ความเห็นต่อ UKM13


 

          เครือข่าย UKM นัดจัดเวที ลปรร. UKM13 เรื่อง "การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์"  ที่เขื่อนเชี่ยวหลาน สุราษฎร์ธานี โดย มอ. เป็นเจ้าภาพ

          ผมลองเสนอไอเดีย ว่าควรมีการ ลปรร. ๒ แบบ

๑. เชิญนักวิจัยระดับยอด ที่มีผลงานชนิด “กระสุนนัดเดียวได้นก ๒ ตัว” คือได้การนำไปใช้ประโยชน์ด้วย และได้ publication/impact factor ด้วย
๒. เชิญคนหน้างาน ที่มีผลงานระดับ R2R    โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้ทั้ง improvement (ต่องานของตน) และมีรายงานผลการวิจัยเผยแพร่ด้วย

          นักวิจัยระดับยอดของ มอ. ที่มีผลงานตามข้อ ๑ เท่าที่ผมทราบ ได้แก่

• ศ.ดร. สุทธวัฒน์ เบญจกุล อายุ ๔๐ ปี  สาขาอุตสาหกรรมเกษตร   เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ปี ๒๕๕๑   ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (ปี ๒๐๐๒-ปัจจุบัน) จำนวน ๑๑๘ เรื่อง    และภาคธุรกิจ (อุตสาหกรรมอาหาร) เอาไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย
• รศ. นพ. สุภมัย สุนทรพันธ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  วิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อหาวิธีการใหม่ๆ ที่ทำให้การทำงานสะดวกขึ้น ถูกต้องมากขึ้น ประหยัดขึ้น หรือหาข้อมูลที่เหมาะสมใช้กับคนไทย    มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างประเทศ (ดูรายงานประจำปี คณะแพทยศาสตร์ ปี ๒๕๕๐  หน้า ๓๒ – ๓๓ 
• คงจะมีอีกหลายคน  แต่ผมทราบแค่นี้

 

          มหาวิทยาลัยอื่นที่เป็นสมาชิก UKM น่าจะหานักวิจัยของตนที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑ เชิญมาเล่าวิธีทำงานวิจัยของตนด้วย    ควรใช้วิธีเล่าเรื่อง (storytelling) ไม่ใช่วิธีนำเสนอ (presentation)    ผมมีรายชื่อนักวิจัยที่เข้าข่ายดังนี้

• ศ.ดร. สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ อายุ ๓๘ ปี  สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา
     ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (ปี ๒๐๐๒-ปัจจุบัน) จำนวน ๔๐ เรื่อง
• ศ.ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ อายุ ๓๗ ปี  สาขาฟิสิกส์  ม. สุรนารี
     ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (ปี ๒๐๐๒-ปัจจุบัน) จำนวน ๓๑ เรื่อง
• รศ.ดร. กัญชลี เจติยานนท์ อายุ ๓๙ ปี สาขาเกษตร ม. นเรศวร  ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ (ปี ๒๐๐๒-ปัจจุบัน) จำนวน ๕ เรื่อง    ได้รับทุนชุดโครงการเกษตรยั่งยืนในปี ๒๕๔๙ เรื่อง “การพัฒนาสูตรตำรับ  ทดสอบประสิทธิภาพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชจากไรโซแบคทีเรีย” ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี เพื่อการพัฒนาเกษตรยั่งยืน”   ได้รับการเผยแพร่ไปยังหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (หน้า ๑) และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (หน้าเกษตร) ได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวนมาก และกำลังจะจัด workshop ให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อไป
• ผศ. ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ สาขาฟิสิกส์  มวล.   ทำงานวิจัยด้านพลาสม่าฟิสิกส์  มีการประยุกต์ใช้ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม 

          ที่เสนอมาข้างต้น เป็นการช่วยกันออกความเห็น   ไม่จำเป็นต้องจัดตามนี้ 
          ผมขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผมเองว่า    หากจะให้ผมเข้าร่วม ต้องมีคนเชิญและออกค่าใช้จ่ายให้    เพราะเวลานี้ สคส. ไม่มีเงินใช้จ่ายเพื่อการนี้    และถ้าเชิญกระชั้น ผมมักมีนัดเต็มเสียก่อนแล้ว

 

วิจารณ์ พานิช
๗ มิ.ย. ๕๑

                            
        

หมายเลขบันทึก: 187294เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท