ความพอเพียงกับสังคมที่ไม่เพียงพอในปัจจุบัน (1)


สังคมเมืองกำลังมีปัญหาเรื่องเด็กอ้วน แต่ในอีกซอกมุมหนึ่งของเมืองกลับกัน ก็กำลังเผชิญกับปัญหาปากท้อง เด็กเล็กๆ บางคนขาดสารอาหาร เป็นโรคโลหิตจาง

ความพอเพียงกับสังคมที่ไม่เพียงพอในปัจจุบัน (1)

สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆ ในโลก gotoknow ใบนี้ ผมหายไปจากการจดบันทึกไปนานมาก เพราะต้องการจะตกผลึกความคิดบางอย่างก่อนที่จะนำมาจดเอาไว้ในบันทึกนี้เพื่อให้ทุกๆคนได้ร่วมแบ่งปันและแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนด้วย ไม่กี่วันก่อนให้คำปรึกษาลูกชาย(ตอนนี้อยู่ ป5)เรื่องทำรายงานวิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ GMO การเพิ่มผลผลิต และการตัดแต่งเนื้อเยื่อ ทำให้ผมเกิดความรู้สึกอยากเขียนบันทึกเกี่ยวกับความพอเพียงขึ้นมา

จากการที่ได้อ่านหนังสือและข้อมูลต่างๆทั้งใน www. ต่างๆ รวมถึง gotoknow ด้วย และยังรวมไปถึงการได้รับฟังข้อมูลจากทางสื่อต่างๆ บวกกับสิ่งต่างๆที่เราเรียนรู้มาจากประสบการณ์ของตัวเองผมว่าสังคมเราเวลานี้มันบิดเบี้ยวเข้าไปทุกที มันไม่มีความเพียงพอเลยหรือ ความห่างกันระหว่างชนชั้น (ทั้งๆที่ทุกคนบอกว่าไม่มีแล้วการแบ่งชั้นวรรณะ) ก็ห่างกันมากขึ้นทุกที ตรงนี้พิสูจน์ได้ชัดเจนจากงานวิจัยเรื่องเด็กอ้วน สังคมเมืองกำลังมีปัญหาเรื่องเด็กอ้วน แต่ในอีกซอกมุมหนึ่งของเมืองกลับกัน ก็กำลังเผชิญกับปัญหาปากท้อง เด็กเล็กๆ บางคนขาดสารอาหาร เป็นโรคโลหิตจาง

เรามีปัญหาเรื่องที่จอดรถ การจราจรติดขัด แต่กับบางคน พวกเค้ากำลังเดือดร้อนอย่างหนักเรื่องค่ารถโดยสารสาธารณะขึ้นราคา  บางคนไม่มีเสื้อผ้าใส่  แต่บางคนก็ตัดสินใจไม่ถูกไม่รู้จะใส่ชุดไหนไปโชว์ในงานเลี้ยงดี บางคนไม่มีที่จะอยู่หรือค้างค่าเช่าจนเจ้าของบ้านจะไล่ออกอยู่แล้ว ในขณะที่บางคนก็ต้องไปพักผ่อนตากอากาศที่บ้านพักตากอากาศตามเมืองต่างๆ หรือแม้แต่ในต่างประเทศ

และยังมีอีกสารพัดตัวอย่างที่ตอกย้ำถึงความห่างกันระหว่างสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ

เวลานี้พ่อค้า นักธุรกิจ นักวิชาการ นักเก็งกำไร  พูดถึงแต่ผลประกอบการของบริษัทว่าต้องเท่านั้นเท่านี้ ในปีนั้นปีนี้ ถ้าบริษัทเราหรือประเทศเราเศรษฐกิจไม่ขยายไม่เติบโตจะเกิดนั้นเกิดนี้ ตามมา นักลงทุนจะไม่เข้ามาลงทุน บริษัทจะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด และอีกมากมาย จนผมกำลังมองว่า สิ่งเหล่านี้เรารับมาจากทฤษฏีทุนนิยมตะวันตกทั้งสิ้น เราไม่รู้จักการแบ่งปันกันแล้วเหรอ เรายังไม่เข้าใจปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง กันเลย ทำไว้กินไว้ใช้เหลือแล้วค่อยนำไปขายหรือแบ่งปันกัน นี้คือความพอเพียง เวลานี้เราทุกคนใช้ทุกอย่างอย่างไม่พอเพียง ไม่รู้จักเพียงพอ พวกเราถึงต้องมานั่งวุ่นวายเดือดร้อนเรื่องโลกร้อนเอย วิกฤตพลังงานเอย ค่าน้ำมันแพงเอย วิกฤตอาหารของโลกเอย แขกอาหรับจะเข้ามาลงทุนทำนา โดยจ้างชาวนาไทยทำนา เอย ทุกอย่างเกิดจากเราทำตัวเองทั้งนั้น

ผมเคยอ่านเจอในหนังสือฉบับหนึ่ง มีคนให้ความเห็นว่า ให้ทุกคนลองสำรวจตู้เสื้อผ้าของตัวเองดูว่ามีเสื้อผ้ากี่ชุดที่คุณใส่แค่1-3ครั้งให้เอาออกมา ใส่ 4-10 ครั้งให้เอาออกมา แล้วเพิ่มจำนวนครั้งไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายคุณจะเห็นว่าตู้เสื้อผ้าของคุณจะโล่งไปมากเลย เมื่อเหลือแต่ชุดที่คุณใส่เป็นประจำๆ เท่านั้น นี้ก็อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ถ้าผลิตออกมาเพียงเท่าที่จำเป็น ก็ใช้วัตถุดิบน้อยลง แค่ระบบธรรมชาติปกติก็พอแล้ว ไม่ต้องไปพึ่งฝ้าย GMO ให้ปวดหัว ซึ่งก็มีงานวิจัยออกมารองรับแล้วว่า แมลงสามารถปรับตัวรับมือกับฝ้ายชนิดนี้ได้แล้ว และพวกเราก็จะใช้พลังงานน้อยลง วิกฤตพลังงานก็จะเกิดช้าลง

ถ้าเราลองนึกย้อนกลับไปซักแค่ 30-40 ปี ณ.เวลานั้นถ้าใครบอกว่าต้องผลิตน้ำเปล่าที่ใช้ดื่มออกมาขาย ผมว่าทุกคนต้องบอกว่าคนนั้นบ้าแน่นอน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้ก็คือ เกือบทุกคนซื้อน้ำเปล่ามาดื่มกิน แถมยังแข่งกันในเรื่องยี่ห้อและแพ็คกิ้งอีกต่างหาก ทั้งๆที่ต้มน้ำที่บ้านแล้วกรอกใส่ขวดเอาไว้ก็ดื่มกินได้เหมือนกัน นี้ก็น่าจะเป็นอีกตัวอย่างของความไม่เพียงพอ

เมื่อเพื่อนๆอ่านถึงตรงนี้ทุกคนอาจจะตั้งคำถามว่า แล้วผมทำอะไรบ้างแล้วยัง ผมก็จะขอตอบว่า ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ทำทุกอย่างเหมือนที่ทุกๆคนทำกัน เพียงแต่ ณ.เวลานี้ผมกำลังคิดว่าผมคงต้องเริ่มทำอย่างที่ผมคิดและเขียนในบันทึกฉบับนี้แล้ว เริ่มช้าแต่ก็ดีกว่าไม่เริ่มเลย เหมือนกับการเขียนบันทึกในฉบับแรกของ และชื่อของ Blog ของผม ชื่อว่า จุดเริ่มต้น

ถึงตอนนี้ผมอยากให้ลูกของผมทั้งสองคนเป็นคุณครูในระดับประถมครับ เพื่อที่พวกเค้าจะได้สอนนักเรียนตัวเล็กๆ ให้รู้จักคิดและทำแต่สิ่งดีๆ ให้รู้จักการให้และการแบ่งปันความสุขครับ

ผมคงมาต่อภาค 2 และภาคต่อๆไป ในวันหน้า เพราะรู้สึกว่าตัวเองเขียนแล้วมันเครียดๆ กลัวว่าคนอ่านจะเครียดไปด้วย ฉบับหน้าตั้งใจจะเขียนให้สนุกกว่านี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 188987เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาอ่าน
  • การสอนให้เด็กๆๆคิดเป็นนี้น่าสนใจนะครับ
  • ทำอย่างไรให้เด็กๆๆสนุกคิด
  • ทำความดีแก่สังคม
  • รออ่านอีกนะครับ

เป็นประเด็นที่ดีน่าจะช่วยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ เราคนทั่วๆไปที่พอมีพอกินไม่ลำบากขัดสนมักจะลืมคิด พอยิ่งมีมากขึ้นๆเพราะไม่ได้ติดอยู่ในวงจรยากจน ก็ยิ่งลืมคิดไปใหญ่ เผลอเพลิดเพลินกับสิ่งที่เรามีเราใช้ มีเกินพอดี แบ่งปันน้อยเพราะมองแต่คนที่มีมากกว่า ฯลฯ ถ้าเราช่วยกันกระตุ้นเตือนก็จะช่วยให้คิดมากขึ้น มองให้รอบด้านมากขึ้น พี่เชื่อว่าคนทั่วไปมีจิตสำนึกที่ดี แต่ไม่มีอะไรมากระตุกให้คิดน่ะค่ะ สังเกตดูสิว่าเวลามีข่าว มีโฆษณาคนลำบากยากจนต้องการความช่วยเหลือ คนก็เฮกันให้เสียมากมาย แต่จริงๆคนลำบากลำบนอยู่แถวๆรอบๆบริเวณที่แต่ละคนอยู่ที่ต้องการความช่วยเหลือก็คงจะมี แต่เราไม่เคยรู้

เขียนอีกนะคะ คุณหนึ่ง ตอนนี้ถึงแม้จะมีคนอ่านน้อยอยู่ แต่ถ้าเรามั่นคงในสิ่งที่ต้องการถ่ายทอด ทำไปเรื่อยๆเท่าที่เราทำได้ เราก็จะช่วยให้เกิดสิ่งดีๆที่เราอยากให้มีได้แน่ๆค่ะ ดีกว่าคิดเฉยๆไม่ได้ลงมือทำแน่นอน จะรออ่านต่อๆไปนะคะ

ขอบคุณมากครับ อ.ขจิต การสอนให้เด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่คิดเป็นนี้เป็นโจทย์ที่โหดสุดๆเลยครับ และผมก็คิดว่าถ้าสอนตั้งแต่เด็กๆน่าจะมีผลมากกว่า

ขอบคุณสำหรับกำลังใจของพี่โอ๋มากเลยครับ จะพยายามยิ่งๆขึ้นไปครับ

ผมว่าวิธีออกค่ายอาสาหน้าจะเป็นอีกวิธีหนึงที่เด็กๆจะได้รู้จักการแบ่งปันใช่มั๊ยครับ

พี่หนึ่งครับ

ไม่เห็นจะเขียนแล้วดูเครียดตรงไหนเลยนี่นา

เรื่องประเด็นออกค่านั้น มันเปลี่ยน conceptไปมากเหมือนกันนะครับพี่ ผมรู้สึกว่ามันเป็นอย่างนั้นนะ ไปร่วมงานกัยเด็กทีไร รู้สึกว่า มันไม่ใช่นี่นา แบบว่าไปเพื่อสร้างอาคาร อะไรทำนองนั้นครับ

ครูประถม เป็นคนที่สำคัญที่สุดในการปลูกสร้างรูปแบบการคิดของเด็กๆครับ อันนี้เห็นด้วยอย่างแรง (ผมจังเอาลูกมาโรงเรียนนี้ไง) พอเข้ามัธยม มันต้องแข่งขันกันอย่างมากด้านวิชาการ (ตามกระแสสังคม) ถึงตอนนั้น ถ้า process ของเด็กดี การพัฒนาก็จะไปได้เร็ว

ปัญหาของเด็กมัธยมตอนนี้ก็คือ ไม่เรียนในระบบ ต้องเรียนพิเศษ ไมรู้ว่าคุณครูในโรงเรียนจะรู้สึกอย่างไรบ้างนะพี่นะ

ขอบคุณครับคุณหมอ

ไม่รู้ว่าในหลักสูตรการผลิตครูออกมามีการสอนวิชาจิตวิทยาสอนเด็กหรือเปล่า เพราะจริงๆแล้ววิชานี้น่าจะต้องเรียนและน่าจะมีข้อบังคับลงไปเลยว่าต้องได้เกรดขั้นต่ำในวิชานี้เท่าไรจึงจะสามารถจบออกมาเป็นครูได้ เพราะการกระตุ้นเด็กให้อยากรู้ ใฝ่รู้ รู้จักคิด นั้นสำคัญมาก คุณครูที่มีความสามารถแบบนี้นั้นหายากมากเลย ไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่ก็จะสอนๆๆๆๆๆๆ อย่างเดียว

ส่วนพวกที่หัวกระทิได้เรียนทองโอลิมปิก เยอะแยะไปหมด แล้วโรงเรียนก็ดีใจ ภูมิใจว่าเป็นนักเรียนของตัวเอง เท่าที่รู้มาส่วนใหญ่แล้ว เด็กพวกนี้ไม่ได้เรียนรู้อะไรในโรงเรียนเลย มีแต่ชื่อเท่านั้นที่อยู่ในโรงเรียน ตัวก็มาโรงเรียน มายังงั้นๆแหละ เพราะวิชาที่ในห้องสอนนั้นก็เรียนไปหมดแล้วจากข้างนอก เด็ก ม4 บางคนเรียนข้างนอกไปถึงวิชาของนิสิตปี1 แล้ว นี้มาบอกว่าเด็กเหล่านี้เก่งได้เรียนทองโอลิมปิก ผมหล่ะงง เข้าใจครับว่าเด็กพวกนี้เป็นอัจฉริยะ ที่สามารถเรียนรู้อะไรได้เร็วกว่าเด็กทั่วๆไปแต่ผู้ใหญ่คิดบ้างมั๊ยว่า พวกเค้าเหล่านี้ชอบและกที่จะทำหรือเปล่า เป็นความกดดันพวกเค้าเกินไปหรือเปล่า ถ้าพวกเค้ารู้จักการลดความกดดันลงได้ พวกเค้าก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงชีวิตไปได้ แต่ถ้าไม่ก็จะเป็นข่าวหน้าหนึ่งของ นสพ.ต่างๆ แบบที่เราอ่านเจออยู่เสมอๆ ในยุคปัจจุบันนี้

ผมรู้สึกว่าเรามองกันเรื่องเกรดการเรียนมากจนเกินไปแล้วเวลานี้ แม้แต่วิชาศิลป์ดนตรี ตามดรงเรียนดนตรีทั่วๆไปก็จะเน้นสอนให้เด็กไปสอบดนตรีกัน ผู้ปกครองก็จะภูมิใจว่าลูกเราสอบระดับนั้นระดับนี้แล้ว ผมดีใจที่คุณครูดนตรีของลูกๆผมไม่มีความคิดเช่นนั้นในการสอนเด็กๆ เค้าสอนให้เด็กๆมีความอยากรู้และอยากเล่น เล่นไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปสนใจหรอกว่าเราจะอยู่ขั้นไหนแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท