บทบาทของผู้บริหารกับ KM(ในความคิดเห็นของผู้เขียน)


งานของผู้บริหารก็มีแค่เซ็นต์แฟ้ม ประชุมผู้บริหาร เปิด-ปิดประชุมสัมมนา

เราทำ KM ในองค์กรกันมา 2 ปี สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากพูดถึงก็คือบทบาทของผู้บริหาร ต่อ KM ประเด็นที่จะเขียนคงไม่ได้หมายถึงบทบาทของผู้บริหารในฐานะของคุณเอื้อ แต่อยากพูดถึงบทบาทในฐานะของคุณเล่ามากกว่า จากการทำ KM ที่ผ่านมาเวลาเราทำ CoP โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง(story telling) จะพบว่าผู้บริหารมีส่วนร่วมน้อยมาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกระดับปฏิบัติงานที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  จะว่าไปแล้วผู้บริหารนั้นกว่าที่ก้าวขึ้นมาได้ถึงขนาดนี้ท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่มากไปด้วยความรู้และประสบการณ์ แต่ด้วยภาระกิจหน้าที่ของท่านดูเหมือนว่าส่วนร่วมตรงนี้ของท่านกับ KM ดูจะหายไป ผู้เขียนเคยไปสัมมนาที่หน่วยงานหนึ่งผู้จัดได้เชิญผู้บริหารระดับรองอธิบดีมากล่าวเปิด หลังจากเปิดเสร็จผู้จัดก็พยายามที่กล่าวเชิญท่านอยู่ต่อเพื่อฟังการสัมมนา ปรากฏว่าท่านบอกว่าท่านไม่สามารถอยู่ได้ เพราะท่านมีประชุมและกล่าวเปิดงาน จากนั้นท่านพูดว่างานของผู้บริหารก็มีแค่เซ็นต์แฟ้ม ประชุมผู้บริหาร เปิด-ปิดประชุมสัมมนา วันหนึ่งๆ มีแต่งานแบบนี้แหละ อยากที่จะมาฟังสัมมนาด้วยก็ไม่มีเวลาว่าง (เวรกรรมแท้ๆ)

         ความจริงแล้วบุคลากรระดับนี้ต้องถือว่ามีคุณค่าต่อองค์กรเป็นอย่างยิ่งเพราะท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก ถ้าคนเหล่านี้ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพวกเราก็น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะสกัดเอาองค์ความรู้ต่างๆ ออกมา ในองค์กรเอกชนบางแห่งจะให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้ ก่อนที่จะเกษียณไปจะต้องถูกเอามาถอดหรือสกัดองค์ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละคนไว้ เพื่อนำมาให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ในการทำงาน แต่ในภาคราชการไม่รู้เหมือนกันว่ามีการคิดกันบ้างหรือเปล่า ก็ต้องฝากไปคิดหล่ะครับว่าทำอย่างไรจึงจะดึงคนเหล่านี้ลงมาแลกเปลี่ยนรู้ในระบบได้ หรือจะปล่อยให้ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ย่อยสลายไปพร้อมกับการเกษียณอายุราชการ  มีบางคนบอกว่าความจริงแล้วผู้บริหารได้มา story telling แล้วในการประชุมอยากได้องค์ความรู้ก็ไปสกัดเอาได้จากรายงานการประชุม! อิอิ.

หมายเหตุ:
เรื่องนี้เขียนบนระบบปฏิบัติการ Linux Mint เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันใช้งานได้จริงๆ และ Gotoknow นั้นทำงานบน Firefox ได้ไม่มีปัญหา...

หมายเลขบันทึก: 192778เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

แนวคิดของผมนะครับ... อาจจะผิดหรือถูก !

คนที่เป็นผู้นำได้นั้นถือว่าท่านเหล่านั้นตกผลึกมาแล้ว...แต่ไม่มีและไม่รู้ช่วงเวลาในการถ่ายทอด อาจเป็นเพราะเหตุผลดังนี้

1. ไม่มีเวลา

2. หน้าที่การงานบังคับ

3. ในมือถือแต่ปากกา, กรรไกร

ผมเข้าใจดีว่าการจัดการความรู้ต้องใช้เวลา แสวงหาความรู้ สะสมความรู้ จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ ถ้าผู้นำไม่เอาด้วยทุกอย่างก็เป็นศูนย์ แล้วถ้าหากคนที่มีวัตถุประสงค์จะทำ KM ร่วมกันมาพบกันแล้วทุกอย่างก็จะออกมาดีครับ

ด้วยความเคารพครับ

นัทธี สติปัญญา-เขลา

8/7/51

จริงอยู่ผู้บริหารระดับสูงอาจมีความรู้มาก มีประสบการณ์สูง แต่ไม่มีเวลานะจ๊ะ

คนรุ่นใหม่ก็ช่วยกันคิดใหม่ทำใหม่ซิจ๊ะ

ความรู้และประสบการณ์ที่ติดอยู่กับคนรุ่นเก่าๆ อาจล้าสมัยนำมาใช้ไม่ได้ก็ได้

หวัดดีครับ

  • น่าเสียดายนะ ที่ความรู้ ประสบการณ์ ดีๆ ด้านการเกษตร จะต้อง หายไปพร้อมๆ กับวันเกษียณ อายุ
  • รุ่นต่อไปก็ต้อง สั่งสมกันใหม่ กงกำกงเกวียน..

หวัดดีครับ คุณKitty

  • ผมขอแสดงความคิดเห็นตามประสบการณ์ตรงนะครับ
  • จะให้ ผู้บริหารมาร่วมเวที CoP ก็มีทั้งมุมบวกและมุมลบครับ   เพราะเวลาท่านผู้บริหารอยู่ในเวทีบางทีผู้ปฏิบัติก็เกร็งเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาตฺ  มีความเป็นทางการมากเกินไป   แต่ท่านผู้บริหารสามารถให้การหนุนเสริมเราในด้านอื่นๆอีกมากมาย
  • เห็นด้วยครับ กับการถอดสกัดความรู้จากผู้ที่จะเกษียณอายุ และมีประโยชน์กับองค์กรมากเลย  แต่ช่วยกันเสนอวิธีการที่สามารถเป็นไปได้กันหน่อยครับเพื่อนในชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรทุกท่าน

ผมมีโอกาสไปร่วม สัมนาจัดการความรู้กับหน่วยงานของสาธารณสุขจังหวัด โดยมีวิทยากร จากโรงพยาบาลศิริราช พยาบาลสมใจ เนียมหอม พยาบาลวิชาชีพ7 เป็นวิทยากรบรรยาย มีข้อหนึ่งที่ติดใจผมก็คือการให้ความสำคัญของผู้บริหาร ในการจัดการความรู้ ท่านเล่าให้ฟังว่า Km ของโรงบาลศิริราชที่ประสบความสำเร็จ เพราะการให้ความสำคัญของผู้บริหาร ซึ่งเป็นรองคณบดี ท่านจะเข้าร่วมกิจกรรม การจัดการความรู้เกือบทุกครั้ง

หันกลับมามองกรมส่งเสริมเรา ผู้บริหารให้ความสำคัญกับ Km บ้างหรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท