เรียนรู้วิถีชีวีตของคนกะเหรี่ยง (25 พ.ค. 2551)


ได้รับรู้ถึงวิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยง ว่าค่อนข้างจะรักและปรองดองกัน ผู้ใหญ่จะคอยสอนเรื่อง วัฒนธรรมและประเพณีให้เด็กรุ่นใหม่อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ชนรุ่นหลังสิ้นวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม

วันที่ ๒๕

วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑

 

 

ช่วงเช้า

                ได้เก็บสัมภาระเพื่อเดินทางออกจาก ค่ายลูกเสือเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเดินทางไปยังอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่เราต้องไปปฏิบัติภารกิจ

                               

ช่วงบ่าย

                ได้เดินทางเข้าที่พักที่ บ้าน อาจารย์เจริญ ในบริเวณ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง  และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  พร้อมชี้แจง วัตถุประสงค์ของการเดินทางมาจังหวัดราชบุรีในครั้งนี้ กล่าวคือ เพื่อเป็นการให้นักศึกษาฝึกงานได้ศึกษาถึงสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาด้านสถานะบุคคล อีกทั้งเป็นการสำรวจติดตามกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา และนำความรู้ในมาตรา ๒๓ มาใช้จริง

                นอกจากนี้ ได้มีการประชุมปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับแผนการดำเนินในระหว่างวันที่ ๒๔- ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ระหว่างคณะดำเนินงานของพวกเราและคณะดำเนินงานในพื้นที่ นำโดย พี่เอ้ และพี่ราชิน  เจ้าของพื้นที่

 

ช่วงเย็น

                หลังจากรับประทานอาหารเย็นแล้วได้พบปะพูดคุยกับอาจารย์วุฒิ  บุญเลิศ โดยอาจารย์ได้ให้ความรู้โดยได้การเล่าให้ฟังถึงประวัติความเป็นมาของชาวกะเหรี่ยงในบริเวณ อำเภอสวนผึ้ง รวมถึงการพาไปเยี่ยมชม บ้าน ชาวกะเหรี่ยง ตามต้นฉบับดั้งเดิม พร้อมทั้งได้อธิบาย ถึงวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงพื้นเมืองว่า มีความเป็นมา ตั้งแต่เมื่อไร ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่พวกเราได้รับกันอย่างท้วมท้น

                จากนั้นได้สัมภาษณ์ เด็กหญิง บุษบา ซึ่งเป็นลูกสาว ของนายพะเน และทั้งนี้ยังเป็นพี่สาวของ เด็กชาย ซอทู บุญอ่อน  ซึ่งในการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ บุษบายังไม่สามารถตอบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเองได้  จึงนัดบุษบามาสัมภาษณ์ต่อในเย็นพรุ่งนี้ เพราะบ้านของบุษบาอยู่ใกล้กับบ้านอาจารย์เจริญ และเอกสารของบุษบามีดังนี้ บัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่ได้รับการสำรวจจากทางโรงเรียน ทะเบียนสำรวจบัญชีบุคคลในบ้าน

 

 

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

 

-          ได้ทราบถึงความเป็นมาของบัตรแต่ละอัน เช่น บัตรผู้ผลัดถิ่นสัญชาติพม่า บัตรพื้นที่สูง บัตรชุมชนบนพื้นที่สูง ว่าในแต่ละช่วงนั้นมีเป็นมาอย่างไรและคนกะเหรี่ยงดั้งเดิมได้รับการสำรวจและทำบัตรแต่ละชนิดอย่างไร

-          แต่ละคนต้องรู้ถึงประวัติของตัวเองว่ามาจากไหน ต้นตระกูลเป็นใคร เป็นที่มีเชื้อสายอะไรและทำให้คิดว่ากลับไปจะต้องทำ family tree ของครอบครัวตนเอง

-          ได้รับรู้ถึงปัญหาภายในท้องที่ว่ามีปัญหาที่เกี่ยวกับสถานะบุคคลอะไรบ้าง เช่น

1.       ล่าช้าในการดำเนินขอสัญชาติไทย และการขออนุญาตเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น มีการยื่นขอสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้การอนุมัติ

2.       กรณีที่คนดั้งเดิมบางส่วนเข้ารับการสำรวจและขึ้นเป็นแรงงานต่างด้าวทั้งครอบครัว ทำให้เด็กที่ไม่ได้เป็นแรงงานถูกเพิ่มชื่อเป็นแรงงานด้วย

เช่น คนดั้งเดิมไม่ได้รับการสำรวจบัตรประจำตัวผู้ผลัดถิ่นสัญชาติพม่า หรือ บุคคลบนพื้นที่สูงหรือ การสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง เมื่อมีการประกาศให้ขึ้นแรงงานต่างด้าว ก็เข้าทำการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เพื่อให้สามารถออกนอกพื้นที่ได้สะดวกกว่า

-          ได้ทักษะในการสอบปากคำ หรือ การสัมภาษณ์พยานบุคคลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตรงตามพยานเอกสาร

-          ได้รับรู้ถึงวิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยง ว่าค่อนข้างจะรักและปรองดองกัน ผู้ใหญ่จะคอยสอนเรื่อง วัฒนธรรมและประเพณีให้เด็กรุ่นใหม่อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ชนรุ่นหลังสิ้นวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม

 

ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ

 

                - ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในค่ายในช่วงเช้า ทำให้ไม่ได้ร่วมกิจกรรมบางอย่างที่สำคัญ

 

ข้อเสนอในการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ

 

                - ควรแบ่งหน้าที่กันทำงานเพื่อให้เข้าร่วมทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์

 

 

หมายเลขบันทึก: 186529เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2008 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาดูพี่น้องปกากะญอ คนที่ไม่ได้สัญชาติอยากไปเรียนต่อ อยากไปทำงาน เป็นเรื่อง

ลำบากมาก ทำไงดี

ตอบ

คุณประจักษ์ ขอบคุณมากๆๆคะ

คุณขจิต พี่น้องปกากะญอคนไหน อยู่จังหวัดอะไร ถือบัตรอะไร เกิดที่ไหน พอจะทราบไหมคะ เผื่อจะให้คำปรึกษาได้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท