พระนามแฝงและที่มา


พระนามแฝงและที่มา ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

      พระราชนิพนธ์  ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี 

      นั้นมีมากมาย หลายประเภท    ดังนี้ 

   บทร้อยกรอง  เช่น 

                                    สายน้ำ

            ชีวิตนี้          ผ่านไป          เหมือนสายน้ำ

            ไม่มีซ้ำ        จะหยุด          ให้สุขี

            ยิ่งผ่านไป     ทุกทิวา          ทุกราตรี

           ชีวิตมี           แต่หาย          ตายจากกัน

         บทร้อยกรอง เรื่อง  ผลแห่งการเรียน, ดุริยางค์ในราตรี, ปณิธานศัลยแพทย์, พระพุทธศาสนสุภาษิตคำโคลง, มุ่งไกลในรอยทราย, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยและกาพย์ขับไม้กล่อมพระศรีนรารัฐราชกิริณี, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยและกาพย์ขับไม้กล่อมช้างสำคัญ 3 เชือก, ฉันท์ดุษฎีสังเวยสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร, สักวาเรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่ , ความคิดคำนึง , รัก, กษัตริยานุสรณ์, นกฮูก, เดินตามรอยเท้าพ่อ

         โคลง 2 บท  ใน  กษัตริยานุสรณ์ ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ประเภทสดุดีพระมหากษัตริย์ที่ไพเราะงดงามมาก  ม.ล.พวงร้อย  อภัยวงศ์  บรรจุทำนองแล้วให้ชื่อเพลงว่า  ดุจบิดามารดร  ดังนี

                                 ดุจบิดามารดร

                        รักชาติยอมสละแม้                ชีวี

                รักเกียรติจงเจตน์พลี                      ชีพได้

                รักราชมุ่งภักดี                              รองบาท

                รักศาสน์ราญเศิกไสร้                      เพื่อเกื้อพระศาสนา

                        อันสยามเป็นบ้านเกิด             เมืองนอน

                ดุจบิดามารดร                              เปรียบได้

                ยามสุขสโมสร                             ทุกเมื่อ

                ยามศึกทุกข์ยากไร้                        ปลาตเร้นฤาควร

                    

        ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย เช่น เพลงเต่าเห่, เพลงไทยดำเนินดอย, และค้างคาวกินกล้วย 

 บันเทิงคดี   เช่น

       รวมเรื่องสั้นชุดแก้วจอมแก่น,และ รวมเรื่องสั้นชุดแก้วจอมซน,

 สารคดีท่องเที่ยว เช่น

     เสาะหาวิทยาและอาจารย์, ปริศนาดวงดาว, ทัวร์น้องโจ้, เจียงหนานแสนงาม,เกล็ดหิมะในสายหมอก, เบ่งบ่ทันเบ่งบ่หมด, ยามลมหนาว, ย่ำแดนมงกรฝันกลางฤดูร้อน, ข้ามฝั่งแห่งฝัน, เขมรสามยก, กนกนคร, ประพาสอุทยาน, เจียงหนานแสนงาม, เบอร์ลินสิ้นกำแพง,คืนฟ้าใส, เย็นสบายชายน้ำ,มุ่งไกลในรอยทราย,ใต้เมฆที่เมฆใต้ย่ำแดนมังกร,รอยยิ้มหมีขาว,แอนตาร์กติกา : หนาวหน้าร้อน, เกล็ดหิมะในสายหมอก, "ไอรัก" คืออะไร? ,ม่วนซื่นเมืองลาว,สวนสมุทร,ไทยเที่ยวพม่า,แดร๊กคูล่าผู้น่ารัก,ลาวเหนือเมื่อปลายหนาว, และ  หวงเหออู่อารยธรรม

 เรื่องแปล เช่น

      ขบวนการนกกางเขน,เก็จแก้วประกายกวี,หยกใสร่ายคำ,ทอสีเทียบฝัน,ผีเสื้อ, และเมฆเหินน้ำไหล,สาวน้อยเสี่ยวหยูว, แสงโคมของไอ้ร์เค่อ, เพียงวันพบวันนี้ที่สำคัญ

      และงานแปลเป็นบทละคร เช่น เรื่อง  ปลวก

                        และผลงานเกี่ยวกับ

 วิชาการ  และรวมพระราชนิพนธ์  

       จึงใคร่ขออัญเชิญ  พระนามแฝงและที่มา    ดังนี้

       1.  ก้อนหิน  เป็นพระนามแฝงร่วมกับนามแฝง  "ก้อนกรวด"  ของคุณกุณฑิกา  ไกรฤกษ์       มี

พระราชดำรัสว่า  "เราตัวโต  เลยใช้ว่า  ก้อนหิน  หวานตัวเล็ก  เลยใช้ว่า  ก้อนกรวด  รวมกันจึงเป็น 

 ก้อนหิน-ก้อนกรวด"

       2.  แว่นแก้ว  มีพระราชดำรัสว่า  "ชื่อแว่นแก้วนี้ตั้งเอง  เพราะตอนเด็กๆ  ชื่อลูกแก้ว  ตัวเอง

อยากชื่อแก้ว  ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน  แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา  นางเอกชื่อแว่นแก้ว"

       3.  หนูน้อย  มีพระราชดำรัสว่า  "เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า  น้อย  เลยใช้นามแฝงว่า 

 หนูน้อย"

      4.  บันดาล  มีพระราชดำรัสว่า  "ใช้ว่า  บันดาล  เพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง  เลยใช้เป็นนาม

แฝงไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย"

          นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริที่จะทรงใช้พระนามแฝงว่า  "รจนา"  เพราะโปรดตัวละครเจ้าเงาะ

  นางรจนา  ในเรื่องสังข์ทอง  แต่มิได้ทรงใช้

 

                                                           ( จาก เรียงร้อยบรรณรัตน์ )

                                                           (จาก ดวงแก้วแห่งวรรณกรรม )

หมายเลขบันทึก: 189556เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2008 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พระราชนิพนธ์คำนำ "หนังสือ เรื่อง เพียงวันพบวันนี้ที่สำคัญ

เป็นการรวบรวมเรื่องที่ข้าพเจ้าแปลไว้ในเวลาต่างๆกัน

เห็นว่าน่าจะตีพิมพ์เผยแพร่

ให้ผู้อื่นมีโอกาสอ่านวรรณกรรมต่างประเทศที่มีคุณค่า...

สาระและแนวคิดของเรื่องทั้งสาม..

เป็นการพินิจความเสื่อมสลายทางจิตวิญญาณ

ของสังคมสมัยใหม่

ที่มนุษย์ใช้วัตถุเป็นวัดความสุขในชีวิต

ปล่อยตนให้จมอยู่กับความสุขจอมปลอม

ไม่รับรู้ความเป็นจริงและปัญหาอื่นใด

หรือไม่กล้าพอที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

ของตนและของสังคม

ยึดมั่นถือมั่นผิดๆ จนถึงวาระสุดท้ายที่สายเกินแก้...

แม้จะแสดงถึงความเสื่อมสลาย

แต่ผู้เขียนก็ยังไม่ได้สิ้นหวังสิ้นศรัทธา

ในความดีงามของใจมนุษย์

ยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความรัก

เมตตาอาทรระหว่างมนุษย์

ที่จะยังให้สังคมสงบสุข ท่ามกลางความแปรผัน

ภยันตรายนานาที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่เสมอ "

สนุกมาก

อ่านแล้วเพลิดจัง

สวัสดีค่ะคุณครู เกล้าเองนะคะ

มาแวะชมเว็บคุณครู เว็บคุณครูก็สวยดีเหมือนกันนะคะ

เดียว เกล้าไปดูเว็บ พี่เบ๊นซ์ก่อนนะคะ

เดียวจะเข้ามาดูอีกทีนะคะ (อย่าลืมลงรูปด้วยนะคะ)

บะบายคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท