ครู 3 ครู


ครู คศ.3 เต็มโรงเรียน แต่เด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกเหมือนเดิม

คำว่า วิทยฐานะ  เป็นสิ่งที่ครูทุกคนอยากได้ อยากมี  ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เพราะเป็นเครื่องหมายแสดงถึงระดับชั้นของความรู้ ความสามารถ ของครู  หรือ อยากได้เพราะมีเงินค่าวิทยฐานะ บวกค่าตอบแทนติดอยู่กับวิทยฐานะ ดังนี้

               1.วิทยฐานะชำนาญการ  ได้ 3,500 บาท ยังไม่มีค่าตอบแทน
               2.วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้รับเงินค่าวิทยฐานะ 5,600 บาท บวกค่าตอบแทนอีก 5,600 บาท รวมแล้วจะได้เงินที่นอกเหนือจากเงินเดือนอีกเดือนละ 11,200 บาท
               3.วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ได้ 9,900 บาท บวก 9,900 บาท รวมเดือนละ 19,800 บาท
               4.วิทยฐานะเชี่ยงชาญพิเศษ ได้ 13,000 บาท บวก 13,000 บาท รวมเดือนละ 26,000 บาท
 
               จะเห็นว่าเงินจำนวนมากที่ติดอยู่กับวิทยฐานะ เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ครูอยากมีวิทยฐานะ ประกอบกับเพื่อให้ได้รับการยอมรับ นับถือว่าเก่ง จากเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ครูจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ จึงเป็นที่มาของครูที่ขอวิทยฐานะแบ่งออกเป็น 3  ประเภท ดังนี้
                1.ครูขอทำเอง  หมายถึงครูที่มีผลงานการสอนดี มีผลงานดีเด่นทางวิชาการ มีสื่อการสอนที่ชนะเลิศการประกวด และมีความรู้ ความสามารถในการเขียนผลงานวิชาการ จึงเก็บรวบรวมผลงานใน 2 ปี ที่ผ่านมา ส่งขอรับการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ กลุ่มนี้จะมีความภาคถูมิใจ  มั่นใจเมื่อผ่านการประเมิน จะมีความตั้งใจสอน ตั้งใจศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าสิ่งแปลกใหม่ มาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน และจะเก็บรวบรวมผลงานเอาไว้ เพื่อขอรับการประเมินวิทยฐานะที่สูงขึ้นต่อไปอีก 
                2.ครูเก่งจ่ายเงิน หมายถึงครูที่ขาดความรู้ ความสามารถในด้านการสอน ไม่มีความมั่นใจในการทำผลงานวิชาการ แม้แต่ แบบคำขอรับการประเมิน (วฐ.1) ยังเขียนเองไม่ได้ แต่มีความอยากได้ อยากมี ให้ทัเทียมกันกับครูคนอื่น เหนือกว่าคนอื่นได้ยิ่งดี  จึงต้องแสวงหาผู้รู้ ผู้ทรงความรู้ ความสามารถ มาช่วยเขียนผลงานทางวิชาการ  บางคนถึงขนาดเหมาจ่ายไปเลย ชนิดครูไม่ต้องทำอะไรเลย รอจ่ายเงิน กับรอรับฟังผลการประเมินเท่านั้น  บางคนมั่นใจว่าต้องได้ ตั้งแต่ส่งผลงานถึงมืออาจารย์ผู้ตรวจ เพราะคนที่ทำให้ รู้จักกับอาจารย์คนที่ตรวจผลงาน (แกล้งพูดให้มีเครดิตหรือเปล่าก็ไม่รู้)   กลุ่มนี้หากผลงานผ่านการประเมิน จะส่งผลเสียต่อระบบการเรียนการสอนสูงมาก คือว่า ครูที่ได้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น ไม่สามารถนำผลงานที่ส่งไปประเมินมาใช้ในการสอนของตนเอง ยังคงต้องใช้ระบบการสอนแบบดั้งเดิม ตามใจฉัน ครูไม่ตั้งใจสอน เพราะเมื่อถึงเวลาประเมินวิทยฐานะสูงขึ้น ก็ใช้วิธีจ้างเหมือนเดิม  เด็กจะไม่ได้รับการพัฒนาจากครูกลุ่มนี้เลย เข้าทำนอง  ที่ว่า  "ครู คศ.3 เต็มโรงเรียน แต่เด็กยังอ่านหนังสือไม่ออกเหมือนเดิม" 
                 3.ครูเดินตามดวง  หมายถึง กลุ่มครูที่ไม่มีผลงานดีเด่น ปฏิบัติการสอนตามหน้าที่ มีสื่อการสอนเท่าที่โรงเรียนจัดหามาให้ เมื่อมีคุณสมบัติครบ ที่สามารถขอรับการประเมินได้ ก็จัดทำผลงานส่งแบบสุกเอา เผากิน ตามมีตามเกิด มีอะไรก็ส่งไปเท่านั้น  ขอให้ได้ชื่อว่ามีผลงานส่ง ไม่เสียใจนักหากไม่ผ่านการประเมิน เสี่ยงดวงเอา อย่างน้อยมี 2 ประตูให้เดินไป คือ ผ่าน กับไม่ผ่าน    และกลุ่มนี้เองที่เป็นกลุ่มครูผู้ไม่ผ่านการประเมินแบบซ้ำซาก ตกแล้วตกอีก รอบที่ 3 แล้ว ก็ยังไม่ปรับปรุงผลงาน  ยังดื้อดึงส่ง  โดยหวังจะให้อาจารย์เห็นใจว่าตนเองมีความตั้งใจจริงในการขอเลื่อนวิทยฐานะ คงจะมีซักครั้งที่อาจารย์จะเห็นใจ  (อาจารย์บอกว่าเห็นใจ เห็นใจเด็กมากกว่าที่มีครูแบบนี้สอน)
                 เพื่ออนาคตที่ดีของครูและของนักเรียน  จึงขอฝากผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ช่วยกันมองเข้าไปให้ถึงใส้ในของปัญหา เมื่อพบปัญหาต้องรีบตัดปัญหา อย่าให้ลุกลาม  มันจะกลายเป็นประเพณีปฏิบัติอันไม่พึงปรารถนาของสังคมไทยต่อไป
 
หมายเลขบันทึก: 193244เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเป็นครูที่เดินตามดวง

1.เด็กนาย

2.วิ่ง

3.เงิน

ไม่พลาดแน่นอนค่ะ

อยากให้มีการอบรมคุณธรรมจริยธรรมของครูทุกระดับเป็นระยะๆ ยิ่งมีค่าตอบแทนมาก ก็ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น หากปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม คนรับกรรมคือเด็ก และสถาบันครู และคำว่าคุณธรรมจริยธรรมที่ว่านี่ก็อยู่ในระดับจรรยาบรรณวิชาชีพครูก็น่าจะพอ ใครจะสูงส่งกว่านี้ก็ดี ยอมรับว่า ไม่เห็นความแตกต่างของครูชำนาญการ หรือครูชำนาญการพิเศษ หรือ... ทั้งที่คิดว่าตัวเองมองโลกในแง่ดีแล้วนะ ..ยังอดเผลอใจไม่ได้...เฮ้อ!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท