อย่าบอกว่าให้ถอยคนละก้าว แต่บอกว่าให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน


... อย่าบอกว่าให้ถอยคนละก้าว แต่บอกว่าให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน ...

ดิฉันเป็นคนไทยที่อยากอยู่เมืองไทยอย่างสันติสุข ไม่อยากให้เมืองไทยเป็นเหมือนฟิลิปปินส์ ก็เลยอยากจะเขียนบันทึกนี้ขึ้นในบล็อกของดิฉันที่ ฉันรู้ ฉันคิด ฉันจึงเขียน ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ ดิฉันคงไม่ไปเข้าร่วมเดินขบวนและไม่อยากไป เพราะดิฉันยังคงยุ่งกับภาระกิจที่สำคัญต่อประเทศชาติอยู่เช่นกัน ซึ่งก็คือ การสอนและการพัฒนาระบบการจัดการความรู้

ไม่ใช่อวดรู้นะคะ ดิฉันเพียงแค่อยากเขียนเพื่อระบายความเห็นส่วนตัวในเวลาที่มีอันน้อยนิดที่เจียดจากภาระงานอื่น เผื่อว่าคนสำคัญของประเทศจะได้บังเอิญเข้ามาอ่านบ้าง แล้วจะได้รู้ว่า ดิฉันขอสิทธิ์ในฐานะประชาชนไทยในการแสดงความคิดเห็นต่อภาวะวิกฤตของประเทศคะ

ดิฉันมองว่า สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันเหมาะมากกับการเป็นแบบฝึกหัดแห่งชีวิตจริงให้ CEO ของทุกฝ่ายเข้าใจถึง การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

Dialogue เป็นเทคนิคของ Bohm ที่เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านการจัดการความรู้ และตรงกันข้ามกัน Debate ซึ่งดิฉันคิดว่าประเทศเราจะต้องนำมาใช้แล้วคะ เพราะมีประโยชน์มากมายที่เด่นชัดดังนี้ เช่น

  • เป็นการที่สองฝ่ายทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน
  • พูดอย่างเปิดเผย และ
  • เป็นการฟังอย่างตั้งใจเพื่อหาความเข้าใจ หาความหมาย และหาข้อตกลงร่วมกัน 

อ่านเพิ่มเติมที่ (http://www.co-intelligence.org/P-dialogue.html) หรือ ท่านที่สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ dialogue ให้พิมพ์ค้นหาที่ด้านบนของ GotoKnow.org ด้วยคำว่า dialogue นะคะ และที่ Co-intlligence เขียนไว้ดีคะ ทำให้เข้าใจถึงข้อแตกต่างระหว่าง Dialogue กับ Debate ดังนี้คะ

  • Dialogue is collaborative: two or more sides work together toward common understanding. Debate is oppositional: two sides oppose each other and attempt to prove each other wrong.
  • In dialogue, finding common ground is the goal. In debate, winning is the goal.
  • In dialogue, one listens to the other side(s) in order to understand, find meaning, and find agreement. In debate, one listens to the other side in order to find flaws and to counter its arguments.
  • Dialogue enlarges and possibly changes a participant's point of view. Debate affirms a participant's own point of view.
  • Dialogue reveals assumptions for reevaluation. Debate defends assumptions as truth.
  • Dialogue causes introspection on one's own position. Debate causes critique of the other position.
  • Dialogue opens the possibility of reaching a better solution than any of the original solutions. Debate defends one's own positions as the best solution and excludes other solutions.
  • Dialogue creates an open-minded attitude: an openness to being wrong and an openness to change. Debate creates a closed-minded attitude, a determination to be right.
  • In dialogue, one submits one's best thinking, knowing that other people's reflections will help improve it rather than destroy it. In debate, one submits one's best thinking and defends it against challenge to show that it is right.
  • Dialogue calls for temporarily suspending one's beliefs. Debate calls for investing wholeheartedly in one's beliefs.
  • In dialogue, one searches for basic agreements. In debate, one searches for glaring differences.
  • In dialogue, one searches for strengths in the other positions. In debate, one searches for flaws and weaknesses in the other positions.
  • Dialogue involves a real concern for the other person and seeks to not alienate or offend. Debate involves a countering of the other position without focusing on feelings or relationship and often belittles or deprecates the other person.
  • Dialogue assumes that many people have pieces of the answer and that together they can put them into a workable solution. Debate assumes that there is a right answer and that someone has it.
  • Dialogue remains open-ended. Debate implies a conclusion.

ตัวแปรที่สำคัญที่สุด คืออยู่ที่ Knowledge facilitator หรือ คุณอำนวยคะ ต้องรักษาสถานการณ์ให้ได้คะ จะต้องเป็นกลาง ไม่ได้เป็นฟากฝั่งใดของ "จริยธรรม" หรือ "กฎหมาย" ซึ่งดิฉันเชื่อว่า หลายๆ ท่านน่าจะเข้าใจดีว่า หลายๆ กรณี เรื่อง Ethical issues กับเรื่อง Legal issues เป็นเรื่องที่หาข้อสรุปได้ยากยิ่งในสังคมทุกสังคมคะ

... ในเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ยอม ก็อย่าเริ่มต้นให้เขาต้องยอม ดังนั้น อย่าบอกว่าให้ถอยคนละก้าว แต่บอกว่าให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน ...

หมายเลขบันทึก: 19103เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2006 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ให้ก้าวมาข้างหน้ามาพบกัน เพื่อจะได้คุยกันและหาข้อสรุปเสียทีนะครับ เพราะฝ่ายหนึ่งไม่ยอมมาพบ เอาแต่พูด อีกฝ่ายก็รับคำท้าอยู่เสมอ
keep in mind

ถูกต้องคะ แล้วก็ทำ Dialogue กัน :)

ถ้าเมืองไทยเรามีนักวิชาการที่มีความคิดความอ่านแบบอาจารย์มากๆ  มาช่วยชี้ทางสว่างให้ คนในสังคมคงไม่หลงประเด็น และข่าวสารบ้านเมืองคงไม่ถูกบิดเบือนตามที่ผู้มีอำนาจต้องการได้ง่าย เหมือนในปัจจุบัน

 

น่าเป็นห่วงลูกหลานของพวกเรา จริงๆ นะครับ   

เท่าที่เห็นๆ นักวิชาการก็มีทั้งสองฝ่ายนะคะ เพียงแต่ระบอบมันเปลี่ยนไปเสียจน "ทั้งสองฝ่าย" นั้นไม่ได้มีความเท่าเทียมกันในการเสนอความคิดเห็นและอำนาจในการตัดสินใจ

เราจะมีส่วนอย่างไร ในฐานะประชาชนนี่สิคะ ตัวเองยังหาคำตอบไม่ได้เลย ทั้งๆที่พยายาม"เก็บ"ข้อมูลจากทุกๆด้านแล้ว

เรียน คุณโอ๋-อโณ

คุณต้องพยายามหาแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เสนอเฉพาะข้อเท็จจริง ไม่มีความเห็น และติดตามพิจารณาข้อเท็จจริง (ที่ไม่ถูกบิดเบือนและตกแต่งนั้น) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้เพียงพอ

หลังจากใช้หลักเหตุผลพิจารณาและนำมาปะติดปะต่อกันแล้ว คุณจะได้คำตอบ เห็นความชัดเจน และแยกแยะประเด็นได้กระจ่างขึ้นเองครับ

จนถึงปัจจุบัน ไม่ยากและค่อนข้างชัดเจนแล้วครับ เนื่องจากผลแห่งการกระทำบางอย่าง มันได้สำเร็จแล้ว

ขอให้ทุกท่านโชคดี มีปัญญาสว่างไสว สามารถแยกแยะและรู้เท่าทันเหตุและผลได้โดยการปิดหู ปิดปาก แต่เปิดตา และเปิดใจ

ขอบคุณครับ 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท