อิทธิบาท 4 กับศิลปะ


ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น

อิทธิบาท 4 เกี่ยวข้องกับศิลปะอย่างไร

1.ฉันทะ คือมีใจรักงานศิลปะ หรือเห็นความสวยงามของศิลปะ

2.วิริยะ คือ มีความพยายามที่จะให้ผลงานศิลปะออกมาดีสวยงามหรือหมั่นฝึกฝน

3.จิตตะ คือมีสมาธิดีตั้งใจดีใจจดจ่ออยู่กับงานปฏิบัติ

4.วิมังสา คือการคิดแก้ปัญหาโดยโช้สติปัญญาในทางที่ถูก

 

นำไปเปรียบเทียบกับพระพุทธศาสนา

วิธีทำงานให้เสร็จที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้คือ อิทธิบาท 4 ได้แก่

1.ฉันทะ คือความรักงาน หรือ ความเต็มใจทำ

2.วิริยะ คือความพากเพียร หรือ ความแข็งใจทำ

3.จิตตะ คือความเอาใจใส่ หรือ ความตั้งใจทำ

4.วิมังสา คือการพินิจพิเคราะห์หรือ ความเข้าใจทำ

ฉันทะ คือควมรักงาน จะเกิดขึ้นได้ต่อเมือ่เราเล็งเห็นผลดีของงานว่าถ้าทำงานนี้เสร็จแล้วจะได้อะไร เช่น เรียนหนังสือแล้วจะได้วิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ เมือรู้อย่างนี้แล้ว เราก็จะเกิดความเต็มใจทำ

         คนสั่งงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความพอใจให้กับผู้ทำงาน ควรจะให้เขารู้ด้วยว่าทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างไร  หรือถ้าไม่ทำจะเสียผลทางไหน ผูสังงานบางคนใช้อำนาจบาทใหญ่ บางทีสั่งพลางด่าพลาง ใช้ถ้อยคำดูหมิ่น เหยียดหยามไปพลาง เป็นการทำลายกำลังใจของผู้ทำ นับว่าผิดอย่างยิ่ง

วิริยะ คือความพากเพียร ความไม่ท้อถอย เป็นคุณธรรมทางใจเรียกความรู้สึกนี้ว่า ความกล้า อยากจะรู้ว่ากล้าอย่างไร ต้องดูทางตรงข้ามเสียก่อน คือทางความเกียจคร้าน ทุกคนและทุกครั้ง  คือคนขลาด คนกลัว กลัวหนาว กลัวร้อน กลัวแดด กลัวฝน จะทำงานแต่ละครั้งเป็นต้องอ้างว่าหนาวจะตาย ร้อนจะตาย หิวจะตาย อิ่มจะตาย เหนื่อยจะตาย ง่วงจะตาย คนเกียจคร้านจะตายวันละไม่รู้กี่ร้อยครั้ง

        การเอาชนะคำขู่ของความเกียจคร้านเสียได้ ท่านเรียกว่า วิริยะ คือความเพียร หรือความกล้านั่นเอง แม้จะมีอุปสรรคเพียงใด แต่ก็จะมีความแข็งใจทำ และการจะมีความเพียรขึ้นมาได้ จำเป็นค้องละเว้นอบายมุขให้ได้เสียก่อน

       มีข้อน่าสังเกตสำหรับคนทำงานร่วมกันคือ จะต่องขยันด้วยกันทั้งหัวหน้าและลูกน้องจึงจะได้เรื่อง ยิ่งผู้เป็นหัวหน้ายิ่งสำคัญมาก  ถ้าเป็นคนเกียจคร้านกินแรงผู้น้อยท่าเดียว คิดแต่ว่า " ให้แกวิดน้ำท่าข้าจะล่อน้ำแกง " ผู้น้อยก็มักขยันไปได้ไม่กี่น้ำ ประเดี๋ยวก็รามือกันหมด  แต่ถ้าหัวหน้าเอาการเอางาน ก็ดึงผู้น้อยให้ขยันขันแข็งขึ้นด้วย

       ฐานะ 5 อย่างคือ ความชอบนอน ความชอบคุย ความไม่หมั่น  ความเกียจคร้าน และความโกรธง่าย พระผุ้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม เพราะคนถึงพร้อมด้วยฐานะ 5 อย่างนั้น เป็นคฤหัสถ์เก๊ ไม่ถึงความเจริญของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตก็ไม่ถึงความเจริญของบรรพชิต

จิติตะ คือ ความเอาใจใส่ หรือความตั้งใจทำ คนมีจิติเป็นคนไม่ปล่อยปละละเลยกับงานของต้น คอยตรวจตรางานอยู่เสมอ

       ปกติคนที่เป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบแล้ว ที่จะเป็นคนเฉยเมยไม่ใส่ใจกับงานเลย มีไม่เท่าไรส่วนใหญ่มักจะใส่ใจกับงานอยู่แล้วเพราะธรรมชาติของใจคนชอบคิด ทำให้หยุดคิดซิยาก แต่เสียอยู่อย่างเดียวคือ ชอบคิดเจ้ากี้เจ้าการกับเรื่องงานของคนอื่น คอยติ คอยสอด คลอยแทรก คอยวิพากย์วิจารณ์ ธุระของตัวกับไม่คิดเสียนี่ เห็นคนอื่นใส่เสื้อขาดรูเท่าหัวเข็มหมุดก็ตำหนิติเตียนเขาเป็นเรื่องใหญ่แต่ทีตัวเอง มุ้งขาดรูเท่ากำปั้นตั้งเดือนแล้วเมื่อไรจะเย็บละ และที่เที่ยวไปสอดแทรกงานของเขา แต่งานของเราไม่ดูนั้น มันทำให้อะไรเราดีขึ้นบ้าง  เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราเป็นนักตรวจตรางานคือไม่มีจิตตะ แล้วก็ทรงให้โอวาทสำทับไว้ด้วยว่า

         " ควรตรวจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ "

วิมังสา คือความเข้าใจทำ สุดยอดของวิธีทำงานให้สำเร็จอยู่ในอิทธิบาทข้อสุดท้ายนี้ วิมังสา แปลว่าการพิจพิเคราะห์ หมายความว่าทำงานด้วยปัญญา ด้วยสมองคิด ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ คนเราแม้จะรักงานแค่ไหนบากบั่นปานใด หรือเอาใจจดจ่ออยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขาดการใช้ปัญญาพิจารณางานด้วยแล้ว ผลที่สุดงานก็คั่งค้างจนได้ เพราะแม้ว่าขั้นตอนการทำงานจะสำเร็จไปแล้ว  แต่ผลงานก็ไม่เรียบร้อย ต้องทำกันใหม่ร่ำไป

          อีกประการหนึ่ง คนทำงานที่ไม่ใช้ปัญญา ไปทำงานที่ไม่รู้จักเสร็จ จะปล้ำให้มันเสร็จ หนักเข้าตัวเองก็เป็นทาสของงาน เข้าตำรา " เปรตจัดหัวจัดตีน" ตามเรื่องที่เล่าว่า เปรตตัวหนึ่งได้รับคำสั่งจากหัวหน้าเปรตให้ไปเฝ้าศาลาข้างทาง เวลาคนนอนหลับเปรตก็จะลงจากขื่อมาตรวจดูความเรียบร้อย ทีแรกก็เดินดูทางหัว จัดแนวศีรษะให้ได้ระดับเดียวกันให้เป็นระเบียบ ครั้นจัดทางศีรษะเสร็จก็วนไปตรวจทางเท้า เห็นเท้าไม่ได้ระดับก็ดึงมาให้เท่ากัน แล้วก็วนไปตรวจทางศีรษะอีก วนเวียนอยู่อยางนี้ไม่มีวันเสร็จสิ้นได้เลย หาได้นึกไม่ว่า คนเขาตัวสูงก็มี เตี๋ยก็มี ไม่เสมอกัน จัดจนตายก็ไม่เสร็จ คนที่ทำงานไม่ใช้ปัญญาจัดเป็นคนประเภท " เปรตจัดหัวจัดตีน" อย่านี้ก็มี ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาหน่อยเดียว ทำงานให้เสร็จเท่าที่มันจะเสร็จได้ใจก็สบาย

        คนที่ทำงานด้วยปัญญานั้นจะต้อง

        - ทำให้ถูกกาล ไม่ทำก่อนหรือหลังเวลาอันควร

        - ทำให้ถูกลักษณะของงาน

       สรุปวิธีทำงานให้สำเร็จนั้น  มีลักษณะขึ้นอยู่กับใจทั้งสิ้น คือเต็มใจทำ แข็งใจทำ  ตั้งใจทำและเข้าใจทำ วิธีการฝึกฝนใจให้ดีที่สุดก็คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการทำสมาธิเพื่อให้ใจผ่องใส ทำให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นผลของงานได้  รู้และเข้าใจวิธีการทำงาน มีกำลังใจ และมีใจจดจ่ออยู่กับงาน ไม่วอกแวก

ข้อมูลจาก " มงคลชีวิต" ฉบับ ทางก้าวหน้า 17 พ.ค.43

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 188714เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณที่เตือนสติ เพราะการทำงานทุกอย่าง ถ้าขาดอิทธิบาท 4  มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ จึงขอยืดถือไว้เป็นข้อคิด

ขอบคุณที่เตือนมา ยินดีที่ได้รู้จัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท