ลดต้นทุนปรับปรุงคุณภาพลองกอง


ถอดรหัสลองกองคุณภาพเพื่อผลผลิตดีมีราคาสูง

            จากที่ได้มีโครงการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตพืชยุทธศาสตร์จังหวัด จังหวัดยะลาได้กำหนดพืชยุทธศาสตร์จังหวัด 3 พืช คือ ยางพารา ลองกอง และทุเรียน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้หลักให้กับเกษตรกรในพื้นที่

พูดถึง ลองกอง

จากการพบปะกับเกษตรกรต้นแบบและจัดทำเวที ก็พอสรุปถึงปัญหาหลักของการทำสวนลองกองในพื้นที่ยะลา คือ ผลผลิตลองกองคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ลองกองคุณภาพเกรด 1-2 มีปริมาณน้อย ทำให้ราคาจำหน่ายต่ำ ด้วยสาเหตุหลักๆ คือ

1.เกษตรกรสูงอายุ ทำงานบนต้นลองกองสูงอายุลำบาก 

2.ขาดน้ำ และระบบให้น้ำที่ดี

            3.ปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย) ราคาแพง        

            4.โรคราดำที่ผลสุก ทำให้สีผลไม่สวย

            5.เพลี้ยแป้งที่ก้านผลภายในช่อ           

            6.มด แมลงติดในช่อผล

            7.ผลแตก ผลเน่า                                 

            8.อายุหลังเก็บเกี่ยวสั้น

 

เพื่อผลิตลองกองคุณภาพโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำ จึงได้เปิดเวทีกับเกษตรกรต้นแบบด้านลองกองจากอำเภอเบตง ธารโตและรามัน สรุปคู่มือฉบับชาวบ้าน ได้ดังนี้

หลักคิด

1.      การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม มีเหตุ มีผล

2.    การผลิตลองกองให้มีคุณภาพ ต้องปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อน

3.      การผลิตต้องคำนึงถึงต้นทุนและกำไรเป็นหลัก

หลักวิชา

1. การลดต้นทุนการผลิตโดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิต

            2.การพัฒนาคุณภาพผลผลิต โยการตัดแต่งกิ่ง ดอก และผล เพื่อให้ได้ผลผลิตเกรด 1และเกรด 2

            3.การบริหารจัดการศัตรูพืช ด้วยเทนิการใส่ถุงคุมช่อผล

            4.การปรับปรุงบำรุงบำรุงดินเพื่อให้พืชแข็งแรงด้วยปุ๋ยหมักน้ำหมักและน้ำส้มควันไม้ ให้ โดยให้พร้อมกับการให้น้ำทางระบบน้ำ เพื่อการประหยัด

        5.การจัดการผลิตหลังการเก็บเกี่ยวโดยการยืดอายุ ให้ผลผลิตคงสภาพเดิมได้นานที่สุด

 หลักปฏิบัติเพื่อเตรียมต้น

1.หลังการเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ½  กก. / ต้น

2. ตัดแต่งกิ่งน้ำค้างและกิ่งที่เป็นโรค  

หลักปฏิบัติเพื่อคุณภาพผลผลิต

1. การตัดแต่งดอก  ตัดช่อดอกเมื่อมีอายุ 15 วันโดยตัดไว้เพียง 1 ช่อ/จุด ระยะห่างระหว่างช่อ 30 ชม. ไว้จำนวนตามขนาดของกิ่งและความสมบูรณ์ของต้นพืชเช่น  กิ่งที่มีขนาดเส้นศูนย์กลาง 1- 1.5 นิ้ว ไว้ ช่อดอก 2-3 ช่อ ทำครั้งเดียวเพื่อลดต้นทุนแรงงาน/เวลา

2. การตัดแต่งผล ตัดแต่งเมื่อผลมีขนาดเท่าหัวกำไล  โดย

     แต่งผลให้เหลือ  3 แถว

     ปลิดผลที่อยู่ติดขั้ว ออก 2-3 ผล

     ปลิดผลภายในแถว ออก 2 - 3 ผล ไว้ 1 ผล  สลับกัน ให้เหลือ 5 - 6 ผล ต่อแถว  (1 ช่อ จะมีประมาณ 15 - 18 ผล)

     ตัดปลายช่อผลส่วนที่เหลือทิ้งพร้อมทำการตัดแต่งกิ่งน้ำค้าง และกิ่งที่เป็นโรคเป็นการลดค่าแรงงาน

3. การจัดการศัตรูพืช เมื่อตัดแต่งผลเรียบร้อยแล้วใช้ถุงพลาสติก ขนาด กว้าง 7 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว คลุมช่อผลไว้ เพื่อป้องกันโรครา และแมลงรบกวน

4. การจัดการดิน ปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอโดยใช้ปุ๋ยหมักน้ำ หรือใช้น้ำส้มควันไม้ 50 ซีซี /น้ำ100 ลิตร  

5. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ใช้ถุงพลาสติกกันกระแทกสวมช่อผลก่อนตัดผล แล้วห่อช่อผลด้วยกระดาษ ก่อนลงตะกร้า และก่อนบรรจุลงกล่องกระดาษเพื่อขายตลาดบน หรือ ส่งห้าง และต่างประเทศ

เคล็ดลับ

1. การใช้ถุงพลาสติกสวมคลุมช่อผลต้องใช้กับสวนที่มีร่มเงา ถ้าสวนที่ไม่มีร่มเงาจะทำให้ผลร่วงและฝนตกชุกเกินไปต้องเอาถุงออก เพราะผลอาจเน่าเกิดความเสียหายได้ เช่นกัน จึงควรระวัง

2. การเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อป้องกันผลผลิตร่วงที่เป็นสาเหตุทำให้ตกเกรด ขายได้ราคาตกต่ำ ต้องเก็บผลผลิตที่ความสุก 85 และ 90 %

            3. การทำช่อกระปุก  ขนาด  600  – 700 กรัม ต่อช่อ ทำช่อค่อนข้างกลมจับถือได้ สะดวก ผลเกาะกลุ่มกันแน่นทำให้ร่วงได้ยากขึ้นบรรจุลงกล่องกระดาษ และตะกร้าได้สะดวก เสียหายทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด

4. ควรตัดแต่งกิ่ง ครั้งใหญ่ 2-3 ปี / ครั้ง เพื่อรักษาทรงพุ่ม

สิ่งที่จะได้

ผลผลิตลองกองเกรด 1 -2

หมายเลขบันทึก: 191997เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2008 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ..

ดีนะครับ ดูขั้นตอนแล้วลดต้นทุน และไม่ใช้สารเคมีเลย เยี่ยมมากๆ ครับ

วันนี้มีโอกาสสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของ gotoknow ผ่านมาแวะเยี่ยมค่ะ

เสียดายว่าไม่มีต้นลองกองในพื้นที่ ไม่อย่างนั้นคงได้นำข้อคิดดีๆ ไปปฏิบัติ

สวัสดีครับ

  • ปีนี้ ผลไม้เกรด ไม่ค่อยดีนัก เพราะสภาพแวดล้อม ครับ
  • เจอกันในงานลดต้นทุน ที่กรมฯ ครับ

สวัสดีค่ะครูฐา ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ว่าแต่คนที่ใช้นามสกุลเดียวกะครูฐาสบายดีกันไหมคะ

หวัดดีค่ะพี่ชัยพร

หวังว่าจะได้เจอกันน่ะนะ ถ้าได้ไป อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท