การประกันคุณภาพของโรงเรียน


การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการสร้างมั่นใจ...

การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

1.เนื้อหาที่น่าสนใจ   การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอย่างไร

2. สาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป 

                โรงเรียนที่มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นโรงเรียนที่มุ่งมั่นในการสร้างระบบคุณภาพให้ด้านผลผลิต(ผู้เรียน) เป็นไปตามความต้องการของผู้รับบริการ หรือ ลูกค้า  ซึ่งเป็นการรับประกันการดำเนินการจัดการการศึกษา สร้างความมั่นใจว่า ผลผลิตที่ผลิตออกมาแล้วมีคุณภาพตามที่กำหนดตรงตามความต้องการ

                โดยมีแนวคิด    การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของจัดการศึกษา โรงเรียนจะต้องแสดงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability)  ต่อนักเรียนและผู้ปกครองนั่นคือ ผลผลิต (นักเรียน) ตอบสนองลูกค้าเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

                คุณภาพที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญคือ คุณภาพของผลผลิต (นักเรียน)  

                การจะได้มาซึ่ง คุณภาพของผลผลิตนั้น   ต้องมาการคุณภาพของกระบวนการ และคุณภาพของบุคลากร กระบวนการที่มีคุณภาพและคนที่มีคุณภาพเท่านั้นจึงจะสร้างคุณภาพผลลิตที่มีคุณภาพได้

                แนวการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จำแนกได้  2 ระดับ

1.       ระดับ Accountability  หมายถึง โรงเรียนมีระบบการบริหารคุณภาพ ที่สร้างความมั่นใจ พึงพอใจต่อผู้ปกครอง ชุมชน ลูกค้าว่าผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

2.       ระดับ Accreditation หมายถึง โรงเรียนมีระบบการบริหารคุณภาพ (Qualitiy Management )  สร้างความมั่นใจ พึงพอใจต่อลูกค้า

บทบาทของโรงเรียน

                โรงเรียนจะต้องดำเนินการตามภาระงาน ดังนี้

การควบคุมคุณภาพ การศึกษา (Quality Control )  มีการกำหนดมาตรฐาน การจัดทำข้อมูล  การพัฒนา

มาตรฐานการศึกษา   วางแผนการดำเนินการ ดำเนินการ  ประเมินตนเอง 

การตรวจสอบคุณภาพ หรือการทบทวนคุณภาพใน (Imternal Audit or Internal Shool Review )

โรงเรียนต้องดำเนินการทบทวนคุณภาพภายในด้านคุณภาพโรงเรียนและคุณภาพการสอน

นำผลการทบทวนมาดำเนินการพัฒนาคุณภาพและปรับปรุงให้ได้ มาตรฐานที่กำหนด

                การประเมินคุณภาพการศึกษา    โรงเรียนควรมีการกำหนดให้มีการประเมินความก้าวหน้า และประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการของโรงเรียนในทุก ๆ แผนงาน

                3.แง่คิดที่ได้จากเนื้อหา

                ทำให้รู้ว่าในการพัฒนาคุณภาพ   เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายฝ่าย  การจะทำงานให้เกิดคุณภาพนั้น  ต้องสร้างความเข้าใจในเป้าหมายในตรงกับ  มีการกำหนดให้ชัดเจนมีการตรวจสอบแลกเปลี่ยนกันซึ่งเป็นการทบทวนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้ คือข้อกำหนดหรือมาตรฐาน

 

                                                                                                                   ประสิทธิ์   กะตะศิลา      ผู้บันทึก

หมายเลขบันทึก: 194343เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"กระบวนการที่มีคุณภาพ และคนที่มีคุณภาพ...สามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพได้" ปัญหาสำคัญของการศึกษาในปัจจุบันคือ "คนที่มีคุณภาพ" ยังมีไม่พอค่ะ

ปัญหาอีกประการหนึ่งของระบบประกันคุณภาพคือโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินกับการประเมิน...หลายส่วนไม่ยอมรับการประเมิน...และที่สำคัญไม่รู้จักการประเมินตนเอง

ท่าน ผอ. วิชัยคะ ด้วยเหตุนี้ ID-Plan จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ..

วันนี้ไปอ่านเรื่อง "รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา" ของ ท่านสมหวัง พันธะลี กลุ่ม 2 มาค่ะ น่าสนใจมากถ้า ผบ. ได้ประเมินสถานศึกษาต่อเนื่อง เพราะเป็นการสร้างความคุ้นชินให้กับครูใน รร. ด้วย ลองอ่าน และ share กันนะคะ

กระบวนการที่มีคุณภาพ กับคุณที่มีคุณภาพ จึงจะทำให้เกิดคุณภาพ ได้นั้นควรมีการจัดการเรื่อง คุณภาพ อย่างไรที่บอกว่า มาดูที่คนก็คงเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานของคน เมื่อ เมื่อทำงานไปก็มีการพัฒนาคน การพัฒนาอย่างไรให้ตรงเป้าหมาย อาจนำเอาแนวคิดที่ว่า คนแต่ละคนไม่เท่าเทียบกัน จึงใช้ ID-Plan เป็นสิ่งที่ประเมิน เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เพื่อให้ตรงกับการพัฒนาคน

ถ้าจะพัฒนาครู เริ่มที่ใด ก็อาจนำมาตรฐานที่ 9 มาตรฐานที่ 10 ซึ่งเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน มาตรฐานที่ 9 กล่าวถึงตัวบุคคล สำหรับมาตรฐานที่ 10 กล่าวถึงกระบวนการนำมาสู่การปฏิบัติ

ID-Plan ก็จะเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน 9 ,10

แล้วอย่างไรจึงจะเป็นกระบวนการ สำหรับสถานศึกษา ผู้บริหารควรมีการกำกับติดตามให้บุคคลกร ได้ดำเนินการตามที่วางระบบไว้ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานหรือไม่ ควรเริ่มต้นที่กำกับกระบวนการของครูก่อน เพราะครูจัดกิจกรรมแล้ว จะส่งผลถึงนักเรียนมากน้อยเพียงไร นั้นหมายความว่าตรวจสอบกระบวนการ ผลผลิตก่อนจะดี แต่ถ้าผลผลิต(นักเรียน)ไม่เป็นไปตามต้องการ ก็กลับมาวิเคราะห์อีก ดำเนินการไปอย่างนี้ก็จะเกิดคุณภาพ ก็Bestของตนเอง สำหรับจะนำมาจัดการอย่างไรค่อยว่ากันที่หลังครับ

ท่านผอ.วิชัยครับ เราคงต้องช่วยกันครับ คงต้องเริ่มที่การวางระบบของสถานศึกษาโดยมี ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้เริ่ม ในอนาคตเราคงหนีไม่พ้นการที่ถูกกตรวจสอบและประเมิน

ซึ่งเป็นหลักของการจัดการคุณภาพ

แล้วเราจะทำอย่างไรให้ครูมองเห็นว่า การประเมินมีประโยชน์ คงต้องเริ่มสร้างความเข้าใจ ค่อยทำ ฝึกให้ครูมีการประเมินตนเอง ให้การยอมรับการประเมิน แต่ต้องกำหนดข้อตกลง และประเมินให้เป็นไปตามข้อตรงลง

แนวทางการประเมินตนเองของครู เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตาม พรบ. กำหนดให้สถานศึกษา

เรียนท่าน ผอ.วิชัย ต่อ ตามพรบ.การศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำรายงาน นั้น ควรเริ่มต้นที่ ครูแต่ละท่านจัดทำรายงานการประเมินตนเอง โดยประเมินผลผลิต(นักเรียน) 8 มาตรฐาน (มาตรฐานที่ 1-8 ) ยกตัวอย่างเช่น ม.4 การคิดวิเคราะห์.. ตัวบ่งชี้ 4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอดคิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม ครู ก ประเมินผลตนเอง ชั้น ป.2 มีนักเรียนผ่าน กี่ คน ไม่ผ่าน กี่ คน ประเมินทุกตัวบ่งชี้ แล้วรวมมาตรฐานที่ 4 ครู ก เขียนวิธีพัฒนาในมาตรฐานนี้ด้วยว่าทำอย่างไร จัดกิจกรรมอย่างไร หรือมีโครงการ.. ในโรงเรียนอะไรที่มาช่วยส่งเสริม เมื่อปฏิบัติอย่างนี้ถ้าห้องใดมีผลผลิตดีก็จะเห็น Best..แล้วมาเล่าสู๋กันฟังว่าดำเนินการอย่างไร ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพ

ครูทุกท่านประเมิน เสร็จ จัดทำรายงาน มีครูอยู่ 5 ท่าน ก็นำมารวมกันเป็นการประเมินตนเองของสถานศึกษา สำหรับ ด้านครูผู้บริหารเป็นผู้ประเมิน อย่างนี้ก็จะเห็นแนวทางการพัฒนาในมีต่อไป ได้ข้อมูลที่ตรง

สำหรับ งานโครงการของสถานศึกษาก็มีการดำเนินการ มีการตรวจสอบ และประมเมิน แต่ต้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานสถานศึกษา .. แล้วจัดทำรายงาน ..

เมื่อมีการประเมินภายนอกก็ไม่ต้องเหนื่อย ครับ มาตอนในก็ได้ ได้ทั้งอิงเกณฑ์และอิงสถานศึกษา ได้ทั้งการบริหารงานสถานศึกษาเป็นปกติ ครูก็ทำงานเป็นปกติไป แต่ต้องมีการตรวจสอบ ทบทวนกันเป็นประจำ มีการแลกเปลี่ยนกัน ....

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ถ้าเริ่มจากบุคลากรในโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน ยอมรับและเข้าใจถึงเพื่อนร่วมงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หานวัตกรรมที่ดีจากภายในและภายนอกมาเสริมองค์กร คิดว่าน่าจะทำให้องค์กรหรือสถานศึกษาเข้มแข็งขึ้น และเมื่อประเมินผลหรือประเมินคุณภาพคิดว่าน่าจะเกิด มิติ ที่ดีกว่าเดิม ..ทุกแห่งต้องมีการเริ่มต้น แต่.. แต่ละแห่งมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท