การจัดการความรู้กับงานส่งเสริมการเกษตร


การจัดการความรู้

     การจัดการความรู้ (Knowledge Management  KM)  เป็นศาสตร์ที่กำลังไก้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพงาน และได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการพัฒนาระบบราชการ ตามพระราชกฤษฎีกา ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารราชการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  มาตรา  11   ได้กำหนดไว้ว่า  “ ส่วนราชการ มีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการ -เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลในด้านความรู้ต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถาน-
การณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยน -ทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้”

       งานส่งเสริมการเกษตร เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่อาชีพของพี่น้องเกษตรกร บทบาทภาระหน้าที่ของนักส่งเสริมการเกษตร คือ ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาอาชีพเกษตรกรที่เป็นกลุ่มบุคคลจำนวนมากที่สุดของประเทศให้มีความก้าวหน้า และเกิดความยั่งยืน ซึ่งการที่จะทำให้มีความสำเร็จ หรือ บังเกิดผลสัมฤทธิ์นั้น มันมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย ทั้งบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา ศักยภาพของพื้นที่และปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่หลายหน่วยงานกำลังให้ความสำคัญ คือเรื่องความรู้ (Knowledge) เพราะพอจะกล่าวได้ว่าความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 2 ประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge ) และความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)  ความรู้ทั้งสองประเภทนี้ ถ้าหน่วยงานสามารถจัดการที่จะนำมาสกัด วิเคราะห์ สังเคราะห์ กลั่นกรอง จะทำให้ได้องค์ความรู้ที่มีคุณค่า  และกรม-ส่งเสริมการเกษตรได้นำเอาการจัดการความรู้มาใช้ดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรตั้งแต่ ปี -2548 เป็นต้นมา โดยให้การดำเนินงานเนียนอยู่ในเนื้องาน ในโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน โครงการพัฒนาองค์กรและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรในเวทีต่าง ๆ เช่น DM MM OM DW หรือแม้แต่เวทีชุมชน

      ถ้าหากจะให้งานส่งเสริมการเกษตรบังเกิดผลสัมฤทธิ์ จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจให้บุคลากรในองค์กร ได้เปิดใจ มีความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจให้เกิดศรัทธา  ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารลงมาถึงผู้ปฏิบัติที่ได้คลุกคลีอยู่กับเกษตร เพราะเชื่อว่า เครื่องมือการจัดการความรู้นี้ เป็นเครื่องมือที่ดีและมีประโยชน์อย่างยิ่ง

 

นายทองใบ  สินโท
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด
โทร. 0-4356-9004ต่อ103

หมายเลขบันทึก: 188947เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

   ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน

หวัดดีครับ

  • ยินดีต้อนรับ สู่ ชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรมส่งเสริมการเกษตร ครับ

อยากได้ข้อมูลที่นำเสนอเกี่ยวกับวิธีการจัดการความรู้ในองค์กรต่างๆมาปรับใช้ในสถานศึกษาบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท