ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

โรคหัดระบาดทำอย่างไร


ประสบการณ์การควบคุมการระบาดโรคหัด
    การควบคุมการระบาดโรคหัด ทฤษฎี กับการปฏิบัติจริงจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับข้อมูลที่สอบสวนโรคที่ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง  การมีส่วนร่วม ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการตัดสินใจของทีมควบคุมโรคและผู้บริหาร จึงจะทำให้การควบคุมโรคประสบผลสำเร็จ

               19  กุมภาพันธ์ 2551รับรายงานจากหอผู้ป่วยว่ามีนักศึกษาป่วยเป็นโรคหัด นอนรักษา  ไปสอบสวนโรคเฉพาะรายตามข้อกำหนด  รวมทั้งประสานกับหอผู้ป่วยเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 

โรคหัดเป็นโรคติดต่อ ส่วนมากจะพบกับเด็กเล็ก     แต่ในการระบาดครั้งนี้เป็นนักศึกษาปี 1-3  อายุ 18-21ปี ซึ่งในส่วนของการดูแลสุขภาพนักศึกษา   พยาบาล PCU คุณกัลยา  คุณนิสาชล น้องพหุรัตน์ ช่วยกันค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม

การดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคหัดในมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ ดำเนินงานควบคุมโรคโรคร่วมกันหลายหน่วยงานได้แก่

1.  ทีมผู้บริหารโรงพยาบาลศรีนครินทร์   ทีมงานบริการพยาบาล 

2.  แพทย์สาขาโรคติดเชื้อ

3.ห้องปฏิบัติการชันสูตร 

4. งานเวชกรรมสังคม 

5.ประชาสัมพันธ์

6.เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วย ทั้งพยาบาล   ผู้ปฏิบัติการพยาบาล พนักงาน คนงานหอผู้ป่วย   2จ 

7.  PCU นักศึกษา PCU สามเหลี่ยม   

8.  ทีมระบาดวิทยาและควบคุมโรคจาก สสจ.ขอนแก่น และสคร.6   

9.  ทีมบุคลากรหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อเป็นผู้ประสานงานหลัก 

ขอขอบคุณคณะผู้บริหารโรงพยาบาลที่ให้ความช่วยเหลือและให้โอกาสทำงาน 

ขอบคุณทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกท่าน

ประกาย รับหน้าที่เป็นผู้สอบสวนหลัก   ครั้งแรกคิดว่างานคงไม่หนัก  การควบคุมการระบาดน่าจะไม่นาน และไม่ยากจนเกินไป  แต่คาดการณ์ผิดนะคะ

พบนักศึกษาป่วยเพิ่มวันละ 2-4 คน เรื่อย ๆ  

มีคำถามทำไมนักศึกษาจึงป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต้องหาสมมติฐาน หาสาเหตุการเกิดโรค แหล่งรังโรคให้ได้

  • ฉะนั้นจะต้องทราบระบาดวิทยาของโรคหัดและความรู้เรื่องโรคหัดก่อน  จึงจะทำให้หามาตรการแนวทางการควบคุมโรคหัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ขอเล่าความรู้เรื่องโรคหัดก่อนนะคะ แบบง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ศัพท์แพทย์ที่ยากเกินไป

โรคหัดเป็นโรคที่มีมานานแล้วเกิดจากเชื้อไวรัส   ที่พบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจ เมื่อเป็นแล้วหายเองได้ แต่ถ้ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นจะทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น เช่นปอดบวม อุจจาระร่วง  ตาแดง ที่สำคัญคือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

ปัจจุบันพบว่าการระบาดมีลักษณะเป็นแบบขึ้นๆ ลง ๆ (Fluctuated situation) คือ มีการระบาดเป็นระยะ       ระยะห่างระหว่างการระบาดแต่ละครั้งอาจจะไม่แน่นอน   

ระบาดวิทยาของโรค

                โรคหัดติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จามหรือพูดกันในระยะใกล้ชิด  เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส  (airborne)  เข้าไปทำให้ติดเชื้อ และเป็นโรคได้เกือบทุกราย ถ้าไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน เด็กมีโอกาสจะเป็นโรคหัดได้เมื่อภูมิคุ้มกันที่ผ่านมาจากแม่หมดไปเมื่ออายุประมาณ 6-9 เดือน 

                อายุที่พบบ่อยคือ 1-6  ปี ถ้าไม่มีภูมิต้านทานจะเป็นได้ทุกอายุ ในประเทศไทยเริ่มให้วัคซีนป้องกันโรคหัดเมื่อ  พ.ศ. 2547   ทำให้อุบัติการณ์ของโรคหัดลดลงเป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี   แต่ก็ยังพบโรคได้ประปราย   และมีการระบาดเป็นครั้งคราวในชนบท  ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และเป็นเด็กอายุเกิน 5 ปี   จำนวนมากขึ้น

  • มาตรฐานการควบคุมป้องกัน

                        โรคหัดเป็นโรคหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวัง เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคหัดตั้งแต่ 2 รายในหมู่บ้านเดียวกันในระยะเวลา 18 วัน (นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายแรก) ต้องรีบดำเนินการสอบสวนและควบคุมป้องกันโรคทันที

                        ปัญหาที่พบในการควบคุมโรคคือ ความล่าช้าในการทราบข้อมูลว่ามีผู้ป่วยโรคหัดในหมู่บ้าน เพราะกว่าจะทราบว่ามีผู้ป่วยโรคหัดเกิดขึ้น  ก็ต้องรอรายงานจากทางโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย

 

                         ซึ่งการระบาดของโรคมักจะกระจายออกไปมากแล้ว และผู้ป่วยที่มารักษาในสถานบริการของรัฐมักจะเป็นผู้ป่วยโรคหัดที่มีภาวะแทรกซ้อน และยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ป่วยที่บ้านซื้อยามารับประทานเอง ไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาลทำให้เป็นปัญหาในการควบคุมโรค 

             

 การควบคุมโรคเมื่อพบการระบาดของโรคหัดในพื้นที่จะต้องทำการสอบสวนโรคทันที  โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

1)      สอบสวนหาสาเหตุ และแหล่งที่มาของการระบาด
2)      การแยกผู้ป่วย ในทางปฏิบัติในชุมชน ควรให้เด็กหยุดเรียน จนถึง 4 วัน หลังจากปรากฏว่ามีผื่นขึ้น สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ควรแยกผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการของโรคหัดจนถึงวันที่ 4  หลังจากมีผื่นขึ้นตามลำตัว
3)      มาตรการในการให้วัคซีนเพื่อการควบคุมป้องกันโรคในช่วงมีการระบาดนั้นไม่ได้ผล เนื่องจากไม่ทันต่อเวลา  แต่ควรให้ฝ่ายควบคุมโรค  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือผู้ที่รับผิดชอบในการให้วัคซีน มีการวิเคราะห์ความครอบคลุมของวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวางแผนในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อไป
 
 
หมายเลขบันทึก: 190485เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

โรคหัดจะระบาดหน้าร้อนหรือหน้าหนาวคะไก่

การเขียนตัวอักษร..ให้อ่านง่ายจะน่าสนใจยิ่งขึ้นนะคะ

ขอบคุณคะพี่แก้ว

โรคหัดระบาดหน้าร้อนหรือหนาว จะมีการระบาดเป็นระยะ ๆ นะคะ ก่อนที่เราจะระบาดก็มีระบาดหน้าหนาวก่อนแล้ว แต่ล่าสุดเมื่อวานมีระบาดที่เชียงใหม่คะ คุณหมอที่รพ.ดทรมาขอข้อมูลการควบคุมและการดำเนินงานทั้งหมดก็ได้แลกเปลี่ยน ไก่จะนำมาเล่าต่อนะคะ เพราะรายงานสรุปทั้งหมดกำลังดำเนินการจัดพิมพืและจะนำเข้าห้องสมุด

ขอบคุณคะพี่แก้ว จะเรียนรู้การปรับปรุงวิธีเขียนต่อไปคะ

หัด นี เป็นใน อายุ 16 17 หรือป่าวครับ ช่วยตอบผมที

หนูเป็นหัดรึป่าวคะ

หนูเป็นไข้ปวดหัวอยู่ 2 วัน จากนั้นก็มีผื่นแดงๆขึ้นตามตัว ตามหน้าด้วยค่ะ

แล้วก้อมีอาการเจ็บคออ่ะค่ะ ตอนนี้เผื่นขึ้นเป็นวันที่ 2แล้วค่ะ แม่ให้กินยาเขียวด้วย

อยากรู้ว่าใช่หัดมั้ยคะ หนูอายุ 22 แล้วนะคะ จะใช่หัดรึป่าว เพราะว่าไม่มีอาการไอ หรือจาม หรือมีน้ำมูกเลยค่ะ ตอบหน่อยนะคะร้อนใจ

สวัสดีคะ

  • น้องอายุ 22 ปี
  • มีอาการคล้ายหัด ไข้ ออกผื่น เจ็บคอ
  • พี่แนะนำนะคะ
  • ขอให้น้องไปพบแพทย์นะคะ
  • เพื่อที่จะตรวจว่ามีที่คอ และผื่นที่ออก มีลักษณะโรคหัด หรือไม่ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะ
  • ในระยะนี้จะเป็นระยะแพร่เชื้อ หลังออกผื่นครบ 4 วัน จึงจะไม่แพร่เชื้อ
  • วิธีการปฏิบัติตัว ไอ จาม ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก งดไปในที่ชุมชน สวมผ้าปิดปาก ปิดจมูก นะคะ ล้างมือทุกครั้งหลังจากไอจาม นะคะ       รับประทานอาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำให้มากพอนะคะ
  • ถ้าเป็นหัดต้องรายงานโรคนะคะ เป็นโรคที่ระบาดได้ง่าย

อายุ 16-17 ปี เป็นหัดได้นะคะ

ถ้าไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งจะต้องฉีด 2 ครั้ง ตอนอายุ 9 เดือนเป็นวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมันและคางทูมคะ หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อยู่ระดับประถม

ถ้าน้องภูมิต้านทานโรคหัดลดลงโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสโรคหัดจะมีมากคะ

พี่คะ..อยากทราบว่าอัตราการเกิดโรคเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่าระบาดคะ

ไม่มีรูป

7. วิลาสินี สวัสดีคะน้องวิลาสินี
จำนวนผู้ป่วย 2รายในหมู่บ้านเดียวกันและมีอาการป่วยห่างกันในเวลา3 สัปดาห์
จำนวนผู้ป่วยมากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีในช่วงระยะเวลาเดียวกันตะ
ตอบช้าไปนิดคงทันเวลานะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท