สัมมนา ถอดรหัสอัจฉริยะ: อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ณ รร.สุรนารีวิทยา


 

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน 2551 ผมไปให้สัมมนาเรื่อง

ถอดรหัสอัจฉริยะ : อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ณ โรงเรียนสุรนารีวิทยา (ดู เว็บไซต์ของโรงเรียน)

จ. นครราชสีมา

ตามหมายกำหนดการระบุไว้ว่า 9:00-11:00 น.

แต่เอาเข้าจริงไปจบตอนเที่ยงกว่าๆ...อิอิ 

 

นี่ภาพบรรยาการก่อนเริ่มการสัมมนาครับ

 

เห็นอาจารย์ท่านประกาศว่า มีนักเรียน ม.4-ม.6 ของโรงเรียน และโรงเรียนข้างเคียง
มาร่วมการสัมมนาราว 400+ คน และครูวิทยาศาสตร์อีกราว 60 ท่านครับ

 

ช่วงหนึ่งของการสัมมนา - คุณใช้ชีวิตคล้ายไอน์สไตน์เพียงใด?

ทดลองทำแบบทดสอบ (พร้อมเฉลยอย่างละเอียด) ได้ ที่นี่

แวะดู ผลการเรียนของไอน์สไตน์เมื่ออายุได้ 17 ปี 

 

นักเรียนจำนวนหนึ่งร่วมแสดงความคิดเห็น + ตอบคำถาม

(เอ้า! ถ้าเห็นรูปเพื่อน หรือรูปตัวเอง ก็ช่วยแจ้งชื่อมาให้หน่อยครับ)

 

น้องที่อยู่ในภาพต่อไปนี้ เข้าใจว่าชื่อ นัทธนันท์ แทนวิสุทธิ์ ครับ (ข้อมูลจากวารสารของโรงเรียน)

 

น้องคนนี้ดูท่าจะมีกองเชียร์เยอะ ;-)

อ้อ! ชื่อน้อง ยุ่ง สุรีรัตน์ ลือพงศ์พัฒนะ ครับ

 

 

นี่ 'ของเล่นของไอน์สไตน์' ครับ

เอาไว้จะมาขยายความทีหลัง

(ถ้าสนใจตอนนี้ ก็ไปหาหนังสือ แฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์ ของผมอ่านก่อน..อิอิ)

 

 

น้องอีกคนหนึ่งลองตอบคำถามเกี่ยวกับ ของเล่นของไอน์สไตน์

คือ น้อง ตาล ดวงกมล สุทธิแพทย์ ครับ

(น้องท่านนี้แหละที่มาถามเกี่ยวกับปริศนา สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

อ้ะ! อ่านหนังสือแนวเดียวกับผมตอนเป็นวัยรุ่นซะด้วย)

 

จบการสัมมนา ท่านผู้อำนวยการ (อาจารย์ศิลปสิทธิ์ ทับทิมธงไชย) มอบของที่ระลึก

เห็นไหม ไอน์สไตน์ยังยิ้งให้อยู่ข้างหลังเลย ;-)

 

ได้รับหนังสือของโรงเรียนที่เป็นสิริมงคลจริงๆ ครับ

และเหรียญย่าโมด้วย ที่ฝากล่องเขียนว่า 80 ปี สุรนารีวิทยาลัย

 

ท่านอาจารย์และน้องๆ จำนวนหนึ่งถ่ายรูปร่วมกัน

 

ทั้งก่อนถ่ายภาพข้างบนและหลังเก็บภาพเสร็จ ก็มีการซักถามกันต่อ

น้องบางคนถามเรื่อง ปริศนาสามเหลี่ยเบอร์มิวดา ด้วย

 

ตอบโจทย์เสร็จแล้ว ก็ถ่ายภาพร่วมกับน้องๆ "แฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์ (ตัวจริง)"

 

จากนั้นก็ไปรับประทานอาหารกับท่านอาจารย์ที่คอยดูแลผมตลอดการสัมมนาครั้งนี้ ได้แก่

ท่านอาจารย์วีณา (อ.ป้อม) - หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

อาจารย์จันทนา (อ.จัน) - รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

อาจารย์สกล & อาจารย์ลัดดา [แกนนำในการจัดการสัมมนาครั้งนี้ ;-)]

 

รับประทานอาหารเสร็จ อาจารย์สกลก็ไปส่งที่สถานีขนส่งโคราช (แห่งใหม่)

ขึ้นรถบ่าย 2 นิดๆ กลับบ้านคร้าบ! ^__^

 

 


 

 

หมายเลขบันทึก: 189520เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2008 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

มาเยี่ยมชมงานสนุกๆ ของอาจารย์ค่ะ

อาจารย์เดินสายไปภาคเหนือบ่อยไหมคะ อยากชวนไปงานหนังสือปลายปีนี้จังเลยค่ะ

สวัสดีครับคุณ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

       ทางเหนือนี่ ผมไปเชียงใหม่กับเชียงรายครับ เพราะมีเพื่อนเป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น

       ถ้าไปเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ก็ไปที่ มช. ครับ ถ้าไม่ภาควิชาฟิสิกส์ ก็สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เพราะมีเพื่อนที่เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น อย่างล่าสุดก็ไปประชุม และให้สัมมนาเรื่องเกี่ยวกับ ลมฟ้าอากาศ (คล้ายๆ กับบล็อก "ชายผู้หลงรักมวลเมฆ" นั่นละครับ)

       จะมีงานหนังสือที่เชียงใหม่หรือครับ จัดที่ไหน & มีกิจกรรมอะไรบ้างครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

งาน CMU Book Fair จัดเป็นประจำทุกปี ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ต้นเดือนธันวาคม ค่ะ ปีที่แล้วงานมหกรรมดาราศาสตร์จัดตรงกับงานหนังสือค่ะ

เร็วๆ นี้จะประชุมเตรียมงาน จะแจ้งข่าวมาในบล็อกค่ะ อาจารย์ว่างจะชวนไปเดินสายเล่าเรื่องหนังสือ (เล่ากันในสวนหย่อม)นะคะ

สวัสดีครับ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

       นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งเลยครับ ถ้ามีอะไรที่พอช่วยได้ ก็แจ้งมาได้เลยนะครับ เดี๋ยวผมจะหาโอกาสไปคุยด้วยที่บล็อกนะครับ

อาจารย์คะ ช่วยเอารูปที่ถ่ายกับเด็กๆ ในตอนสุดท้ายลงด้วยได้ไหมคะ อยากได้รูปไปใส่แฟ้มผลงานค่ะ

สวัสดีครับ

       ผมจะลองไปค้นใน CD (อยู่ที่บ้าน) นะครับ ถ้าเจอ ก็จะนำมาใส่ไว้ในบันทึกนี้ครับ

  • สวัสดีครับพี่ชิว..
  • ดูน่าตาน้องๆ อัจฉริยะ ทุกคนเลยนะค้าบ..
  • เมื่อคืนดูโฆษณาทางช่อง TPBS
  • อัจฉริยะ+อริยะ=สาวิกาสิกขาลัย

สวัสดีครับ กวิน

        โดยเฉพาะชุดสุดท้ายนี่ ดูเหมือนจะชอบไอน์สไตน์เอามั่กๆ ครับ ในอนาคตข้างหน้า อาจจะมีนักฟิสิกส์สุภาพสตรีชั้นยอดเพิ่มอีกหลายคนเป็นแน่แท้

        ขอบคุณที่ส่ง ลิงค์ สาวิกาสิกขาลัย มาให้ ได้เข้าไปดูแว้บๆ แล้วครับ พี่เคยอ่านประวัติของท่านแม่ชีศันสนีย์มาแล้วบ้าง

  • ตามพี่ชิวมาดูน้องนักเรียน
  • โรงเรียนนี้เด็กๆๆมากเลย
  • แต่ไม่ได้เห็น ผอ ท่านนี้นานมากๆๆ
  • อาจารย์ศิลปสิทธิ์ ทับทิมธงไชย
  • อิอิอิๆๆ

น้องๆ นักเรียนที่เข้าร่วมการสัมมนานี่ฉลาดและน่ารักมาก  หลายคนเป็นนักอ่านตัวยงด้วย

พอดีมีเวลาหลังการสัมมนาน้อยไปหน่อยครับ เลยยังตอบคำถามไม่ได้เต็มที่ แต่ดูเหมือนจะใฝ่รู้กันมากจริงๆ น่าดีใจแทนโรงเรียน และคุณครูผู้สอนด้วยครับ

ไม่ใช่ค่ะ เป็นภาพที่มีนักเรียนหญิง4คนค่ะ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 2ค่ะ รบกวนช่วยหาหน่อยนะคะ อยากได้ค่ะ

สวัสดีครับ

         ผมลองไปดูทุกภาพแล้ว ปรากฏว่าไม่มีครับ :(

         แสดงว่าภาพนั้นอยู่ในกล้องของคนอื่น คงต้องลองถามอาจารย์ที่ รร. สุรนารี แล้วครับว่า ภาพนั้นอยู่ในกล้องของโรงเรียนหรือเปล่าครับ

พี่ชิวครับ เห็นน้องๆแล้วอิจฉาแทนครับ สมัยก่อนเราไม่เคยมีโอกาสดีๆอย่างนี้เลยครับ ต้องเสาะหากันเอาเอง สมัยนี้มีสื่อ มีช่องทางหาความรู้มากมาย แต่เด็กบางคนกลับหลงไปกับเรื่องที่สุ่มเสี่ยงไปซะได้ ต้องชมน้องๆที่พี่ชิวไปสอนนะครับ ว่าทุกคนดูสนใจมากเลยครับ ว่าแต่อิจฉาพี่ชิวด้วยครับ แบบว่าอยู่ใกล้เด็กๆมันทำให้จิตใจเราสดใส สดชื่นครับ อิอิ

สวัสดีค่ะพี่ชิว

ตามมาเกาะติด หลังจากครั้งก่อนแวะเวียนไปอ่านผลการเรียนไอนสไตน์ไปแล้วรอบนึง น้อง ๆ โอกาสดีมากค่ะ ที่ได้มาฟังเรื่องราวของไอนสไตน์จาคนที่คลุกคลีกับผลงานไอนไตน์ :-) ตอนที่ณิชเรียน (ไม่อยากเรียกว่าสมัยก่อนแบบคุณเดอ อิอิ เดี๋ยวจะรู้อายุ)ไม่เคยได้เข้าใกล้สัมมนาแบบนี้เลยค่ะ มิน่าล่ะ ณิชเลยโตมาแบบไม่ค่อยเหมือนไอนสไตน์ --!

สวัสดีครับ เดอ นักลงทุนเงินน้อย

          อิจฉาตัวเองเหมือนกันครับ...ที่โดนห้อมล้อมไปด้วยเด็กๆ :-P

          จริงๆ แล้วถ้าผู้เข้าร่วมการสัมมนามีความตั้งใจ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเรา ก็จะสนุกทั้งนั้น 

          มีหลายกรณีที่เคยไปจัด workshop ให้คุณครู (อายุมากกว่าพี่เกือบหมดเลย..อิอิ) แต่คุณครูใฝ่รู้ และตั้งใจมาก ถามตอบกันสนุก ก็เลยมีความประทับใจในแง่บวกติดมา

          ส่วนบางกรณี เจอเด็กๆ นี่แหละ แต่ช่าง arrogant ซะเหลือเกิน ทำหน้ากวนๆ ด้วย พี่งี้ แทบจะหมดแรงเลย...เฮ้อ!

 

สวัสดีครับ ณิช Genuine

         ไม่ได้คุยกันซะนานเชียว ทำ research ไปถึงไหนแล้วเนี่ย (เดี๋ยวจะแวะไปอ่านบล็อก)

         เด็กๆ สมัยนี้มีโอกาสมากกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ในโอกาสบางอย่างมันก็มีเรื่องสุ่มเสี่ยงอย่างที่เดอว่ามานั่นแหละครับ

         ตอนท้ายๆ อย่างที่เล่าให้ฟังไปแล้ว มีน้องๆ มาถามเรื่อง Bermuda Triangle ด้วย สนุกอย่าบอกใครเชียว (เรื่องโปรดของเราเหมือนกัน...แต่ตอนนี้ชักจะเลิกๆ เชื่อไปแล้ว...แหะ...แหะ) 

 

อาจารย์ค่ะ นู๋ต้องขอโทษอย่างแรงเลยค่ะ นู๋สับสนในชีวิตเล็กน้อยถึงปานกลาง ภาพพวกนู๋ไม่ได้ติดไปกับกล้องอาจารย์หรอกค่ะ

อยากบอกว่าอยากฟังบรรยายอีกเพราะว่าอาจารย์บรรยายได้สนุกมาก และพวกนู๋ก็เข้าใจด้วย ชอบเสียงหัวเราะของอาจารย์มากเลยค่ะ ฟังแล้วอดที่จะหัวเราะตามไม่ได้

สวัสดีครับ น้อง 'ยัยตัวเล็ก'

        ไม่เป็นไรครับ ตอนนั้นรู้สึกจะมี 3-4 กล้องที่ใช้ถ่าย ผมก็จำอะไรไม่ค่อยได้เหมือนกัน ;-)

        รู้สึกดีใจมั่กๆ เลยที่ฟังเข้าใจ เวลาไม่รู้นานไปหรือเปล่า (เกินไป 1 ชั่วโมงกว่าๆ...อิอิ)

        ผมอาจจะมีโอกาสไปสอนเรื่อง การพับกระดาษ (origami) อีก ขึ้นอยู่กับว่าทางโรงเรียนจะเชิญไปไหม (เห็นอาจารย์สกลท่านว่าสนใจ)

        ยังไงลองไปดูที่นี่ก่อนได้ครับ

              โมเดลที่ผมพับเอง

              บรรยากาศการเตรียมค่าย JSTP-Origami

              แบบพับหัวใจสลาย

       หรือจะดูภาพรวมแบบพับทั้งหมดได้ครับที่

              http://gotoknow.org/blog/origami/toc

 

ปล. หัวเราะตามผมมากๆ อาจจะมีคนหาว่าเพี้ยนก็ได้นะเออ :-P 

ถึง น้อง 'ยัยตัวเล็ก'

         ลืมบอกไปว่า จะขอภาพดังกล่าวได้ไหมครับ ผมจะนำมาไว้ที่บันทึกนี้ เพื่อให้สมบูรณ์แบบที่สุด

         ขอบคุณครับ

อาจารย์ขา......

นี่นัทชนันท์ เองนะคะ รูปหนูก็ ถูกป่าวประกาศด้านบนของบล็อกไปแล้ว แฮ่ๆ

ดูรูปเพลินเชียว ดูไปดูมา เอ๊ะ มีแต่รูปกลุ่มๆหนู

เพื่อนคนที่ท่าทางจะมีกองเชียร์เยอะนี่ชื่อ ยุ่ง สุรีรัตน์ ลือพงศ์พัฒนะ ค่ะ

ส่วนอีกคนผมฟูๆ ที่ตอบปัญหาของเล่นของไอสไตน์ ชื่อ ตาล ดวงกมล สุทธิแพทย์ ค่ะ

เป็นเกียรติมากจริงๆค่ะที่พวกหนูได้ฟังบรรยายจากอาจารย์

เดี๋ยวหนูมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อะไร หนูจะมาถามอาจารย์นะคะ ^^

สวัสดีครับ น้อง นัด-นัน

        การเดินทางไป รร.สุรนารีวิทยา เมื่อวันเสาร์ที่แล้วนี่ เป็น trip ที่น่าประทับใจมากครับ ผมเองก็ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อีกหลายอย่างทีเดียว สนุกทั้งนั้นเลย

       ประทับใจทุกคนที่เข้าร่วมการสัมมนาด้วย บรรยาการการซัก-ถามดีมากจริงๆ รู้ไหมว่า ถ้าเป็นแบบนี้ วิทยากรคนไหน ก็จะมีกำลังใจทั้งนั้น หายเหนื่อยไปเลย

       น่าเสียดายที่ผมต้องรีบกลับไปขึ้นรถตอนบ่าย 2 แต่ได้คุยกับท่านอาจารย์สกลเอาไว้ว่า อาจจะมีการจัด Workshop เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในการพับกระดาษ ตอนนี้ ลองไปดูแบบพับเล่นๆ ที่นี่ก่อนครับ : แบบพับที่น่าสนใจ

       ส่วนเรื่องทางวิทยาศาสตร์ อาจไปอ่านได้ 2 แห่ง

               http://gotoknow.org/blog/science/toc

               http://gotoknow.org/blog/weather/toc

        อันที่สองนี่ ชวนดูเมฆ และเรียนรู้เกี่ยวกับ ลมฟ้าอากาศ ครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ ^__^

สวัสดีค่ะอาจารย์ วันนี้นู๋มีเรื่องที่สงสัยจะมาถามอาจารย์ค่ะ คือมีหลายคนพูดกันว่า คนบ้ากับคนอัจฉริยะมีเพียงเส้นบางๆกั้นไว้ เพราะอะไรเขาถึงพูดกันอย่างนี้คะ แล้วอย่างนี้เราจะแยกคนบ้ากับคนอัจฉริยะออกจากกันได้ยังไงคะเนี่ย

สวัสดีครับ น้อง 'ยัยตัวเล็ก'

     มีนักจิตวิทยาท่านหนึ่ง คือ ดร. วัลลภ ปิยมโนธรรม เคยกล่าวไว้ทำนองนี้ครับ

            คนบ้า เอาแต่คิดๆๆๆ เรื่อยเปื่อย โดยไม่ลงมือทำให้เห็นจริง
 
            อัจฉริยะ คิดเยอะมากๆๆๆ และอาจคิดแปลกๆ ด้วย แต่ลงมือทำให้เห็นจริง และมีคนยอมรับในผลงานนั้น

            พอจะเห็นภาพชัดขึ้นไหมครับ?

            มีเกณฑ์ตัดสินแบบอื่นอีกไหมครับ - ลองคิดและทำให้เห็นจริงดูหน่อย ;-)

  • สวัสดีครับพี่ชิวผมเคยอ่านประวัติ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นิดหน่อยนะครับพี่ชิวรู้สึกประทับใจว่าด้วยเรื่อง สภาราชบัณฑิตย์ แห่งเทือกเขาโอลิมปัส
  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ฐานะไม่ค่อยดีเลยต้องหารายได้พิเศษด้วยการรับสอนวิชาฟิสิกส์ให้กับนักศึกษา
  • แต่ภายหลังก็ไม่ได้คิดค่าสอน ลูกศิษย์สองคนที่มาเรียนกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผมจำชื่อไม่ได้แล้วแต่คนหนึ่ง ต่อมาทำงานด้านหนังสือพิมพ์ อีกคนหนึ่งต่อมาน่าจะเป็นอาจารย์สอนด้านฟิสิกส์
  • ลูกศิษย์ทั้งสองนั้นเป็นทั้งลูกศิษย์และก็เป็นเพื่อนกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไปด้วย
  • ทั้งสามได้ร่วมกันถกเถียงถึงประเด็นข้อสงสัยในทฤษฎีทางฟิสิกส์  การถกเถียงของพวกเขาทั้งสามนั้นเรียกกันตลกๆภายในกลุ่มว่า คือการประชุม สภาราชบัณฑิตย์ แห่งเทือกเขาโอลิมปัส 
  • ตอนที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพก็ได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนๆ ว่า เขาได้ค้นพบทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ขึ้นแล้วอยากให้เพื่อนๆได้รู้และวิเคราะห์วิจารย์ทฤษฎีนี้ เพราะสภาราชบัณฑิตย์ แห่งเทือกเขาโอลิมปัส  ได้ว่างเว้นมานานเกินไปแล้ว อะไรทำนองนี้ครับ
  • อ่านแล้วประทับใจมากๆๆ

สวัสดีครับ กวิน

          มาแล้วครับ Olympia Academy (หรือ Akademie Olympia ในภาษาเยอรมัน) หรือ ก๊วนนักคิด ของไอน์สไตน์

จากซ้ายไปขวาคือ Conrad Habicht, Maurice Solovine และ Albert Einstein ครับ

ก๊วนนี้นัดคุยกันเป็นประจำครับ เรื่องที่คุยหลักๆ เลยก็คือ ปรัชญา และฟิสิกส์ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง เฉลย - คุณใช้ชีวิตคล้าย Einstein แค่ไหน? ข้อ 7)

โดยเฉพาะคนกลางคือ Solovine นี่ ไอน์สไตน์เขียนจดหมายติดต่อด้วยยาวนานถึง 49 ปี! (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง เฉลย - คุณใช้ชีวิตคล้าย Einstein แค่ไหน? ข้อ 3)

ตามประวัติบอกว่า หลังจากถกกันอย่างหนักแล้ว ก็จะรับประทานอาหาร (แบบคนจนๆ) ด้วยกัน จากนั้น Einstein ก็จะเล่นไวโอลินให้ฟัง

Romantic ดีชะมัดเลย ;-)

พี่ ตาล ลน่ารัก แถะๆ คริคริ !~*

เป็นรุ่นน้องของ ตาล-ดวงกมล หรือครับ

ตอนนี้ตาลเขาอยู่ชั้นอะไรแล้วเนี่ย?

ม.6ค่ะ 555

พี่ตาลเรียนเก่งมาก !!

ขอบคุณครับ น้อง 555

        ฝากความระลึกถึงตาล นัทธ์ และท่านอื่นๆ ด้วยครับ ^__^

อาจารย์ลัดดา กับ อาจารย์จันทนา

นี่สวยมากกกกกกเลยนะคะ

ไม่น่าเชื่อว่าจะมีครูสวยๆแบบนี้สอนวิทย์

ทั้งสวยทั้งสอนดียั่งงี้รักตายเลยโดยเฉพาะอาจารย์ลัดดายิ่งมองยิ่งเพลินชอบๆๆๆสวยที่สุด

 

(หนูไม่ใช่พวกถ้ำมองนะคะแต่ทำไงได้ครูเค๊าลวยจริงๆนี่)

หนูอยากเป็นเด็กอ.ลัดดาบ้างจะทำไงดี

สัมมนา ไปมาเหมือนกันครับ ได้รับความรู้ไปเต็มอิ่มเลย อาจารย์สอนสนุกมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท