ศูนย์การเรียนนอกระบบ


สพท.พังงา

แนวทางการจัดการศึกษา

 

                   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 หมวดที่ 3  ระบบการศึกษา มาตรา 15  การจัดการศึกษาที 3 รูปแบบ  คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  และการศึกษาตามอัธยาศัย

                        การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตร  จะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา  และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มสถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง  หรือทั้งสามรูปแบบก็ได้  ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่ง  ให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544  เมื่อวันที่  2  พฤศจิกายน  2544  โดยยึดหลักความมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น  มีสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  จัดไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ความเป็นไทย  ความเป็นคนดี  การดำรงชีวิต  การประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ  สถานศึกษาจัดทำสาระในรายละเอียดเป็นรายปี/รายภาค  ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น  และประเทศชาติ  เพื่อให้ผู้อ่านเห็นความสัมพันธ์ เชื่อมโยง  ร่วมทั้งลำดับขั้นตอนของเนื้อหาสาระ

                        ศูนย์การเรียนนอกระบบ เพื่อน้องในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา   จึงจัดทำกรอบแนวทางหลักสูตรสถานศึกษาในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบ  โดยมีสาระสำคัญของหลักสูตรดังนี้

หลักการ

                        เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ  จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ดังนี้

1.เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ  มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับ

ความเป็นสากล

2.เป็นการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค

และเท่าเทียมกัน  โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดย

ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

 

- 4 -

 

4.เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ  เวลา  และการจัดการเรียนรู้

5.เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

 สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

 

จุดมุ่งหมาย

                        หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เป็นคนดี  มีปัญญา  มีความสุข และมีความเป็นไทย  มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ  จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้

1.      เห็นคุณค่าของตนเอง  มีวินัยในตนเอง  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของ

พระพุทธศาสนา  หรือศาสนาที่ตนนับถือ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์

2.      มีความคิดสร้างสรรค์  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  รักการเขียน  และรักการ

ค้นคว้า

3.      มีความรู้อันเป็นสากล  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทาง

วิทยาการ  มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ  การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด  วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์

4.      มีทักษะและกระบวนการ  โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ทักษะ

การคิด  การสร้างปัญญา  และทักษะในการดำเนินชีวิต

5.      รักการออกกำลังกาย  ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

6.      มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค  มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็น

ผู้บริโภค

7.      เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทยภูมิใจในความเป็นไทย  เป็นพลเมืองดี

ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

8.      มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  กีฬา 

ภูมิปัญญาไทย   ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

9.      รักประเทศชาติและท้องถิ่น  มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

                       

 

 

 

 

- 5 -

โครงสร้างหลักสูตร

ศูนย์การเรียนนอกระบบ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

กลุ่มสาระ

ช่วงชั้นที่ 3(ม.1-3)

หมายเหตุ

 

จำนวนหน่วยการเรียนรู้

เวลาชั่วโมง

 

ภาษาไทย

3

120

 

คณิตศาสตร์

3

120

 

วิทยาศาสตร์

3

120

 

ภาษาต่างประเทศ

3

120

 

การงานอาชีพฯ

5

200

 

ประสบการณ์และทักษะชีวิต 1

4

160

 

(สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒฯธรรม)

 

 

 

ประสบการณ์และทักษะชีวิต 2

5

200

 

(สุขศึกษา พละศึกษา ศิลปศึกษา)

 

 

 

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน

-

160

 

รวมทั้งสิ้น

26

1.200

 

 

การวัดและประเมินผล

1.      สอบวัดความรู้ตามแผนการเรียนรู้ของแต่ละคน

2.      ประเมินตามสภาพจริง  เทียบโอนประสบการณ์

3.      ประเมินผลจากการรายงาน/โครงงาน

                  

เกณฑ์การจบการศึกษาภาคบังคับ

1.      ลงทะเบียนเรียนในวิชาที่เหลือหรือวิชาที่ไม่ผ่าน

2.     

หมายเลขบันทึก: 189589เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2008 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากรู้ว่าคนไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน/ทะเบียนบ้านจะเรียนได้ใหมค่ะ

ถ้าดิฉันออกกลางคันสามารถเข้าเรียนได้หรือไม่

และถ้าดิฉันยังไม่เอาวุฒิออกจากโรงเรียนเดิมเขาจะให้

ดิฉันไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท