จิตสำนึก และ วัฒนธรรม


ตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงถึง จิตสำนึกและวัฒนธรรม ในการใช้ของสาธารณะร่วมกัน

     

     เมื่อบันทึกก่อนได้เขียนถึงเรื่องการใช่รถจักรยานยนต์และการจอดรถของนิสิตที่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจของหลาย ๆ ฝ่ายจึงจะสามารถแก้ไขได้สำเร็จ รวมทั้งการทำเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ด้วย  วันนี้ขอเอาเรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่บริเวณที่พักอาศัยของผู้ใหญ่มาเล่าครับ

     เรื่องมีอยู่ว่าช่วงเช้าวันนั้นขณะที่ผมกำลังเตรียมตัวที่จะออกไปทำงาน ก็มีเสียงแตรรถยนต์ดังติดต่อกันนานมาก ต่อมาก็ได้ยินเสียงการสั่งการว่า ไปเอาที่ยกมายกรถออกไปให้พ้นทาง ผมจึงโผล่หน้าออกไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น จึงได้เห็นว่า มีรถยนต์คันหนึ่งไม่สามารถออกจากที่จอดได้ เพราะมีรถจอดขวางอยู่ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง  เจ้าของรถคันที่จอดอยู่ตรงกลางคงมีธุระด่วนที่จะต้องออกไป แต่ออกไม่ได้จึงบีบแตรดังลั่นติดต่อกันนาน เพื่อเรียกให้ทุกคนสนใจ และคงหวังว่าเจ้าของรถคันที่จอดขวางอยู่คงได้ยินและออกมาเลื่อนรถออกให้  แต่ทำอยู่สักพักก็ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้เป็นเจ้าของรถทั้งสองคันที่อยู่หน้าหลังออกมา ท่านเจ้าของรถคันกลาง ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นผู้ใหญ่ระดับ VIP เพราะได้ยินการสั่งการให้คนไปเอาเครื่องยกรถ มายกรถออกไปให้พ้นทาง และเมื่อผมลงไปข้างล่างก็เห็นมีคนกำลังใช้แม่แรงยกคันหน้าอยู่พอดี โดยมีท่านเจ้าของรถคันกลางยืนกำกับอยู่ด้วย  เป็นภาพที่ผมไม่คิดว่าจะได้เห็น และนึกถึงรายการ นักข่าวพลเมือง ของทีวีไทยขึ้นมา  จึงเอามือถือออกมาบันทึกภาพไว้ มาประกอบการเล่าเรื่อง

      ผมไม่ได้อยู่ดูสิ่งที่เกิดขึ้นจนจบ เพราะต้องรีบไปทำงาน จึงไม่ทราบว่าผลสุดท้ายลงเอยอย่างไรครับ  แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นคงจะเป็นตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงถึง จิตสำนึกและวัฒนธรรม ในการใช้ของสาธารณะร่วมกัน หรือการใช้ของส่วนรวมร่วมกันของคนในชุมชน 

       ผมคิดอยู่หลายวันเหมือนกัน ว่าจะนำภาพและเรื่องนี้มาบันทึกไว้ดีหรือไม่ เพราะอาจจะกระทบกับท่านผู้ใหญ่ VIP หลายคน  ในที่สุดก็คิดว่าน่าจะเป็นกรณีตัวอย่าง ที่เป็นประโยชน์  ให้ข้อคิดเตือนสติได้บ้าง จึงปรับภาพเป็นขาวดำมาลงประกอบเรื่องครับ

       ให้สังเกตุในภาพให้ดีนะครับ  ลักษณะการจอดรถทั้งจักรยานยนต์ รถยนต์ ในบริเวณนี้เป็นอย่างไร ? มันแสดงถึงจิตสำนึกและวัฒนธรรมของคนในชุมชน (บางคน)เป็นอย่างไร ? บริเวณที่เกิดปัญหา เป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่างที่พักอาศัยสองหลัง ที่มีการทำเครื่องหมายห้ามจอดไว้ คือการทาสีขอบทางเป็นสีขาวสลับแดงไว้ทั้งสองข้าง  และเคยมีการแจ้งเวียนหนังสือเรื่องการห้ามจอดในบริเวณที่ทำเครื่องหมายห้ามจอดให้คนในชุมชนได้ทราบไปแล้ว   แต่ก็ยังคงมีผู้ที่ไม่สนใจปฏิบัติตามเรื่องดังกล่าวอยู่เป็นประจำ  จนกระทั่งเกิดเหตุดังที่เล่ามา และหลังจากวันนั้นมาก็ยังคงมีรถมาจอดในบริเวณถนนที่เชื่อมระหว่างที่พักสองหลังนี้เช่นเดิม......แล้วอย่างนี้จะไปบอกนิสิตให้จอดรถจักรยานยนต์ให้เป็นระเบียบและถูกที่ถูกทางอย่างไร ? ผมเห็นใจฝ่าย รปภ. และผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จริง ๆ ครับ......หรือเป็นความสุขที่ได้ทำอะไรตามสะดวกหรือตามใจฉัน เพื่อให้สอดคล้องกับจังหวัดที่ผู้คนมีความสุขที่สุดในประเทศ.....5555

หมายเลขบันทึก: 188167เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2008 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เรื่องที่จอดรถสาธารณะ  เป็นเรื่องที่ครูอ้อย คิดหนักทุกวันตอนเย็นเลยค่ะ  เพราะที่จอดรถมีน้อยกว่าจำนวนรถ  สาเหตุหนึ่ง
  • สาเหตุที่สองคือ  จอดกันแบบสบายๆ  ไม่ห่วงคนมาทีหลังจะจอดได้อย่างไร
  • ครูอ้อย  ถูกแย่งที่จอดรถจากคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเดิมๆ  มาจอดทิ้งไว้นานๆ  สังเกตดูทุกวัน  จอดทิ้งไว้ไม่มาเอารถไป 
  • วันหลังจะนำภาพให้ชมนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ  หลังจากอาจารย์นำมาเขียน  พบว่า..อะไร  เล่าให้อ่านอีกนะคะ

เห็นด้วยค่ะ ที่วิทยาลัยก็ไม่แตกต่างกัน หมายถึงการจอดรถจักรยานยนต์ของนักศึกษานะคะ ที่จอดแบบไม่สนใจใครเลย..จนซ้อนคันแล้วซ้อนคันอีก แบบบางทียังนึกไม่ออกเลยว่าคันที่อยู่ในสุดจะออกได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งปิดทางเดินเข้าออกบริเวณหน้าเสาธง ไม่เคยรู้จักเส้นแดง-ขาว หรือทางเข้าออก

นักศึกษา..ที่กำลังจะเป็นผู้ใหญ่ที่ทำเช่นนั้นต่อไปอีก

ผู้ใหญ่ ในเวลานี้ จึงต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมในองค์กร สร้างจิตสำนึกและคุณธรรม สร้างน้ำใจ สร้างวินัยเพื่อให้นักศึกษาในวันนี้ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่และมีสิ่งดี ๆ เหล่านี้ในจิตใจ

จะได้ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สังคมในวันข้างหน้า เช่นเดียวกับผู้ใหญ่บางคน ณ วันนี้

  • ผมเจอเป็นประจำเหมือนกันครับ โดยเฉพาะย่านชุมชน ที่มีมอเตอร์ไซด์นิสิตมาก ๆ จอดแล้วออกไม่ได้ ตอนนั้นผมก็ใช้ I-in-U โดยคิดว่า นิสิตเหล่านั้นคงยังเป็นเด็ก เพราะเคยแต่ขับขี่มอเตอร์ไซด์ เห็นที่ว่าตรงไหนก็เข้าไปจอดเลย เพราะมอเตอร์ไซด์มันคันเล็ก เข้าออกง่าย และไม่ทราบว่า รถยนต์มันต้องใช้ที่ว่าในการทำวงเลี้ยว คิดว่านิสิตไม่น้อยไม่ทราบจริง ๆ ครับ บางครั้งผิดโดยไม่เจตนา
  • และคิดว่า การออกแบบสถานที่น่าจะมีส่วนด้วยครับ เพราะถ้าได้มีการแจ้ง การทำเครื่องหมายห้ามจอด แต่ก็ยังเกิดปัญหาอยู่เนือง  ๆ เช่น บริเวณจอดคับแคบเกินไปหรือไม่ หรือ การจอดตอนกลางคืนไฟไม่สว่างพอ อะไรทำนองนี้ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Panda คะ

ภาพคุ้นตามากเลยค่ะอาจารย์  หนิงก็เจอประจำค่ะ  ไม่รู้จะทำอย่างไร  รปภ.ก็ไม่กล้า    อย่าโทษว่าแต่นิสิตเลยนะ  เพราะในที่ตึกที่พักอาศัยของบุคลากรก็เจอ  555  จะเดินขึ้นตึกยังไม่ช่องจะให้เดินเลยอ่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท