้นเรื่องวัตถุ เช่น ผมคิดว่ากระดาษนี่สีขาว (เห็นด้วยตา)

ภายหลังคำสอนของพวกโซฟิสต์พัฒนามาเป็นจริยธรรม

**โสคราตีส Socrates 469-B.C -339B.C ใช้หลักการสอนแบบถาม-ตอบ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้

ก่อเกิดเป็นหลักจริยศาสตร์ มีพื้นฐานมาจากญาณวิทยา (แหล่งที่มาของความรู้) "คุณธรรมคือความรู้"

"คุณธรรมคือความรู้" - คนเราต้องมีความรู้เสียก่อนว่าสิ่งใดดี จึงสามารถทำสิ่งนั้นได้ การปฏิบัติทาง

จริยธรรมจึงขึ้นอยู่กับความรู้ คนมีความรู้ย่อมไม่ทำผิด คุณธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด

ต่อมา เลเน เดการ์ต กล่าวว่า "มนุษย์มีความคิดติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับมาจากพระเจ้า"

ปรัชญาแนวนี้มีการเน้นเรื่องความกล้าหาญ การควบคุมตนเอง ความยุติธรรม ความเสมอภาคกัน

ไม่กีดขวางความสามารถของคนอื่น ซึ่งมักไม่ค

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 195040เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท