หน้าที่ หลักการ การปฏิบัติจริง ของกลไกการจัดสวัสดิการสังคม


สืบเนื่องจากงานวิจัยนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่  ต้องการศึกษากลไกการทำงานของคณะทำงานชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งมีกองทุนนี้อยู่ทุกจังหวัด

ที่ผ่านมามีโอกาสเข้าพบและสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการสังคมระดับจังหวัด เห็นข้อสังเกตบางประเด็น

กสจ.แต่งตั้งคณะอนุฯ/ทำงานรับผิดชอบงานสวัสดิการทั้งหมดมีความครอบคลุมหน่วยงานทุกส่วนในจังหวัด แต่กลไกกลับไม่ขยับเป็นคำถามที่ต้องเกิดขึ้นกับหลายจังหวัด หลายๆงานที่มีลักษณะการวางกลไกเช่นเดียวกัน เหตุผลหนึ่ง(ไม่ต้องผ่านการวิเคราะห์เป็นข้อมูลความจริงจากการผู้ถูกสัมภาษณ์)ที่กลไกไม่ทำงานคือ ทุกหน่วยที่เข้ามาร่วมรับในหลักการ นโยบาย วางแผนร่วมกันแต่ทางปฏิบัติไม่มีงบประมาณให้ขับเคลื่อน ต่างหน่วยต่างกลับไปทำงานตามแผนงานในหน่วยของตนเช่นเดิม

หลักการ และการปฏิบัติงานจริงของหน่วยงาน พมจ. ศพส. สสว. พอช.(หน่วยงานในกระทรวง พม.ระดับจังหวัด) มีการรับรู้ถึงภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วย และมีความร่วมมือทำงานประสานกันในหลักการ ยืนยันได้จากตัวอย่างที่ได้จากการสัมภาษณ์ ศพส. ...  มีภาระหน้าที่1)บริการสวัสดิการสังคมกลุ่มเป้าหมาย(เป็นงานหลักซึ่งได้รับการถ่ายโอนมาจาก พมจ.) 2)โครงการสวัสดิการสังคม (เป็นงานใหม่ซึ่งสำนักงานส่งแผนขอตั้งงบประมาณปีต่อปี) เริ่มโครงการเมื่อปี 2550 ทำหน้าที่พัฒนาและหนุนเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน  ในหลักการระบุเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่หลัก 1 พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่ที่ผ่านการทำงานของ สสว.มาแล้ว  เห็นได้ว่าในหลักการมีการกำหนดการประสานการทำงาน  แต่ในทางปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักการคือ  หัวหน้าส่วนงานเป็นผู้เลือกพื้นที่ซึ่งไม่ตรงกับพื้นที่ของสสว.แต่อย่างใด(แต่เข้าใจว่าอาจเป็นข้อจำกัดบางประการ ไม่มีข้อมูลมายืนยันเนื่องจากเป็นการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมิใช่หัวหน้างาน)

เปรียบเทียบการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการชุมชนในเชิงพื้นที่เห็นว่า ศพส. เลือกพื้นที่ด้วยการใช้เครือข่าย พช.ของ อปท. เป็นผู้เสนอพื้นที่ และหากเป็นพื้นที่ที่มีความสนใจแจ้งให้มีการอุดหนุน ศพส.มีงบจัดตั้งกองทุนระดับหมู่บ้านและประสานงานให้เกิดการขยายสู่ระดับตำบลอีกด้วย  ในขณะที่พมจ.เลือกพื้นที่ด้วยฐานข้อมูลของพอช.(พื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการหนุนเสริม) เป็นไปได้หรือไม่ว่า ทั้ง 2 หน่วยอาจจะเดินซ้อนรอยกันอยู่บ้าง? 

หากลองโยงความเชื่อมโยงงานจัดสวัสดิการในพื้นที่ใหม่ (อย่างคร่าว ๆ)ของแต่ละหน่วยงานเป็นดังนี้

 

หน่วยงาน

หน้าที่(มีงบประมาณ)

หน่วยงานเกี่ยวข้องที่สามารถหนุนเสริม/ร่วมเวที

พมจ.

-กลุ่มนโยบายและวิชาการ

 

-กลุ่มสวัสดิการสังคมและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ์

-เวทีจุดประกายกลุ่ม/องค์กรที่จัดสวัสดิการชุมชน (ใช้ฐานข้อมูลจากพื้นที่เป้าหมาย(พื้นที่ขยาย)ของ พอช.) (1)

-สนับสนุนงบกระบวนการกลุ่มในการจัดสวัสดิการชุมชน (2)

 

กสจ.

-อนุกรรมการรับรองมูลนิธิ สมาคมฯองค์กรสวัสดิการชุมชน(แจ้งเรื่องจดแจ้งองค์กรสวัสดิการชุมชน)

 

ศพส.(โครงการสวัสดิการชุมชน)

-เวทีจุดประกายกลุ่ม/องค์กรที่จัดสวัสดิการชุมชน(ใช้ฐานข้อมูลจากเครือข่าย พช.ของอปท.) (1)

-สนับสนุนงบกระบวนการพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ในการจัดสวัสดิการ(2)

-สบทบกองทุน(จากเงินกระบวนการที่เหลือ) (3)

 

พอช.

เงินสมทบกองทุนกลุ่ม/องค์กรที่จัดสวัสดิการชุมชน (3)

 

 

หากลองแยกประเภท และจัดลำดับการทำงานร่วมกัน(ตามหมายเลขในตาราง)ของ พมจ. ศพส. พอช. อาจจะทำให้มีจำนวนพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น  นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครือข่ายพื้นที่ครูจาก พมจ.(พื้นที่นำร่องปี 2550) และพอช.(พื้นที่หลักปี 2549, 50) ในการพัฒนากระบวนการกลุ่มได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 194335เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะน้องรัช

ตามมาเชียร์ค่ะ ถ้ามีเวลา ก็สอนน้องโอมเขียนบล็อกบ้างก็ได้นะคะ

เมื่อก่อน ประเทศไทยทำงานแบบ issue base คือ ทำงานตามประเด็น ปัญหาคือต่างคนต่างเห็นประเด็นตัวเอง ไม่เชื่อมโยง ไม่ประสาน

ปัจจุบัน เราสนุกกับการทำงาน area base คือ ทำงานเชิงพื้นที่ แม้จะมีข้อดี แต่ ปัญหาคือ มองเห็นภาพในเชิงประเด็นไม่ชัด ทำให้โจทย์ในการทำงานไม่ชัด (ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมดจนไม่รู้ว่าจะไปเริ่มแก้ปัญหาตรงจุดไหน แต่เท่าที่สังเกตคือ หน่วยงานลืมโจทย์เชิงประเด็นไปเลย และมักเน้นการเรียนรู้ของชาวบ้าน) เมื่อทุกหน่วยมีหลักการเดียวกัน คือ เน้นการเรียนรู้ของชาวบ้าน ผลก็คือทุกหน่วยที่ลงมาในพื้นที่จะทำงานคล้ายๆกัน (คือสนับสนุนการเรียนรู้) ทำให้ดูเหมือนเป็นความซ้ำซ้อน

ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกรึเปล่านะคะ

ลองคิดดูดีๆนะคะว่า "ความซ้ำซ้อน" ที่เราพูดถึงนั้น ในเชิงรูปธรรมคืออะไรกันแน่

มาเยี่ยมเป็นกำลังใจ

นี้ขนาดกระทรวง พม.(พ่อแม่)กระทรวงเดียว

พื้นที่ทับซ้อนขนาดนี้

ในพื้นที่เองก็สับสน

บางพื้นที่จัดสวัสดิการระดับตำบลภายใต้ พอช.

แต่ศพสก็ลงพื้นที่นั้นแต่คนละกลุ่มแต่ไปหนุนเสริมอีกกลุ่ม

มีให้เห็นหลายพื้นที่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท