การกระจายอำนาจทางการศึกษา : สิ่งที่ควรระวังและเตรียมการ


การบริหารแบบรวมอำนาจ มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ “กุมอำนาจ จนส่งผลให้งานล่าช้า ไม่คล่องตัว ไม่มีประสิทธิภาพ” การกระจายอำนาจ อาจเกิดจุดอ่อนที่สำคัญ คือ การขาดความมีวินัยในการใช้อำนาจ เกิดความยุ่งเหยิงในการปฏิบัติงานได้

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 ได้ไปบรรยายเรื่อง “เครือข่ายคุณภาพ กับ การกระจายอำนาจทางการศึกษา”  ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ผู้ฟังคือคณะผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาประเภทที่ 1(โรงเรียนที่มีคุณภาพสูง ที่ได้รับอำนาจจำนวนมาก เพื่อการบริหารจัดการตนเองในอนาคต) ในเขตจังหวัดภาคใต้  ผมได้นำเสนอแนวคิดหลายเรื่อง ที่สำคัญ ๆ คือ 1) การกระจายอำนาจ คืออะไร การรวมอำนาจกับกระจายอำนาจ มีจุดเด่น จุดด้อยต่างกันอย่างไร  อะไร คือจุดอ่อนเมื่อรวมอำนาจ หรือ กระจายอำนาจ  2) การวิเคราะห์อำนาจที่ได้รับ สภาพเดิม สภาพใหม่ ควรจะแตกต่างกันอย่างไร  3) ตัวชี้วัดความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษา หลังการกระจายอำนาจ 4) แนวทางการพัฒนาคุณภาพระดับเขตพื้นที่และระดับสถานศึกษา การบีบอัดคุณภาพการศึกษา  4) บทบาทร่วมของชุมชน เส้นทางสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และ 5) แนวทางการพัฒนางานในบทบาทของเครือข่ายคุณภาพเพื่อร่วมสนับสนุนและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการกับอำนาจที่ได้รับ

ในที่นี้ ผมจะขอขยายความ 2 เรื่อง ก่อน คือ

1) การกระจายอำนาจ คืออะไร การรวมอำนาจ กับกระจายอำนาจ ในการบริหารการศึกษาของประเทศ  มีจุดเด่น จุดด้อย อย่างไร   การกระจายอำนาจ หมายถึง การให้อำนาจกับหน่วยงานหรือองค์กร ในระดับที่ต่ำกว่า   การรวมอำนาจ มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ “กุมอำนาจ จนส่งผลให้งานล่าช้า ไม่คล่องตัว ไม่มีประสิทธิภาพ”   การกระจายอำนาจ อาจเกิดจุดอ่อนที่สำคัญ คือ  การขาดความมีวินัยในการใช้อำนาจ อาจเกิดความยุ่งเหยิง ในการปฏิบัติงานได้

2) การวิเคราะห์อำนาจที่ได้รับ   นักบริหารทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา จะต้องวิเคราะห์อำนาจที่ได้รับ ซึ่งพบว่า ในขณะนี้ ได้รับอำนาจที่สำคัญ ๆ 4 ด้าน คือ  ด้านการบริหารงานวิชาการ   ด้านบริหารงานบุคคล  ด้านบริหารงบประมาณ และด้านบริหารทั่วไป   สิ่งที่เราต้องคิด คือ ในอดีต การบริหารจัดการใน 4 เรื่องนี้ มีจุดอ่อนที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการยู่ในระดับใด  มีความรวดเร็ว คล่องตัว มากน้อยเพียงใด  ถ้าเราวิเคราะห์และได้  Baseline ที่ชัดเจนแล้ว  สิ่งที่เราต้องทำให้ได้ ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา คือ สภาพการบริหารจัดการในระบบใหม่ จะต้องดีกว่า รวดเร็วกว่า  สิ้นเปลืองน้อยกว่า หรือโดยสรุป ก็คือ มีประสิทธิภาพมากกว่า ในอดีต    หากไม่เป็นเช่นนี้แล้ว การกระจายอำนาจก็ไร้ความหมาย ยิ่งถ้าก่อให้เกิดความไม่มีวินัยในการใช้อำนาจด้วยแล้ว ก็จะกลายเป็นความล้มเหลวไปในทันที.......

    ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะต้อง

  • วิเคราะห์ และกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน ให้ชัดเจน แล้วจะต้องทำงานให้ได้ตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัดเหล่านั้น
  •  วิเคราะห์ความเสี่ยงในการบริหารอำนาจ ตลอด 12 เดือน  .....อาจจะเกิดปัญหา หรือความเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง อย่างไร(BAR)
  •  จัดทำปฏิทินการกำกับติดตามงานเพื่อลดโอกาสเสี่ยง ลดโอกาสการเกิดปัญหาต่าง ๆ(บริหารความเสี่ยง) โดยอาจทำเป็นวาระการกำกับติดตามงานไว้ในวาระการประชุมประจำเดือน ทั้งนี้ ควรทำวาระหรือประเด็นที่ควรพิจารณาในที่ประชุมประจำเดือน ตลอดทั้ง 12 เดือน(หรือจัดทำเป็นวาระการประชุมเพื่อกำกับติดตามงานในรอบปีที่ชัดเจน ตลอดปี นั่นเอง)

 

หมายเลขบันทึก: 189545เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2008 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีเจ้าค่ะ

น้องจิแวะมาเยี่ยมค่ะ คิดถึงจังเลย สบายดีหรือเปล่าค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---->น้องจิ ^_^

สวัสดีปีใหมของให้มีความสุขน่ะค่ะ

ขอโทน่ะคะที่หนูเข้ามาเอาขอมูลของคุณ ดร.สุพักตร์ แต่หนูก็จะไม่ลืมเข้ามาขออุนญาก็ที่จะเอาต้องนี้หนูกำลังศึกษาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการรวมอำนาจ

(..อ่อลืมไปว่าต้องแนวนำตัวก็..)หนูเป็นคนใต้

หนูชื่อ นูรีดา

เป็นคน ยะลา

กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คุณ ดร.รู้จะไหม

หนูกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ สาม

สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์

สวัสดีครับ คุณ นูรีดา

  • ยินดีมากครับ ที่เข้ามาศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ผมเป็นคน นครศรีธรรมราช เป็นญาติกับคนยะลา นะครับ
  • ผมรู้จักมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ครับ แต่ยังไม่มีโอกาสมาเยี่ยมสักที สักวันหนึ่งคงมีโอกาส
  • เอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียนนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท