ระบบคุณภาพที่มุ่งเน้นสัมฤทธิผล(3)


การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกลไกกระตุ้นและส่งเสริมให้ โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กรอย่างมีระบบ โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนาคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และการรับรองคุณภาพ

4  Hospital Accreditation ( HA.)แนวคิดการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

4.1   การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลคืออะไร

การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกลไกกระตุ้นและส่งเสริมให้

โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กรอย่างมีระบบ  โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ขั้นตอน คือ การพัฒนาคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และการรับรองคุณภาพ

การรับรองคุณภาพจะกระทำโดยองค์การภายนอกที่เป็นกลาง เพื่อเป็นหลักประกันว่า

ผลการรับรองนั้นจะเป็นที่น่าเชื่อถือ  สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อบังคับตาม พ...สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  ทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลโดยอาศัยการประเมินตนเองร่วมกับการประเมินจากภายนอกเป็นกลไกกระตุ้นที่สำคัญก่อนที่จะขอรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาลที่จะต้องประเมินและพัฒนาคุณภาพตามกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลมาก่อน

4.2   เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพ

1)  ประโยชน์สำหรับผู้ป่วย  ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการประสบความสูญเสีย

หรือภาวะแทรกซ้อนลดลงคุณภาพการดูแลรักษาดีขึ้น  ได้รับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีของความเป็นคนมากขึ้น

2)  ประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการ

เจ็บป่วยจากการทำงานลดลงความเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่ลดลง สิ่งแวดล้อมในการทำงานและการประสานงานดีขึ้น เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง

3)  ประโยชน์สำหรับโรงพยาบาล ได้แก่ การเป็นองค์การเรียนรู้  สามารถ

รองรับการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศ  ทำให้องค์การอยู่รอดและยั่งยืน

4.3   เป้าหมายของการรับรองคุณภาพ

1)   การกระตุ้นให้โรงพยาบาลเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพอย่าง

ต่อเนื่อง

2)   การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (social accountability) ซึ่ง

โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนจะต้องแสดงออก  เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจต่อระบบบริการของโรงพยาบาล  ด้วยการยินยอมให้องค์การภายนอกซึ่งมีความรู้ความเข้าใจระบบการดูแลผู้ป่วยเข้าไปประเมินตามกรอบที่ตกลงร่วมกัน

3)   การให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค

                          4)   การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการที่ผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพของโรงพยาบาลต่างๆ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ประเมินในลักษณะของอาสาสมัคร

4.4   กรอบมาตรฐานสำหรับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

กรอบมาตรฐานที่ใช้ในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล   คือมาตรฐาน

โรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษกมาตรฐานโรงพยาบาลเป็นมาตรฐานที่กล่าวถึงระบบงานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของโรงพยาบาลในภาพรวม การประเมินตามมาตรฐานนี้จึงมุ่งเน้นที่การประเมินระบบงาน ไม่ได้มุ่งประเมินการทำงานในระดับบุคคลหรือวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละราย.  ระบบงานที่กำหนดไว้จะส่งเสริมให้มีการนำมาตรฐานวิชาชีพมาปฏิบัติมากขึ้น  การพบปัญหาในระดับบุคคลจะนำมาสู่การตั้งคำถามต่อระบบงานที่เกี่ยวข้อง     

ในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร เช่น คน สถานที่ เครื่องมือ  จะเน้นหนักใน

เรื่องการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรเหล่านั้น เพื่อให้มีทรัพยากรที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย มากกว่าที่จะดูเฉพาะปริมาณของทรัพยากรเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้โดยพิจารณาสมดุลของความจำเป็นด้านคุณภาพและขีดจำกัดของโรงพยาบาลแต่ละแห่งควบคู่กันไป

 

 

 

 

 

4.5   การพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement)

การพัฒนาคุณภาพในที่นี้ คือ การจัดระบบบริหารและระบบการทำงานใน

โรงพยาบาลตามแนวทางที่กำหนดไว้ในมาตรฐานโรงพยาบาล ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานด้วยใจที่มุ่งมั่นต่อคุณภาพของเจ้าหน้าที่การทำงานเป็นทีม การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและผู้รับผลงานมีระบบตรวจสอบเพื่อแก้ไขปรับปรุงด้วยการประสานกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง(risk management-RM) การประกันคุณภาพ (quality assurance-QA) และการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (continual quality improvement - CQI) เข้าด้วยกัน

1)  การบริหารความเสี่ยง คือ การค้นหาโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง การ

ประเมินความเสี่ยง การวางมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือลดความสูญเสีย และการดำเนินการเมื่อเกิดความสูญเสียขึ้น.

2)  การประกันคุณภาพ คือ การวางระบบเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการ

ปฏิบัติงานตามมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติที่กำหนดและมีผลลัพธ์ตามที่คาดไว้  ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐาน การวัดผลการปฏิบัติ และการปรับปรุงแก้ไขเมื่อไม่มีการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดหรือผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาด

3)  การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง คือ การใช้กระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ

                                    การพัฒนาคุณภาพจะต้องทำควบคู่กันไปทั้งในด้านวิชาชีพ และระบบงาน การมีผู้ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเข้าไปให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะจะทำให้พัฒนาไปได้ถูกทิศทางยิ่งขึ้น

4.6 การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) การประเมินคุณภาพ คือ การ

ตรวจสอบระบบงานและสิ่งที่ปฏิบัติ กับข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล ซึ่งจะทำโดยโรงพยาบาล(Self Assessment) และโดยผู้ประเมินภายนอก (External Survey)

1)  การประเมินคุณภาพโดยโรงพยาบาล (Self Assessment)

เป็นการประเมินตนเองเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ และตรวจสอบความพร้อมที่จะได้รับการประเมินและรับรองจากภายนอก  การประเมินตนเองของโรงพยาบาลควรประเมินโดยทีมที่เกี่ยวข้อง โดยควรครอบคลุมการประเมินเพื่อค้นหาโอกาสพัฒนา การตรวจเยี่ยมเพื่อสังเกตการปฏิบัติงานจริง การทบทวนแนวคิด  แนวทางปฏิบัติ การปฏิบัติงานจริง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง การใช้แบบประเมินตนเองเพื่อบันทึกและวิเคราะห์ระบบงานตามข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล 

2)   การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก (External Survey)

การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอกมี 3 ลักษณะ คือ การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาล การประเมินเพื่อพิจารณารับรอง  และการประเมินหลังการรับรอง

(1)   การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาล (Preparation

Survey) เป็นการประเมินเพื่อดูว่าโรงพยาบาล ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามข้อกำหนดในกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ มีประเด็นความเสี่ยงที่ชัดเจนหลงเหลืออยู่หรือไม่  โรงพยาบาลจะขอให้มีการทำ pre-survey ต่อเมื่อผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับที่มั่นใจว่าได้มีการพัฒนาตามมาตรฐานโรงพยาบาลในประเด็นสำคัญๆ ครบถ้วน  ผลการประเมินในขั้นตอนนี้คือการให้คำแนะนำเพื่อให้โรงพยาบาลนำไปปรับปรุง  การประเมินความพร้อมอาจจะทำเป็นระยะๆ หลายครั้ง จนกว่าจะมั่นใจว่าโรงพยาบาลมีความพร้อมเต็มที่สำหรับการประเมินเพื่อรับรอง

                                    (2) การประเมินเพื่อพิจารณารับรอง (Accreditation Survey) คือการไปรับทราบหลักฐานและความจริงว่าโรงพยาบาลได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล สิ่งที่ระบุไว้ในนโยบาย/คู่มือการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงจากการประเมินความพร้อม เครื่องมือสำคัญที่ผู้ประเมินภายนอกจะใช้คือข้อมูลที่โรงพยาบาลประเมินตนเองตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ซึ่งผู้ประเมินภายนอกจะต้องศึกษาล่วงหน้าก่อนที่จะไปประเมินในพื้นที่  เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของมาตรฐานซึ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประเมินจะเน้นกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยและการบริหารองค์การ เพื่อตอบคำถามต่อไปนี้

-          มีการออกแบบหรือจัดระบบงานไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่(system

 design)

-          มีการปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้หรือไม่ (deployment)

-          มีการประเมินผลกระบวนการเหล่านั้นหรือไม่ผลการประเมินเป็นอย่างไร

 (assessment & result)

-          โรงพยาบาลกำลังพยายามปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนหรือไม่

(continual  improvement)

ข้อสรุปจากการประเมินคือจุดแข็งของโรงพยาบาล ข้อเสนอแนะสำหรับการ

พัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล  ข้อเสนอแนะมี 2 ประเภทได้แก่:

-          ข้อเสนอแนะประเภทที่ 1 คือข้อเสนอแนะซึ่งมีผลต่อการรับรองคุณภาพ

ในครั้งนี้ โรงพยาบาลจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนจึงจะได้รับการรับรอง  การติดตามผลการแก้ไขปรับปรุงอาจจะเป็นการดูรายงานหรือการ survey ซ้ำเฉพาะเรื่อง (focused survey)

-          ข้อเสนอแนะประเภทที่ 2 คือข้อแนะนำเพื่อให้โรงพยาบาลพัฒนา

อย่างต่อเนื่องไปสู่ความเป็นเลิศ  การได้รับข้อแนะนำประเภทนี้ไม่มีผลต่อคำตัดสินการรับรองในครั้งนั้น แต่อาจจะนำมาพิจารณาในการประเมินรอบต่อไปว่าได้นำข้อแนะนำเหล่านี้มาพิจารณาเพียงใด

                                    (3)  การประเมินหลังการรับรองมี 3 ลักษณะได้แก่:

-          การประเมินเฝ้าระวัง  (Surveillance Survey) เป็นการประเมินตาม

กำหนดเวลาทุก 6-12 เดือน โดยเน้นประเด็นสำคัญหรือประเด็นที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาในภาพรวม

-          การประเมินเมื่อมีปัญหา (Unscheduled Survey)   เป็นการประเมินเมื่อ

ได้รับทราบว่าอาจจะมีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยหรือความปลอดภัย

-          การประเมินเมื่อมีการปรับเปลี่ยน  (Verification Survey) ได้แก่ การเปิด

บริการ การขยายบริการ การเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้บริหารระดับสูง  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โรงพยาบาลจะต้องแจ้งให้ทราบภายใน 30 วัน และจะมีการประเมินซ้ำเพื่อยืนยันการรับรองหากอายุการรับรองยังมีเหลือมากกว่า 9 เดือน โดยอายุการรับรองจะไม่ขยายมากกว่าเดิม

4.7   การรับรองโรงพยาบาล

การรับรองโรงพยาบาล คือการรับรองว่าโรงพยาบาลมีการจัดระบบงานที่ดี เอื้อต่อ

การให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย  มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้มีคุณภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ตัดสินให้การรับรองโรงพยาบาล คือคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง พรพ. แต่งตั้งขึ้น

คณะกรรมการจะตัดสินโดยพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากผู้ประเมินภายนอก  ลักษณะของการรับรองมีดังนี้

1)   รับรอง 2 ปี สำหรับโรงพยาบาลที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐาน

ได้ครบถ้วน  บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ไม่มีความเสี่ยงที่ชัดเจน มีหลักฐานของความพยายามในการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

       2)   ไม่รับรอง  สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน

โรงพยาบาลได้ครบถ้วน ยังมีความเสี่ยงปรากฏอย่างชัดเจน

2.4.4.8 ประสิทธิภาพในการพัฒนาคุณภาพ

                        เราสามารถพัฒนาคุณภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

1)      ใช้แนวคิดความเรียบง่าย (simplicity) ในการทำงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน ใช้

แนวคิดและกลยุทธ์มากกว่าการลอกเลียนแบบ

2)      ทำในจุดที่ใกล้ผู้ป่วย แก้ปัญหาทันที เช่น การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกันเพื่อ

ทบทวนปัญหา/โอกาสเกิดปัญหา/การตอบสนองของผู้ป่วย การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นไปของผู้ป่วยที่สำคัญ

3)      การเลือกทำในสิ่งที่สำคัญ ด้วยตระหนักในความจำกัดของคนเวลาและทรัพยากร

อื่นๆ

4)      การทำเป็นลำดับขั้น

2.4.4.9 การพัฒนาและประเมินองค์การ   

                        ในการพัฒนาและประเมินองค์การ มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างเชื่อมโยงกัน 3 ประการคือ

1)   สถานการณ์เฉพาะหรือบริบทขององค์การ (context) ได้แก่ หน้าที่ เหตุผลของ

การจัดตั้งองค์การ และปัญหาที่ท้าทายขององค์การ

2)   เกณฑ์หรือมาตรฐาน(criteria/standards) ซึ่งจะระบุสิ่งที่ควรมีควรปฏิบัติ และ

เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติเป็นรูปธรรมของการปฏิบัติที่สามารถประเมินความเหมาะสม ความครอบคลุมและผลลัพธ์ของการปฏิบัติได้

3)   ค่านิยมและแนวคิดหลัก(core value  concept)ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องกำกับอยู่ในใจ

ตลอดเวลา ในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ

2.4.4.10  ค่านิยมและแนวคิดหลัก ( Core Value & Concept )

                        กระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ( Hospital  Accreditation ) ดำเนินการภายใต้ค่านิยมและแนวคิดหลักต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและนำมาปฏิบัติในองค์การที่ประสบความสำเร็จ ค่านิยมและแนวคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาองค์การซึ่งจะต้องกำกับอยู่ในใจและสอดแทรกอยู่ในทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ทุกคน เป็นสิ่งที่จะเชื่อมโยงการนำข้อกำหนดหรือมาตรฐานต่างๆ ไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การเป็นสิ่งที่จะใช้ควบคู่กับข้อกำหนดหรือมาตรฐาน ทั้งในขั้นตอนของการพัฒนา และการประเมินองค์การ

                        ค่านิยมและแนวคิดหลักชุดนี้เป็นสิ่งที่ใช้ปฏิบัติอยู่ในกระบวนการ Hospital  Accreditation ซึ่งนำเอาแนวคิด Total Quality Management มาเป็นพื้นฐานในการดำเนินการ โดยปรับให้เหมาะกับบริบทของระบบบริการสุขภาพ และปรับให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามแนวคิด Performance Excellence ใน MBNQA และแนวคิดงานสร้างเสริมสุขภาพ

                        ในการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สิ่งที่จะมีการเปลี่ยนแปลงคือตัวข้อกำหนดหรือมาตรฐานเป็นหลัก ขณะที่ค่านิยมหลักและแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่าเนื่องจากเป็นหลักการที่ฝังลึกและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

คำสำคัญ (Tags): #hospital accreditation
หมายเลขบันทึก: 189926เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท