ถอดบทเรียน


การผลิตเห็ดฟาง GAP

ถอดบทเรียน

กลุ่มเห็ดฟาง  หมู่ที่  5  ตำบลตะกรบ  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน

เรื่อง  การผลิตเห็ดฟาง GAP

วันที่  6  มิถุนายน  2551

 

การหมักทะลายปาล์มน้ำมัน

1. กองทะลายปาล์ม  สูงประมาณ  70  เซนติเมตร

2.  รดน้ำให้ชุ่ม  ประมาณ  2  ชั่วโมง

3. ปิดกองด้วยพลาสติกสีดำ  และใช้สิ่งของที่หนักทับบนทิ้งไว้ประมาณ  3  คืน

4.  เปิดกองราดน้ำอีกครั้งเหมือน  ข้อ  2  แล้วหมักต่ออีกประมาณ  3  คืน

5.  รดน้ำล้างอีกครั้ง  เพื่อนำไปจัดเป็นร่อง ๆ เพื่อเตรียมโรยเชื้อเห็ดฟาง

 

 

การขยี้เชื้อเห็ดฟาง

1.      ใช้เชื้อเห็ดฟาง จำนวน  60  ขวด  ต่อทะลายปาล์ม  1  คันรด  6  ล้อ

2.      แป้งข้าวเหนียว  จำนวน  5  ถุง

3.      อาหารเสริม  จำนวน  6  ถุง

4.      ฉีกถุงเชื้อเห็ดฟาง  เอามาขยี้ให้ละเอียด

5.      นำแป้งข้าวเหนียว  อาหารเสริม  เชื้อเห็ดฟาง  มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน

6.      นำเชื้อเห็ดฟางที่คลุกเคล้าเรียบร้อยแล้วมาใส่กะละมังพร้อมโรยบนร่อง

 

  

การเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง

1.      ตัดหญ้าบริเวณที่ต้องการให้เกลี้ยง

2.      ทำโรงเรือนโดยใช้อุปกรณ์ต่อไปนี้

-          เสาไม้

-          ซาแลน

-          ทางมะพร้าว / ทางปาล์ม

-          เชือก

-         

-          ไม้กลัดพลาสติกคลุมร่อง

-          พลาสติกสีดำ

 

วิธีการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม

1.      นำทะลายปาล์มมาเรียงกันเป็นแถวให้มีความกว้างเท่ากับทะลายปาล์มต่อกัน  3  ทะลาย  ความยาวพอประมาณ

2.      ถ้าเพาะเห็ดฟางในหน้าร้อนจะต้องวางทะลายปาล์มให้บาง

3.      ถ้าเพาะเห็ดฟางในหน้าฝนจะต้องจัดวางทะลายปาล์มให้หนา

4.      ขึ้นเหยียบบนร่องที่จัดไว้อีกครั้งพร้อมกับฉีดน้ำล้างให้สะอาด  เพื่อเตรียมโดยเชื้อเห็ดฟาง

 

 

การดูแลรักษาเห็ดฟางทะลายปาล์ม

1.      ในฤดูแล้งจะต้องรดน้ำทุกวัน

2.      ควรเปิดช่องระบายอากาศที่ส่วนหัวและท้ายร่อง  ให้มีขนาดพอประมาณ

3.      ในช่วงเห็ดฟางติดดอกใหม่ๆ ห้ามรดน้ำ  เพราะจะทำให้ดอกเห็ดยุบตัว

 

  

ข้อควรระวัง

1.      คาโบฟูแรน

2.      ไบกอน

3.      คาราเต้

 

สารสกัดจากธรรมชาติที่ใช้

1.      สารสะเดา

2.      ปุ๋ยน้ำผสมสมุนไพรไล่แมลง

3.      ปูนขาว

 

ต้นทุนการผลิต

1.      ทะลายปาล์ม  1  คันรถ  6  ล้อ  เป็นเงิน  1,300  บาท

2.      เชื้อเห็ดฟาง  60  ถุง  ๆ ละ  17.50  บาท  เป็นเงิน 1,050  บาท

3.      แป้งข้าวเหนียว  5  ถุงละ  15  บาท  เป็นเงิน  75  บาท

4.      อาหารเสริม  5  ถุง    ละ  30  บาท  เป็นเงิน  150  บาท

5.      ไม้โค้ง  100  อัน ๆ ละ  3  บาท  เป็นเงิน  300  บาท

6.      พลาสติก  5  ม้วน ๆ  ละ  150  บาท  เป็นเงิน  750  บาท

รวมต้นทุนทั้งหมด  3,625  บาท

 

  

ผลผลิตที่ได้รับ

1.      เห็ดดอกขนาดใหญ่  ที่เก็บได้ประมาณ  150  กิโลกรัม

-  ราคากิโลกรัมละ  33  บาท  เป็นเงิน  4,950  บาท

2.      เห็ดดอกขนาดเล็ก  ที่เก็บได้ประมาณ  25  กิโลกรัม

-  ราคากิโลกรัมละ  16  บาท  เป็นเงิน  400  บาท

3.      เห็ดดอกบาน  ที่เก็บได้ประมาณ  20  กิโลกรัม

-          ราคากิโลกรัมละ  12  บาท  เป็นเงิน  240  บาท

 

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  จำนวน  5,590  บาท

หมายเหตุ     5,590 3,325 = 1,965  บาท

หมายเลขบันทึก: 188578เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาตักตวงความรู้ไปใช้ประโยชน์ค่ะ

หวัดดีครับ

  • ข้อมูลน่าสนใจ
  • เป็นข้อมูลที่จะนำเสนอ ใน DW เดือนหน้าหรือเปล่า

* ขอบคุณครับที่แวะเวียนเข้ามานะครับ ทั้งป้าตุ๋ย พี่ชัยพรนะครับ

* ยินดีมากครับที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวงการเกษตรของสังคมไทยให้ได้มาตรฐาน

เพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพที่ทำยากแต่ถ้าไม่ละเลยหลักความสะอาดกำจัดเชื้ออื่นปะปนให้ดีประสบผลสำเร็จหลายคนแล้วครับ โอกาสหน้าจะขอแลกเปลี่ยนบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท