ประสบการณ์ปิดเทอม


วัดร่มรื่น

วันที่  27 พฤษภาคม 51 เดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา ที่สหกรณ์การเกษตรอำเภอชุมพวง  ออกเดินช่วงทางบ่ายไปถึงโคราชก็เย็นมากแล้ว พี่ที่กรมสหกรณ์การเกษตรเลยให้หาที่พักแถวในเมืองโคราช แล้วให้เราเป็นคนนำทางไปที่โรงแรมเพราะเห็นว่าเรียนอยู่ที่โคราช โรงแรมที่จะไปชื่อว่าชื่อโรงแรมสบาย  การเกษตรโคราชจองไว้ แต่เรากลับรู้สึกแย่มากเลยที่พาพี่ๆ และคนญี่ปุ่นหลงทางในโคราช เพราะหาโรงแรมสบายสบายไม่เจอสักที (เพราะที่โคราชมีแค่โรงแรมชื่อสบายไม่ใช่สบายๆ) ที่จริงโคราชก็ใหญ่มากนะค่ะ ถึงที่พักแล้วก็ได้เวลาพักผ่อน วันนี้เข้านอนเร็วเพราะนั่งรถเหนื่อยเหลือเกิน

เช้าวันที่ 28 .ค ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนะแนวทางในการจัดตั้งตลาดขายตรงให้กับกลุ่มสหกรณ์อำเภอชุมพวงที่ห้องประชุมของสหกรณ์ชุมพวง

โดยคุณเทะซึ ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าที่ญี่ปุ่นมีการจัดเรียงสินค้าเพื่อความสะดวกในการซื้อสินค้า ภายในร้านหากที่กลุ่มสหกรณ์สนใจก็สามารถไปปรับใช้ได้และควรมีมุมเพื่อให้ลูกค้าเลือกทำกิจกรรม เช่น การทดลองทำหัตถกรรม หรือสามารถเป็นที่พักผ่อนสำหรับลูกค้าที่มาใช้บริการ

คุณเทสึ บอกว่าที่ญี่ปุ่นจะมี ป้ายราคาบอก ชื่อคนติดไว้ที่ตัวสินค้า  และสินค้านั้นผลิตมาจากที่ไหน เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าใครคือผู้ผลิตสินค้าแต่ละชนิด เป็นสินค้าประเภทไหน ยกตัวอย่างเช่น คุณ ก มาซื้อของที่ตลาดทุกวันโดยจะซื้อของที่คุณ ข ผลิตเป็นประจำเพราะ สะอาด สด อร่อย แต่วันหนึ่งของที่คุณ ข ผลิตไม่มีในตลาดก็อาจทำให้เราเสียลูกค้าไปได้  ซื้อจากผู้ผลิตคนนั้น  ผู้ที่ผลิตสินค้ามาส่งสินค้าตอนเช้าแล้วตอนเย็นก็มารับสินค้ากลับหากสินค้าขายไม่ได้

ที่ญี่ปุ่นผู้ผลิตส่งของตอนเช้า ตอนเย็นก็มารับของกลับหากของที่นำมาขายนั้นขายไม่ได้ 

ทางด้านคุณคุริตะ  อยากทราบว่าถ้าหากจัดตั้งตลาดของกลุ่มจะมีคู่แข่งด้านการตลาดไหมแล้วตลาดของกลุ่มสหกรณ์แตกต่างกับตลาดที่อื่นอย่างไร จุดเด่นของเราคือ?

สมาขิกกลุ่มสหกรณ์บอกว่าตลาด ที่อำเภอชุมพวงมีทั้งตลาดสด ตลาดไนท์ไทบ้าน(ทุกเย็น) ความแตกต่างจากตลาดทั้งสองที่คือ ตลาดของกลุ่มสหกรณ์ที่กำลังจะทำขึ้นมีสถานที่ที่อำนวยกว่า (มีพื้นที่สำหรับจอดรถ) ความปลอดภัยสูงกว่า ต่างจากตลาดอื่นเพราะมีเจ้าหน้าที่ให้ความสะดวก ถึงแม้ตลาดไนท์ไทบ้านจะขายทุกอย่าง แต่ที่ตั้งอยู่ติดถนน ไม่สะดวก ไม่มีที่จอดรถ อยู่ลานดิน แต่ของกลุ่มสหกรณ์ ตรงข้ามกับตลาดไนท์ไทบ้านทุกอย่าง คือ สะดวก สะอาด ปลอดภัย  ซึ่งเป็นการทำให้ลูกค้าอยากมาซื้อของกับสหกรณ์มากขึ้น และสินค้าของสหกรณ์ยังมีการติดราคาบอกลูกค้าที่มาซื้อของ แต่ตลาดที่อื่นไม่มีการติดราคาของสินค้า

ช่วงบ่ายเดินทางไปที่ วัดโสทาราม เป็นวัดที่ดูแล้วไม่เหมือนวัดที่อื่นที่เคยไปมา ดูเหมือนสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งโบราณสถานมากกว่า เป็นวัดอีกที่หนึ่งที่ร่มรื่นมาก มีต้นไม้เยอะที่สุดจากที่ได้ไปเห็นในหลายๆวัด ที่นี่มี ดอกกล้วยไม้มากมาย สีสันหลากหลาย เดินไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นปราสาทที่เก่าแก่ หลายปราสาทเหมือนกัน แต่ตรงทางขึ้นไปก่อนเห็นตัวปราสาทต้องเดินขึ้นบันไดซึ่งบันไดแต่ละขั้นจะเล็กมาก ทำให้เวลาเดินขึ้นต้องระวังมากๆ  เมื่อเดินขึ้นไปข้างบนก็จะเห็นปราสาท และต้นสาระที่เป็นต้นไม้ในตำนานดอกสีชมพู มีผล ผลของดอกสาระจะใหญ่ มีน้ำหนัก และผลแข็งมาก(ไม่เคยเห็นผลของต้นสาระมาก่อนเลย)  ตรงสถูปภายในวัดจะเป็นที่เก็บกระดูกพระพุทธเจ้า และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งจำลองมาจากพระอาจารย์ซึ่งเป็นท่านได้สร้างวัดนี้ขึ้นมา ส่วนด้านบนจะเป็นหุ่นขี้ผึ้งที่จำลองจากแบบพระพุทธเจ้า  หุ่นขี้ผึ้งแห่งนี้สร้างมาแล้วประมาณ  20 กว่าปี มีปราสาทหินที่เก่าแก่ มากมายภายในวัด ต้องมาเห็นกับตาจะรู้ว่าน่าทึ่งมาก

หลังจากนั้นก็เดินทางไปที่บ้านคุณศรีฟาร์ม (ผู้ชาย) เป็นครอบครัวชาวสวน  ครอบครัวนี้มีสมาชิกทั้งหมดสี่คน มีพ่อ  แม่ และลูกอีก 2 คน คุณศรี เล่าว่าเมื่อก่อนไม่มีที่ทำกิน ครอบครัวยากจนดังนั้น ทางภาครัฐจึงเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ยากจน ไม่มีแม้แต่บ้าน และไม่มีที่ดินทำกิน โดยรัฐบาลจะมีการแบ่งสรรที่ดินให้ประชาชนที่ไม่มีที่ทำกิน แล้วแต่ว่าคนที่ได้รับที่ดินจะใช้ทำอะไร แต่ต้องจ่ายเงินให้ภาครัฐ เหมือนกับเราเช่าที่ดินเขาอยู่ โดยผู้ที่ได้รับที่ดินส่วนใหญ่จะปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา ปลูกข้าวโพด ปลูกมันสำปะรัง เลี้ยงหมู ในที่ดินของรัฐ รายได้ก็ได้จากการขายผัก เลี้ยงปลา โดยนำไปขาย ตลาดใกล้ๆบ้าน

แต่มีอยู่ไม่ก็ครัวเรือนที่จะสามารถเลี้ยงชีพจากการทำสวนในพื้นที่ที่รัฐจัดสรรให้ เพราะบางรายเจอปัญหาการขาดทุนก็ท้อ  ออกจากพื้นที่ไป แต่ก็มีบางครอบครัวที่สามารถ ขายผลผลิตที่ตนเองได้จนใช้หนี้รัฐบาลหมด ที่ดินก็จะเป็นของผู้นั้น  หนึ่งในไม่กี่ครอบครัวก็มีครอบครัวคุณศรีด้วยเพราะครอบครัวนี้ใช้หนี้รัฐบาลหมดแล้ว ถือเป็นครอบครัวแบบอย่างของคนไทยได้อย่างดี

หลังจากดูสวนคุณศรี เสร็จก็เดินทางไปที่พักวันนี้พักที่อพาร์ตเม้นท์ แถวอำเภอชุมพวง เป็นอพาร์ตเม้นท์แห่งเดียวของอำเภอชุมพวง หลังจากที่เก็บของเข้าที่พักเสร็จก็ไปดู ตลาสดไนท์ไทบ้าน ที่ตลาดแห่งนี้มีของขายมากมาย มีขายกับข้าวถุงล่ะ 10 บาท แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คงจะเป็นข้าวหมาก (ไม่กินแต่เพื่อนบอกว่าอร่อย) คนมาเดินตลาดไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ เดินได้สักพักก็ได้เวลาหาที่กินข้าวเย็นกัน เป็นที่เดิมที่กินตอนกลางวัน ร้านอาหารนี้อยู่ตรงข้ามกับปั๊มสหกรณ์การเกษตรอำเภอชุมพวง ชอบอารหารวันนี้มากค่ะเพราะมี น้ำพริก โดยเฉพาะน้ำพริกกะปิ  ผักลวก เป็นอาหารพื้นบ้านที่อยากกินมานานแล้ว  กินเสร็จก็กลับที่พักวันนี้มีงานที่ต้องทำคือ แปลเอกสารแสดงความคิดเห็นภาษาไทย เป็นภาษาญี่ปุ่นหลังจากที่แปลเสร็จ ก็ให้คุณ คุริตะตรวจ  เท่านั้นล่ะรู้เลยว่าภาษาญี่ปุ่นของตัวเองแย่มาก ขนาดว่าปลอดภัย ยังแปลเป็นตู้นิรภัยได้  ภาษาญี่ปุ่นคำว่าปลอดภัยคืออันเซน แต่กลับใช้คำผิด ใช้คำที่แปลได้ว่า ตู้นิรภัย (คิดได้อย่างไร) แต่ในพจนานุกรมแปลว่าความปลอดภัยไม่ใช้ตู้นิรภัย ทำให้เราใช้คำผิด คงเป็นเพราะความไม่รอบครอบเองเราน่าจะเปิดพจนานุกรมหลายๆ เล่ม  คืนนั้นถือว่าได้คุณคุริตะ ช่วยไว้มากทีเดียว ไม่อย่างนั้นคนญี่ปุ่นคนอื่นที่อ่านคงไม่เข้าใจแน่เลย คืนนั้นก็ผ่านไปไม่ค่อยจะราบรื่นสักเท่าไหร่

            วันที่ 28 .  คณะญี่ปุ่นก็เดินทางไปดูปั๊มน้ำมันของกลุ่มสหกรณ์ชุมพวง ดูว่าในหนึ่งวันมีรถยนต์เข้ามาเติมน้ำมันมากแค่ไหน และรายได้ที่ได้รับสรุปแล้วได้มากเท่าไหร่  ซึ่งวันนั้นก็มีรถเข้ามามาก(ด้วยเหตุที่ว่าน้ำมันจะปรับขึ้นราคา) ใช้เวลาอยู่ที่ปั๊มน้ำมันจนถึงเวลา 10.00 ก็เดินทางกลับกรุงเทพ  เราใกล้จะเปิดเทอมแล้วก็เลยไม่ได้กลับกรุงเทพ ให้พี่คนขับรถ ส่งลงที่หน้าบิ๊กซีแถวโคราช ก็เป็นอันว่า  ประสบการณ์(ปิดเทอมได้จบลงแล้ว)

  

หมายเลขบันทึก: 186059เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2008 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท