ปัญหาของชาวบ้านคืองานของ กศน.


งานที่ไม่มีเจ้าภาพ

        " ปัญหาทุกอย่างของชาวบ้านคืองานของ กศน." เป็นประโยคที่ท่าน ผ.อ. กล่าวทุกครั้งที่มีการประชุมครู ศรช.ประจำสัปดาห์ และปัญหาของชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกัน ครู ศรช. ที่ประจำอยู่ในแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบลต้องไวต่อปัญหาและวิ่งเข้าใส่ อย่าวางเฉย อย่าเป็นหน่วยงานที่ตั้งรับ จะต้องวิ่งเข้าไปแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน อย่าคิดว่าธุระไม่ใช่เป็นอันขาด จึงเป็นที่มาของคำว่า " งานที่ไม่มีเจ้าภาพ" ต่อไปนี้ในเขตของอำเภอพระยืน ถ้าปัญหาไหนไม่มีเจ้าภาพเข้าไปดูแล กศน.ในพื้นที่จะต้องเข้าไปเป็นเจ้าภาพ เช่น ในกรณีปัญหาเยาวชนทะเลาะวิวาทกัน ก็หาเจ้าภาพ ไม่มี แต่ละฝ่าย ภายในหมู่บ้าน ภายในอำเภอ  ก็บอกว่าไม่ใช่ธุระ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจก็บอกว่า เป็นหน้าที่ของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โยนกันไป โยนกันมา ก็เลยหาเจ้าภาพไม่ได้ในเรื่องนี้ กศน. จึงวิ่งเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหา โดยการจัดโครงการต่าง ๆ ทุก ศูนย์การเรียนชุมชน ทั้ง 15 ศูนย์การเรียนชุมชน เช่น โครงการศึกษาดูงาน โครงการเข้าค่ายพุทธธรรม โครงการลานกีฬา เป็นต้น พวกเรา กศน.พระยืนจัดการปัญหาเยาวชนทะเลาะวิวาท จนหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาขอดูแบบอย่าง และเอาเป็นต้นแบบ รวมทั้งมาขอร่วมจัดเป็นเจ้าภาพร่วม เช่น หน่วยงานของกรมคุ้มครองสิทธิ และได้เอาพื้นที่อำเภอพระยืนเป็นกรณีศึกษาของกรมคุ้มครองสิทธิ

หมายเลขบันทึก: 188973เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจค่ะ ที่ได้เห็นหน่วยงานที่ดูแลเอาใจใส่ประชาชน ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ ตอนนี้หนูกำลังศึกษาเพื่อจะทำวิจัยเกี่ยวกับ กศน.อยู่เหมือนกันคะ เผื่อว่าจะได้แก้ปัญหาที่มีอยู่หรือว่าพัฒนาไรได้บ้างคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท