มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะปลูกพืชทางเลือกใหม่


สถานการณ์การปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืชในพื้นที่ของเกษตรกรเปลี่ยนไปเร็วมาก

       เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา  ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที D.W ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 4 อำเภอสายเหนือของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ อำเภอหัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด และกุยบุรี  ซึ่งประเด็นที่พวกเราได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็คือ  " การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะปลูกพืชทางเลือกใหม่ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร"

       ทำไมพวกเราจึงเลือกประเด็นนี้มาเข้าเวที คำตอบก็คือ เพราะสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืชในพื้นที่ของเกษตรกรเปลี่ยนไปเร็วมาก

       จากแหล่งปลูกสับปะรดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขณะนี้พื้นที่เหล่านั้นเริ่มลดลงโดยมี ยางพาราและปาล์มน้ำมันเข้ามาปลูกแซม หรือปลูกทดแทนในพื้นที่ปลูกสับปะรดเดิมเลยก็มี โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งตะวันตกที่ติดเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก 

       เมื่อเหตุการณ์เลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรก็จำเป็นต้องปรับตัวและหาแนวทางการทำงานให้ทันกับสถานการณ์ ซึ่งจากการระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็ได้ข้อสรุปในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะปลูกพืชชนิดใหม่ ได้ดังนี้

       1. การสำรวจข้อมูลการเพาะปลูกในพื้นที่ เพื่อได้ทราบพื้นที่ปลูกพืชและแนวโน้มการลดหรือเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชแต่ละชนิด  ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำแนวทางส่งเสริมต่อไป  สำหรับการสำรวจข้อมูลนี้อาจจะต้องบูรณาการกับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติหรือประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนสำรวจพื้นที่เพาะปลูก

       2. ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำเกษตรกร ในการพิจารณาตัดสินใจปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืช โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่

       3. การศึกษาความเหมาะสมของสภาพดิน อากาศ และแหล่งน้ำ ต่อการเพาะปลูกพืช เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับแนะนำส่งเสริมการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

       4. การพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เพราะที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีองค์ความรู้เรื่องการเพาะปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ไม่มาก จึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องเหล่านี้เพื่อสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาที่ดีแก่เกษตรกรได้

       อย่างไรก็ตาม บทบาทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ต้องมีการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกพืชและแนวโน้มของตลาดทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการปลูกพืชด้วย ดังนั้น เมื่อแนวโน้มว่าพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดจะลดลงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ความต้องการผลผลิตสับปะรดยังคงเดิม จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่จะต้องส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีศักยภาพการผลิตสับปะรดให้สามารถเพิ่มผลผลิตสับปะรดต่อไร่ให้มากขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดต่อไปด้วย สรุปก็คือ เจ้าหน้าที่ต้องตั้งรับกับการส่งเสริมพืชใหม่ควบคู่ไปกับการรักษาและพัฒนาการผลิตพืชเดิมให้ดีกว่าเดิม

หมายเลขบันทึก: 189133เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2008 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ผมเคยดูในโทรทัศน์เรื่องของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด
  • ที่ประจวบ ราคาผลผลิตตกต่ำมากๆ ต้องกู้เงินมาลงทุน
  • แล้วก็ขาดทุนทุกปี เป็นหนี้เป็นสินสะสมมาเยอะมากๆ
  • รู้ตัวว่าทำไปก็ขาดทุนแต่ก็ต้องทนทำไป
  • ให้เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นก็ทำไม่เป็น
  • เพราะเกิดมาก็เห็นแต่สับปะรด
  • ปลูกกันมาแตรุ่น ปู่-ย่า ตา-ยาย

เป็นผลของการทำ เกษตรเชิงเดี่ยว อย่างที่โฆษณาในโทรทัศน์

ดีมากๆที่ "คุณมุ่ยฮวง" ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด

ได้มีโอกาสให้ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่

ได้เป็นที่พึ่งของเกษตรกรครับ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณรินทร์
  • ที่จริงแล้วปัญหาต่างๆ ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดที่ประจวบฯ นั้น เป็นวัฏจักรที่เกษตรกรมักคุ้นเคย และรู้ตัวล่วงหน้าค่ะ เช่น ปัญหาเรื่องราคาตกต่ำจะเกิดขึ้นเมื่อผลผลิตออกมาก ซึ่งใน 1 ปีมักจะเกิดเหตุการณ์นี้ 1 ครั้ง (เกษตรกรไม่สามารถคุมการออกผลสับปะรดได้เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้เกิดผลพร้อมๆ กัน) และเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น จากนั้นก็จะหมดปัญหา ราคาก็กลับมาดีเช่นเดิม ดังนั้นปัญหานี้จะมีผลกระทบกับเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ปลูกสับปะรดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ พอสับปะรดราคาดีก็ปลูก (ปลูกพร้อมๆ กัน ผลผลิตก็ปะดังออกพร้อมๆ กัน) พอเจอราคาผลผลิตตกต่ำก็เลิกปลูก ก็ทำให้หนี้สินที่ลงทุนไปจมลงไปอีก
  • แต่ถ้าเป็นเกษตรกรมืออาชีพ (ปลูกสับปะรดตลอด และทยอยปลูก จะสามารถบังคับผลผลิตให้ออกได้ตลอดปี) เมื่อเจอปัญหาราคาตกต่ำเพียงช่วงเดียว ก็ไม่กระทบต่อรายได้เท่าไร เพราะในช่วงอื่นสับปะรดได้ราคาดี
  • แต่ถ้าถามว่าปัญหาที่เกิดมาจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือไม่ ก็ตอบว่าอาจจะใช่สำหรับบางกรณี แต่ที่สำคัญขึ้นอยู่กับบริหารจัดการของเกษตรกรมากกว่า เพราะมีเกษตรกรที่ปลุกสับปะรดอย่างเดียวแต่ประสบความสำเร็จมากก็เยอะ เพราะเขาจัดการกับการควบคุมการผลิตและจัดการกับการลดต้นทุน เช่นใส่ปุ๋ยให้ถูกวิธี ก็เป็นการลดต้นทุนได้มากค่ะ

นับว่าเกษตรกรชาวประจวบฯโชคดีจริงครับ

ที่มีคุณมุ่ยฮวงคอยดูแลครับ

^_^!

พี่ฮวงขอบคุณมากที่ส่งมาอบรม สนุกมากได้เพื่อนเยอะเลยได้ความรู้มากๆจะนำกลับไปพัฒนาตนเอง

พี่ฮวงขอบคุณมากที่ส่งมาอบรม สนุกมากได้เพื่อนเยอะเลยได้ความรู้มากๆจะนำกลับไปพัฒนาตนเอง

เป็นแนวทางดีมากครับ

ขอบคุณมากที่นำมาฝากกัน สู้สู้ ลุยต่อเด้อพวกเราชาวส่งเสริมสักวันหนึ่ง

เขาคงเห็นใจเราชาวส่งเสริมเกษตร

เด่จายมั๊กมากที่ดัยเกิดเท่ประจวบฯ

คนจวบจายเด่บร้า..

อยากเชิญชวนหัยทุกๆโคนมาเท๋วประจวบฯกาน

ทุกคนเปงกานเองน๊ะคร้า..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท