A-D-K-A-R โมเดล คืออะไร


A-D-K-A-R โมเดล เป็นรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การ ที่มุ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับบุคลากรขององค์การ...

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้ทั่วไป

 

1.       เนื้อหาที่สนใจ  แนวคิดการบริหารการเปลี่ยนแปลง A-D-K-A-R  โมเดล

2.       สาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป

A-D-K-A-R โมเดล เป็นรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การที่คิดขึ้นโดย Prosci(1998)  มุ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับบุคลากรขององค์การ  แบ่งเป็น 5  ด้าน คือ

2.1 Awareness  เป็นการสร้างความตระหนักให้บุคลากรในองค์การเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง

2.2  Desire  เป็นการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง

2.3  Knowledge เป็นการให้ความรู้แก่บุคลากรให้รู้ถึงกระบวนการและขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง

2.4  Ability  เป็นการประยุกต์ใช้ระบบต่าง ๆ ในการพัฒนาบุคลากร

2.5  Reinforcement  เป็นการนำระบบงานที่เปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์การมาใช้อย่างต่อเนื่อง      

3.       แง่คิดที่ได้จากเนื้อหา

ในการเปลี่ยนแปลงองค์การที่มีประสิทธิภาพต้องเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในองค์การทุกคนก่อน  เพราะหากบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนแนวคิด มีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว    ผลที่ตามมาคือ พฤติกรรมของบุคลากรในองค์การย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่มีการคาดหวังไว้

 

 

                                                                                                               เจตนา   เมืองมูล      ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 194264เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2008 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

โมเดลที่เสนอน่าสนใจมากครับ แต่สงสัยว่าใช้ในสถานการณ์อย่างไรถึงจะเหมาะสม องค์กรต้องกำหนดสถานการณ์หรือว่าปล่อยตามเหตุการณ์ปกติ

มานะ สามัคคี

สำหรับหน่วยงานราชการ ค่อนข้างยากตรงขั้นที่ 1 นี่แหละค่ะ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกิด (ก่อตั้ง)มานาน ๆ (เช่น...)

ฝากถึงท่านมานะ ค่ะ ถ้าสนใจศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.change-management.com/tutorial-adkar-overview.htm ค่ะ มีรายละเอียดแบบ overview เลยค่ะ

ท่านเจไดคะ ดีใจค่ะที่มีโมเดลใหม่ ๆ เกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงมา shareให้สมาชิก ขอบคุณจ้า

มีอีกโมเดลที่น่าสนใจนะคะ Model of steps for Succssful Change ของ Larry e. Greiner ซึ่งประกอบด้วย

Phase 1 pressure on top management

Phase 2 Intervention at the top

Phase 3 Diagnosis of problem

Phase 4 Invention of new solutions

Phase 5 Experimentation with solutions

Phase 6 Reinforcement from positive results

แต่ถ้าเกิดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ก็มี tactics for dealing with Resistsnce to Chang อีกตัวที่น่าสนใจ ซึ่งประกอบด้วย

1. Education / communication

2. Praticipation

3. Facilitation and support

4. Negotiation

5. Co-potation

6. Manipulation

7. Coercion

น่าจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้ในการลดแรงต้านในการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร

โมเดลนี้น่าสนใจค่ะ เสียดายต้องค้นรายละเอียดเพิ่มเติมผ่าน google และ yahooเพราะแต่ละขั้นน่าจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติพอสมควรทีเดียว

องค์การจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย หากคนในองค์การไม่ยอมปรับเปลี่ยน/เปลี่ยนแปลงทัศนคติของตนเอง การเปลี่ยนแปลงที่ยังยืนคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลขององค์การ

ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ ถ้าเริ่มด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเกิดทัศนคติที่ดีของบุคคลในองค์กรย่อมเป็นไปตามแนวทางที่ดี สอดคล้อง ไม่ขัดแย้ง แล้วเราเริ่มต้นที่จุดไหนละครับ

เริ่มที่ตัวเราก่อนไงค่ะ ง่ายที่สุด

ตัว A ยากที่สุด เห็นด้วย ตัวอื่นจะตามมา สมศ.ยังเชื่อเรื่องนี้อยู่ ถึงมี A1 ก่อนไป A2 A3 และจะไป A 4

ตัว A เริ่มที่ตนเอง ยิ่งมี Self-Esteem จะไปไว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท