ปลา+โอเมกา-3 ช่วยลดเสี่ยงตาบอด


ทุกวันนี้คนเรามีข่าวดีคือ โอกาสที่จะมีอายุยืนมากขึ้น ทีนี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายที่ว่าคือ โอกาสที่จะตาบอดก็เพิ่มขึ้นตามอายุไปด้วย

...

ทุกวันนี้คนเรามีข่าวดีคือ โอกาสที่จะมีอายุยืนมากขึ้น ทีนี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายที่ว่าคือ โอกาสที่จะตาบอดก็เพิ่มขึ้นตามอายุไปด้วย

ทีนี้วิกฤตย่อมมาคู่กับโอกาส นั่นคือ แม้จะมีข่าวร้าย ทว่า... มีผลการศึกษาพบว่า การกินปลาที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะปลาทะเล และอาหารที่มีไขมันชนิดดีพิเศษ หรือโอเมกา-3 สูง มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคตาบอดชนิดจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมหรือ ARMD ไปได้ถึง 1 ใน 3 

...

โรคตาบอดที่พบบ่อยในคนสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) อย่างหนึ่งได้แก่ โรคจอตาส่วนกลางเสื่อมในคนสูงอายุ (age-related macular degeneration / ARMD)

โรคนี้ทำให้จอรับภาพหรือเรตินาส่วนกลาง (macular) บางลง และเสี่ยงต่อการตกเลือด (เลือดออก) มากขึ้น

...

จอรับภาพหรือเรตินา (retina) ของคนเราอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนกลาง และส่วนรอบนอก

จอรับภาพส่วนกลางทำหน้าที่รับภาพละเอียด ทำให้เราเห็นสีสัน และรายละเอียดของภาพได้ดี ถ้าส่วนนี้เสื่อม... อาจทำให้การมองเห็นตกลงจนถึงตาบอดได้

...

จอรับภาพส่วนนอกทำหน้าที่รับภาพหยาบหน่อย รับภาพได้ดีในที่มืด และมีความสำคัญรองลงไป

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อีเลน ชง (Dr. Elaine Chong) และคณะทำการทบทวนผลการศึกษาที่ผ่านมา 9 รายงาน ซึ่งรวมกลุ่มตัวอย่าง 88,974 คน ในจำนวนนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคจอตาส่วนกลางเสื่อมหรือ ARMD มากกว่า 3,000 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า อาหารดีๆ มีส่วนช่วยป้องกันโรคจอตาส่วนกลางเสื่อมหรือ ARMD ได้ดังต่อไปนี้

อาหาร ความเสี่ยง (โอกาสเป็นโรค)
ปลาที่มีไขมันสูงสัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไป ลดลง
กินอาหารที่มีโอเมกา-3 มากที่สุด ลดลง 38%

...

อาหารที่มีน้ำมันชนิดดีพิเศษหรือโอเมกา-3 สูงได้แก่ ปลาที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด เช่น นึ่ง ต้ม ปิ้ง ฯลฯ เมล็ดแฟลกซีด (flaxseed) ถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปลา

ปลาที่ผ่านการทอดจะสูญเสียน้ำมันปลาออกไป และดูดซึมน้ำมันที่ใช้ทอดเข้าไปในเนื้อปลา ทำให้มีปริมาณน้ำมันชนิดดีพิเศษหรือโอเมกา-3 ลดลง

...

อาจารย์ท่านแนะนำว่า การป้องกันโรคจอตาส่วนกลางเสื่อมหรือ ARMD ไม่ควรเน้นเฉพาะเรื่องอาหารเพียงอย่างเดียว

วิธีป้องกันโรคนี้ที่สำคัญมากๆ ได้แก่ การลด-ละ-เลิกบุหรี่ และไม่สูบควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Oily fish 'cuts eye disease risk' > [ Click ] > June 9, 2008. / source > Annals of Ophthalmology.
  • Thank americanheart.org > fish and omega-3 fatty acids > [ Click ] > June 10, 2008.

 

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 10 มิถุนายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 187342เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท