ระบบ "พี่สอนน้อง ประคองกันไป" เพื่อวิจัยและพัฒนา


เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของอาจารย์ที่ปรีกษา/ อาจารย์พี่เลี้ยง (Mentor) ในการเป็นพี่เลี้ยงแก่นักวิจัยใหม่ เพื่อช่วยให้ข้อเสนอแนะการทำวิจัยที่ดี เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ และใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง

สืบเนื่องจากบล็อกที่ผ่านมา  เป็นการเตรียมการตามกิจกรรมของโครงการ ดังนี้

 

การประชุมเตรียมการ ของอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์พี่เลี้ยง ครั้งที่ 1/2551

http://gotoknow.org/blog/resaerch/182218

 

 

การปฐมนิเทศนักวิจัยใหม่ ประจำปี 2551

 

 http://gotoknow.org/blog/resaerch/188223

 

และวันนี้ เป็นการประชุมเตรียมการของอาจารย์ที่ปรึกษา/อาจารย์พี่เลี้ยง (Mentor) ครั้งที่ 2/2551

 

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อน โครงการตามแผนงานที่กำหนด ในระบบ "พี่สอนน้อง ประคองกันไป" จึงเริ่มขึ้น

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 เวลา 13.30-15.00 น.

 

ได้กำหนดจัดประชุมคณะกรรมการโครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2551 ครั้งที่ 2/2551

 

ประธานที่ประชุม เปิดการประชุม

โดย รศ.ดร.กิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 Mt01

 

คณะกรรมการ ที่เข้าร่วมประชุม ประมาณ 25 คน ประกอบด้วย คณาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่

  • ผู้ทรงคุณวุฒิ /ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ /ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ /ผู้เชี่ยวชาญ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

Mt02

 

Mt03

 

และมีเจ้าหน้าที่สำนักบริหารการวิจัย เป็นหน่วยงานประสานหลัก/รับผิดชอบโครงการดังกล่าว

 

 

หัวข้อหารือ

1.    การเตรียมความพร้อม เพื่อจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มิ.ย.51 ณ จังหวัดหนองคาย เพื่อให้นักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 91 คน ได้ฝึกวิเคราะห์ ประเด็น/โจทย์วิจัย และฝึกการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

2.    การแบ่งกลุ่มย่อย ตามประเด็น/หัวข้อวิจัยที่สนใจ

3.    การจัดวิทยากรประจำกลุ่ม แต่ละกลุ่ม เพื่อให้คำแนะนำ เสนอแนะแนวทาง ต่อนักวิจัยในกลุ่มย่อย

4.    กำหนดกลไก รูปแบบ ที่เอื้อต่อการจัด workshop ให้บรรลุล่วงไปด้วยดี

5.    อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดัน กระตุ้นให้นักวิจัยใหม่ เข้าใจในการฝึกวิเคราะห์ รวมทั้งการฝึกจัดทำเค้าโครงการวิจัยให้ดียิ่งขึ้น

 

สรุปผลการประชุม

1.    กำหนดการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อฝึกวิเคราะห์ประเด็น/โจทย์วิจัย การจัดทำเค้าโครงการวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ให้มีการปรับปรุงเวลา เพื่อให้นักวิจัยได้แบ่งกลุ่มย่อย และฝึกวิเคราะห์ให้มากเท่าที่จะมากได้

2.    ให้นักวิจัยใหม่ ส่งประเด็น/หัวข้อวิจัย ที่ตนเองสนใจ มาเบื้องต้น เพื่อการแบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นที่สนใจ

3.    วิทยากรประจำกลุ่มย่อย ตามแต่ละสาขานั้น ๆ (ที่แบ่งไว้เป็น 3 สาขา ได้แก่ 1. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  2. สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ 3. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ )

4.    คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ/อาจารย์ที่ปรึกษา (Mentor) ได้วางรูปแบบการแบ่งกลุ่มย่อย โดยดูจากประเด็นที่นักวิจัยส่งมาเป็นหลัก จับกลุ่มเข้าด้วยกัน สำหรับกลุ่มใดที่ยังไม่มีประเด็นวิจัย จะต้องแยกกลุ่มย่อยไว้ต่างหาก เนื่องจาก ทำให้คนที่เตรียมประเด็น/หัวข้อวิจัยมาล่วงหน้า เกิดการสะดุด และล่าช้า ไม่ทันตามเวลาที่วางไว้

5.    นักวิจัย จะต้องจัดทำการบ้าน (ส่งประเด็น/หัวข้อวิจัย) ให้ฝ่ายผู้จัด เพื่อรวบรวม และง่ายต่อการจัดแบ่งกลุ่มย่อย และต้องเตรียมเป็นการบ้าน นำไป workshop ที่หนองคาย เพื่อฝึกวิเคราะห์อย่างเข้มข้นต่อไป

 

    6. พร้อมกันนี้ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบ ที่เอื้อต่อการ

       ให้ความรู้ และข้อเสนอแนะต่อนักวิจัย ที่ดี และเป็นประโยชน์เพื่อนำไปปฏิบัติ ทั้ง

       ด้านบริหารจัดการ การติดตามประเมินผล การนำเสนอผลงานวิจัย และการเผย

       แพร่ผลงานวิจัย

  • ผลการจัด workshop (ระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2551) จะเป็นอย่างไร
  • ระบบการบริหารงานด้านการวิจัย การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย หรือ ที่เรียกโดยส่วนตัว ว่า "ระบบพี่สอนน้อง ประคองกันไป" จะได้ผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่อย่างไร
  • จะเกิดงานวิจัยของนักวิจัยใหม่ สักกี่มากน้อย ที่ยื่นเสนอขอทุน
  • ตลอดถึงผลการประเมินการฝึกอบรม
  • ภาพกิจกรรมต่างๆ จะได้มานำเสนอให้ทราบ ในลำดับต่อไป

ผู้จัด หวังอย่างยิ่งว่า การจัดการฝึกอบรมฯครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อนักวิจัยใหม่อย่างดียิ่ง

แต่จะขาดไม่ได้ ถ้า...

ทุก ๆ ท่านที่มีข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย เพื่อช่วยพัฒนานักวิจัยใหม่ ให้เกิดผลงานวิจัยที่ดี สู่การตีพิมพ์เผยแพร่ระดับสากล ดังที่มหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายไว้ว่า "มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย"

ขอเรียนเชิญให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุง ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 188695เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยม...บัวปริ่มน้ำ

เสนอมุมคิดเป็นระเบียบดีนะครับผม

P

1. umi
เมื่อ พฤ. 19 มิ.ย. 2551 @ 23:06
707865 [ลบ]
ขอบคุณ อาจารย์ Umi มากค่ะ
การบริหารงานวิจัย ที่ควรมีระบบ เพื่อการพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป
ขอบคุณที่แวะมาทักทาย คงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท