นำเสนองานของคุณลิขิต2


ร่วมเรียนรู้ด้วยกัน

ผมขอนำเสนอผลงานของคุณลิขิตรุ่นที่2ระหว่างวันที่23-25 มิย.51 จำนวน 2 ตัวอย่าง เพื่อเป็นการ ลปรร. ด้วยกันนะครับ

แบบบันทึกความรู้เรื่อง  การดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อกลุ่ม  รวมมิตร

 

รายชื่อสมาชิกลุ่ม

                1. นายชัด  ขำเอี่ยม                                               (คุณอำนวย)

                2. นางสาวนลัทพร  สิลบุศย์                              (คุณลิขิต)

                3. นายสมบูรณ์  โตวงศ์                                       (คุณกิจ)

                4. นางสาวแสนพลอย  พรมหนองแสน          (คุณกิจ)

                5. นางสาวชนิดาภา โชคทรัพย์                         (คุณกิจ)

                6. นางสาววิภาดา สุภานันท์                              (คุณกิจ)

                7. นายทรงกลด                                                    (คุณกิจ)

                8. นางปาลลิน พวงมี                                           (คุณกิจ)

                9. นางสุวลักษณ์  อะมะวัลย์                               (คุณกิจ)

                10. นายจักรพรรดิ์  บรรจง                                 (คุณกิจ)

                11. นายประดิษฐ์  เจริญสุข                                (คุณกิจ)

                12. นายกิตติ  เหมือนจันทร์แจ่ม                        (คุณกิจ)

 

1. บันทึกการเล่าเรื่อง

                1.1 เรื่องที่ 1 ทัศนคติ/แนวทางการดำเนินตามปรัชญาฯ

                                สมาชิกคนที่ 1  เล่าว่า ใช้วิถีแบบพุทธในการทำงาน รู้จักพอ และปล่อยวางได้เมื่อต้องเจอกรณีที่เหนือการควบคุม/เกินฝัน ทรัพยากรของตนเอง และสำนักงานต้องใช้เท่าที่มีให้เหมาะสม และประยุกต์ใช้ รวมทั้งแนะนำเพื่อนร่วมงานและครอบครัว

                                สมาชิกคนที่ 2  เล่าว่าใช้หลักการบูรณการ โดยบูรณาการโครงการศูนย์เรียนรู้เช่ากับศูนย์บริการฯ และใช้รถยนต์ร่วมกัน เมื่อต้องปฏิบัติงานในพื้นที่

                                สมาชิกคนที่ 3  เล่าว่า ปรับช่วงเวลา และวิธีการประหยัด น้ำ ไฟฟ้า และเงินโดยเปลี่ยนใช้หลอดไฟประหยัดค่าไฟแทนของเดิม เปิดน้ำเบา ๆ นั่งรถเมล์ไปทำงาน ทำอาหารกินกันในสำนักงาน และถัวเฉลี่ยค่าอาหาร เปิด ปิด ไฟฟ้าตามความเหมาะสม และใช้รถยนต์ร่วมกันในการปฏิบัติงาน        ในพื้นที่

                                สมาชิกคนที่ 4  เล่าว่า มีการพูดคุยและวางแผนกับสมาชิกในครอบครัว                    เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้สมดุลกับรายได้ โดยหากฝนตกจะไม่เปิดแอร์ ปิดไฟบางดวงที่ไม่จำเป็น           เปลี่ยนระบบของรถยนต์เป็นใช้แก๊สแทนน้ำมัน ซื้อเมล็ดพันธุ์ผักให้เพื่อนบ้านนำไปปลูกแล้วนำมา    แจกกัน  ส่วนในสำนักงาน เปลี่ยนจากสั่งอาหารโต๊ะจีนเป็นให้กลุ่มแม่บ้าน เพื่อใช้ในการประชุมต่าง ๆ และออกไปกินอาหารกลางวันกับเพื่อนร่วมงานหลายคน

                                สมาชิกคนที่ 5  เล่าว่า ประหยัดพลังงาน โดยใช้รถยนต์ร่วมกัน และลดงบประมาณ  โดยใช้กระดาษรีไซเคิล ปลูกผักรอบสำนักงานให้บุคลากรบริโภค และประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเอง   โดยนำอาหารไปกินที่สำนักงาน ใส่เสื้อเหลืองแทนการใส่ชุดทำงานใหม่ ๆ และทำน้ำหมักชีวภาพ       ใช้เองในการกำจัดกลิ่นส้วม

                                สมาชิกคนที่ 6  เล่าว่า ถือคติว่า ใช้อย่างเหมาะสม เพียงพอ และประหยัดทั้งงบหลวงและเงินตัวเองโดยปิดคอมตอนพักเที่ยง ทำกับข้าวแบบกินได้หลายมื้อ ไปกินข้าวกับคนอื่น ๆ พร้อมกัน หรือห่อข้าวมากินเอง ขี่จักรยานยนต์ไปทำงาน ใช้พื้นที่รอบ ๆ บ้านปลูกผัก/ผลไม้ และเลี้ยงเป็ด         เพื่อบริโภค ขยาย และแปรรูปทำไข่เค็มขาย ราคาถูกกว่าตลาด และแจกเพื่อน ๆ

                                สมาชิกคนที่ 7  เล่าว่าเปลี่ยนจากอยู่คนเดียวมาใช้ชีวิตคู่ ทำให้มีการวางแผนและควบคุมการใช้จ่ายเงินมากขึ้น ไป-กลับพร้อมกัน และปลูกผัก/ผลไม้/สมุนไพร เลี้ยงปลารอบบริเวณ     ไว้บริโภคเอง

                                สมาชิกคนที่ 8  เล่าว่าดำเนินการศูนย์เรียนรู้  โดยฝึกอาชีพขยายพันธุ์ไม้ให้เกษตรกรสร้างงานและรายได้ รวมทั้งทุนหมุนเวียนให้กับเกษตรกร

                                สมาชิกคนที่ 9  เล่าว่า ในครอบครัวได้คิดแก้ปัญหาค่าแก๊สที่เพิ่มขึ้น โดยจะทำแก๊สชีวภาพใช้เอง หุงข้าวพอกิน อย่าให้เหลือ นอนมุ้งลวด และปลูกผักสวนครัวบริโภคเอง ส่วนในการทำงาน จะรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแต่ละสาขาจากทุกอำเภอ จัดทำเป็นทะเบียนและเครือข่ายการส่งเสริม

                                สมาชิกคนที่ 10  เล่าว่า ประหยัดค่าใช้จ่าย  โดยปลูกผักสวนครัว ทำกับข้าวกินเอง     ลดการซื้อนอกบ้าน ซื้อเสื้อผ้าโทนสีใกล้เคียงกัน ทำเครื่องสำอางใช้เอง เสื้อผ้าเก่า ๆ นำบริจาคให้คน   อื่น ๆ และบริจาคทำบุญลดความตระหนี่ รีดผ้าช่วงเช้า/เย็น  ส่วนในสำนักงาน ใช้คอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็น เมื่อหมดเวลาทำงานปกติ จะปิดไฟ คอมพิวเตอร์ และปิดแอร์ ตั้งแต่เวลา 11.00 17.00 น.         ทุกวัน

                                สมาชิกคนที่ 11    เล่าว่า ด้วยภาวะค่าครองชีพสูงในจังหวัดภูเก็ต สำนักงานเกษตรจังหวัดภูเก็ตจึงได้เป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และบรรเทาภาวะโลกร้อน โดยเปลี่ยนจากปลูกไม้ดอกไม้ประดับบริเวณสำนักงาน ไปเป็นปลูกผักสวนครัวและพืชสมุนไพร ในภาชนะที่เหลือใช้ จัดประดับตกแต่งเป็นชุดสวนหย่อม แล้วเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง เวปไซต์ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จัดนิทรรศการ และถ่ายทอดความรู้ให้กับโรงเรียนด้วย ได้รับความสนใจทั้งจากประชาชนในท้องถิ่น และชาวต่างประเทศ เกษตรกร         ได้นำไปปฏิบัติเพื่อไว้บริโภคและจำหน่าย

 

2. บันทึกขุมความรู้ (KA)  จากการบอกเล่าการปฏิบัติในครอบครัวและการปฏิบัติงานตามปรัชญาฯ    ทำให้ได้ความรู้และเทคนิค ดังนี้

                1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในหน่วยงาน/สมาชิกในครอบครัวเพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการประหยัดทรัพยากร การปฏิบัติงานและกิจกรรมเสริม

                2. มาตรการประหยัดทรัพยากร โดยการบูรณาการรถยนต์/โครงการในการปฏิบัติงานในพื้นที่ นำกระดาษที่ใช้แล้วมารีไซเคิล ปิดไฟฟ้า แอร์ คอมพิวเตอร์ น้ำ ตามความเหมาะสม เปลี่ยนระบบรถยนต์ไปใช้แก๊ส นำอาหารจากบ้านไปทานที่ทำงานด้วยกัน หรือถัวเฉลี่ยทำอาหารทานกันในหน่วยงาน เป็นต้น

                3. การปฏิบัติงาน เน้นการสร้างเครือข่ายในการทำงาน และใช้ศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอาชีพแก่เกษตรกร สร้างอาชีพ และรายได้

                4. กิจกรรมเสริม เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หาแนวทางที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่นการทำน้ำชีวภาพใช้เอง ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภค จำหน่าย รวมทั้งนำไปแปรรูปเพิ่มมูลค่า

                5. แนะนำ บอกต่อ เผยแพร่ แนวทางปฏิบัติและปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกร

3. บันทึกแก่นความรู้  การดำเนินตามปรัชญาฯ โดยต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกหาแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมทั้งในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติงาน ปฏิบัติตาม รวมทั้ง แนะนำบอกต่อเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย ได้แก่

                - แนวทางการควบคุมค่าใช้จ่าย ด้วยการบูรณาการกันทุกกิจกรรม

                - หากิจกรรมเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน

                - ใช้เครือข่ายในการปฏิบัติงาน

                - แบ่งปัน

กลุ่ม 2

เรื่อง  การดำเนินงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน (Food Safety)

 

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม

                1. นายจิรศักดิ์  สายวาริน                                    (คุณอำนวย)

                2. นายชัยยงค์  ขันโมลี                                              (คุณลิขิต)

                3. นายชัยณรงค์  ทิพย์พรม                                          (คุณกิจ)

                4. นายวิระชัย ถือทอง                                                  (คุณกิจ)

                5. นายสังข์ ทองแท่งใหญ่                                           (คุณกิจ)

                6. นายอนุรักษ์ ชูเจริญ                                                 (คุณกิจ)

                7. นายอนุวัต  พานทอง                                               (คุณกิจ)

                8. นางสาวทิพากร เอี่ยวสิโป                                     (คุณกิจ)

                9. นายสรคุปต์ สินรุทธ์                                               (คุณกิจ)

                10. นายอนันต์ ทรัพย์พลับ                                        (คุณกิจ)

บันทึกขุมความรู้ (KA)

          การปฏิบัติงานของการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน พบว่า มี 3 องค์ประกอบ คือ

                1. การปฏิบัติงานโดยมีหน่วยงานหลัก เป็นกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจต่าง ๆ สู่เกษตรกร เช่น การคัดเลือกเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ การจัดทำกรอกข้อมูลส่งในแบบใบสมัคร GAP-01 แผนผังที่ตั้งของแปลงปลูก การนัดหมายการให้ความรู้ในข้อปฏิบัติ 8 ข้อ ตามมาตรฐานระบบคุณภาพการเกษตรดีที่เหมาะสม การนัดหมายหน่วยตรวจสอบประเมินแปลงผลิต ระหว่างเจ้าของแปลงกับกรมวิชาการเกษตร การให้คำแนะนำให้เกิดการจดบันทึกลงในสมุด ให้บันทึกตามความเป็นจริงที่ได้ปฏิบัติ เช่น เมื่อมีการใช้สารเคมีให้ลงวัน เดือน ปี ที่ใช้ ชนิดของสารเคมี วิธีการผสมสารเคมี และ          การนำไปฉีดพ่น เป็นต้น   โดยภารกิจเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ตำบล และอำเภอจะต้องนำมาใช้สำหรับ             การวางแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งจะได้รับความรู้ในเชิงวิชาการต่าง ๆ  และการแนะนำ พูดคุยจากเวทีต่าง ๆ เช่น DM MM และ DW เป็นต้น ในรูปของการประชุมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม การใช้เครื่องมือการจัดการความรู้จากเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด สำหรับการปฏิบัติงานของเขต ช่วยเสริมหนุนในด้านการติดอาวุธทางปัญญาให้กับเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัด เช่น การจัดหลักสูตรการอบรม       ทีม 5 จังหวัด การอบรมหลักสูตรการเป็นผู้ตรวจประเมินเบื้องต้น ระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานการเกษตรดีที่เหมาะสม

                2. การถ่ายทอดความรู้ อาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การถ่ายทอดให้กับเจ้าหน้าที่ เช่น เจ้าหน้าที่    ในระดับเขต จังหวัด อำเภอ และตำบล เพื่อมีเป้าหมายให้เจ้าหน้าที่มีความพร้อมทางด้านความคิด เจตนา ทำความเข้าใจในเนื้อหา ขั้นตอนของโครงการฯ เพื่อสามารถปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ สำหรับ      ในส่วนสุดท้าย คือ การถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร โดยเน้นให้เกษตรกร รับรู้ เนื้อหาในมาตรฐาน       ที่เกษตรกรจะทำการผลิตในที่นี้ก็คือ มาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม สำหรับรายละเอียดของเนื้อหา           ทางวิชาการเหล่านั้น ได้รับมาจากหน่วยงานที่เป็นแหล่งความรู้ หรือ เจ้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น        การป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อราไตรโครเดอร์ม่า เชื้อราบิวเวอร์เรีย การใช้    ตัวห้ำ ตัวเบียน วงจรการระบาดของเพลี้ยไฟในสวนผลไม้ การผลิตพืชตามแนวเกษตรอินทรีย์              การเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำไปวิเคราะห์ การตรวจสอบสารพิษตกค้างแบบเร่งด่วน โดยใช้เครื่องมือ GT ความรู้การขาดธาตุอาหารรองและเสริมในผักและผลไม้ เป็นต้น และมีหลายส่วนที่เป็นผลงาน              การปฏิบัติงานในเชิงประยุกต์ โดยใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เช่น การใช้หรือการเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ให้สูงขึ้น เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยไฟในแปลงทุเรียน การใช้น้ำส้มควันไม้ในการป้องกันและกำจัด    โรคและแมลงในพืชผัก เทคนิคการทำงานร่วมกับ อบต. เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน

                3. ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน            ก็คือ แปลงผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรอง หรือพูดว่าได้รับใบคิว (Q) พบว่า หลายจังหวัดแนะนำ    ให้มีการวางแผนตั้งแต่ในเชิงนโยบายแล้วว่าชนิดพืชที่เหมาะสมต่อการรับรอง ควรจะเป็นพืชนิดใด       เช่น พืชอายุสั้น ตัวอย่างข้าว พืชผัก กระบวนการรับรองกว่าจะได้ใบคิวมาเพื่อการรับรอง ผลผลิตก็ขาย    ไปจนหมดสิ้นแล้ว รวมผลผลิตดังกล่าว ถูกว่างขายในตลาดท้องถิ่น หรือตลาดที่ไม่ได้มองถึงว่าผลผลิตเหล่านั้น จำเป็นจะต้องได้รับการรับรองหรือไม่ แต่ถ้ากำหนดชนิดพืชมีความและตลาดตั้งเงื่อนไข         เช่น ตลาดต่างประเทศ ตลาดไทบางส่วน ตลาดบนห้างสรรพสินค้า เป็นต้น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนในการรับรองแปลง โดยมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตัดสินว่าจะให้ใบคิวหรือไม่ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมการค้า มหาวิทยาลัยและบริษัทผู้ส่งออก

Core Competence

                1. หน่วยงานการปฏิบัติงานที่ทำให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน และใบคิว ต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกันหลายหน่วยงาน อย่างมีขบวนการและมีความสัมพันธ์ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับเขต จังหวัด อำเภอ ตำบล อย่างมีความชัดเจนทางด้านเป้าหมาย ขั้นตอน เงื่อนไข ด้วยความมีเสถียรภาพ

                2. เกษตรกรได้รับความรู้ โดยการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกรต่อการปฏิบัติทางด้านการเกษตรในระดับไร่นา เข้าสู่ระดับความปลอดภัย และมีมาตรฐาน

                3. แปลงปลูกพืช ที่เป็นแหล่งสร้างผลผลิตพืช ควรต้องได้รับการรับรอง แหล่งผลิต ตามระบบคุณภาพ เช่น มาตรฐานการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP พืช) ตัวแปลงจะได้รับใบรับรอง GAP พืช และผลผลิตในแปลงนั้น จะได้รับรองใบคิว ภายใต้การผ่านเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ จะต้องผ่านเงื่อนไข   8 ข้อกำหนด    

..................................................

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 190897เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2008 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ผมอ่านแล้วมีประโยชน์ทั้ง  2 กลุ่ม
  • แต่ของกลุ่มที่ 2 เรื่องเล่า เขาไม่ได้ให้ไว้  ถ้ามีครบ สุดยอดเลย  เพราะอ่านเรื่องเล่าแล้วให้ความรู้สึกดีมาก   แต่เรื่องเล่าน่าจะใส่ชื่อจริงของคนเล่านะ เพราะถ้าผมสนใจเพิ่มเติมจะได้หาข้อมูลจากผู้เล่าได้
  • ผมว่าเราลองช่วยขยายแนวคิดการบันทึกแบบนี้จากวง ลปรร. ของหน่วยงานพวกเราดูนะ   เพราะถ้าได้นำความรู้ที่บันทึกแบบนี้ เข้าไว้ในศูนย์บริการองค์ความรู้ฯตามที่น้องออม ช่วยเล่าให้เราฟังในการสัมมนาวันที่ 3 ของแต่ละรุ่น  จะเป็นประโยชน์มากเลย  ไม่รู้คุณเบิร์ดคิดอย่างไร

ผมอยู่กลุ่มความภาคภูมิใจในงานส่งเสริมการเกษตร พี่ครับผมขอ Mind Map ทั้ง 5 กลุ่ม ได้ไหมครับ จะได้นำไปศึกษาครับ

หวัดดีครับ

  • แต่ละกลุ่มสรุปข้อมูลได้ดี ครับ

สวัสดีครับ..

* เรียน อ.สำราญ..ผมคิดว่าถ้าเราได้คุณกิจตัวจริง แล้วจัดกระบวนการในแนวนี้ก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เปิดใจเล่าเรื่องความสำเร็จหรือความภาคภูมิใจเป็นทานทางปัญญา นะครับ

* เรียน คุณเขยเมืองเพชรบุรี ขอบคุณมากครับที่มีความสนใจชิ้นงานของพวกเรา..แล้วผมจะหามาลงให้นะครับ

* เรียน คุณหนุ่มร้อยเกาะ ขอบคุณที่ติดตามผลงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท