มาแล้วค่ะ บันทึกนี้ ถึงตัวอย่างการตอบข้อสอบสักที อิอิ


ตัวอย่างการตอบข้อสอบวิชากฎหมาย

                 มาแล้วค่ะวันนี้ ตามที่บอกไว้ในบันทึกก่อนว่าจะมาเขียน ตัวอย่างไว้ เรียนแต่ทฤษฎีก็ใช่ว่าจะเข้าใจได้หมดนะค่ะ ต้องมีตัวอย่างกันด้วย เผื่อจะได้ปรับใช้ในชีวิตจริงกันมั่ง อิอิ จากบันทึกก่อนๆได้บันทึกทบทวนเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมายเอาไว้หลายมาตราเลยทีเดียวค่ะ วันศุกร์หน้านี้ก้จะสอบแล้วค่ะ ตอนนี้ก็กำลังเร่งจำให้ได้ครบตามที่อาจารย์สอนมาทุกมาตรา อย่างว่านะค่ะ จำอย่างเดียวเดี๋ยวก็ลืม มันต้องมีหัดเขียน และทบทวนบ่อยๆถึงจะจำกันได้...อิอิ

               ที่เขียนเป็นบันทึกบันทึกก็เพราะว่า ช่วงนี้ใช้เน็ตบ่อยเหลือเกิน อิอิ เข้ามาอ่านบันทึกของหลายๆท่าน ก็จะได้ทบทวนเรื่องของตัวเองไปด้วยอ่ะค่ะ....งั้นก็ไม่รอช้าแล้ว..ดูตัวอย่างการตอบข้อสอบทางกฎหมายมั่งดีกว่าว่าเป็นอย่างไร...อาจจะไม่ยุ่งยากเหมือนคนที่เรียนนิติ แต่ก็อย่าให้ถึงขนาดนั้นเลยค่ะ แค่นี้ก็ยากแล้วละ อิอิ..

โจทย์ตัวอย่าง

              นายมืด คนกิกลจริตซื้อรถยนต์เก่าจาก นายมอด ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย นายมืด มีอาการปกติ แต่นายมอด รู้มาก่อนว่า นายมืด เป็นคนวิกลจริต นิติกรรมในกรณีดังกล่าวนี้มีผลทางกฎหมายอย่างไร

              ต่อมานายมืด ได้ยกรถยนต์คันที่ซื้อมาให้กับ นางสาวเกียม คนรัก ในขณะที่ยกรถคันนี้ให้คนรัก นายมืด มีอาการวิกลจริต แต่ นางสาวเกียม ไม่เคยรู้มาก่อนว่า คนรักเป็นคนวิกลจริต ดังกล่าวนี้ นิติกรรมการยกรถยนต์ให้ มีผลทางกฎหมายอย่างไร

คำตอบ

1. หลักกฎหมาย

             กรณีตามปัญหาในข้อนี้ เป็นเร่องคนวิกลจริตทำนิติกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือว่าคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้ป็นบุคลไร้ความสามารถ สามารถทำนิติกรรมใดๆก้ได้ย่อมมีผลสมบูรณืตามกฎหมาย เพราะตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต้องถือเป้นคนธรรมดามีความสามารถบริบูรณ์ แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่า คนวิกลจริตอาจทำนิติกรรมแล้วเป็น โมฆียะก็เฉพาะแต่กรณี มาตรา30 กล่าวคือ "มาตรา30 การใดๆอันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นวิกลจริตอยุ่และอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต"

             หลักกำหมายดังกล่าว พิเคราะห์ได้ว่านิติกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำจะเป็นโมฆียะก้ต่อเมื่อ

            1.คนวิกลจริตทำนิติกรรมในขณะที่มีอาการวิกลจริต และ

            2.คู่กรณีที่เข้ามาทำนิติกรรมด้วยต้องรู้ในขณะทำนิติกรรมว่าคู่สัญญาของตนทำนิติกรรมในขณะมีอาการวิกลจริต

2 วินิจฉัย

           จากหลักกฎหมายข้างต้นสามารถวินิจฉัยได้ว่า

           กรณีแรก การที่นายมืด คนวิกลจริตทำนิติกรรมซื้อรถยนต์เก่าจากนายมอด ในขณะทำสัญญาซื้อขายแม้จะเป้นคนวิกลจริตแต่ในขณะนั้นมีอาการปกติ ดังนั้นแม้คู่กรณีจะรู้ว่าคู่สัญญาของตนเป็นคนวิกลจริตก้ตามก้หาทำให้นิติกรรมดังกล่าวมีผลเป็นโมฆียะแต่ประการใดไม่ เพราะในขณะทำนิติกรรมไม่มีอาการวิกลจริต

           ประการต่อมา คำถามในประเด็นต่อมาที่ว่าหลังจากนายมืด คนวิกลจริตซื้อรถยนต์แล้ว ได้ยกรถยนต์คันดังกล่าวให้คนรักในขณะที่มีอาการวิกลจริต แต่ในเมื่อคนรักไม่รู้ว่าในขณะที่ยกรถยนต์ให้นั้น นายมืด มีอาการวิกลจริต เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้เพียงฝ่ายเดียวย่อมไม่ต้องด้วยหลักกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ การยกรถยนต์ให้แก่คนรักของนายมืด ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเช่นกัน

3.สรุป

        การทำนิติกรรมซื้อรถยนต์เก่าของนายมืด จากนายมอด มีผลสมบูรณืตามกฎหมายและการยกรถยนต์ให้แก่คนรักของนายมืด ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเช่นกัน

       เหอะๆ เอาละค่ะ นี่ก็เสร็จไปแล้วหนึ่งข้อ อ่านโจทย์ตอนแรกเหมือนจะง่ายๆนะ แต่ก็ดูวกวนไปมานิดหน่อย สงสัยจะมาติดๆขัดๆก็อยุ่ตรงที่ การตอบโดยใช้สำนวนกฎหมายนี่ละมั่งค่ะ อิอิ...พยายามเต็มที่ค่ะงานนี้สู้ๆๆ...

หมายเลขบันทึก: 194751เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2008 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท