การบริหารตามวิสัยทัศน์ : แนวทางสู่การพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน


กลยุทธ์การบริหารตามวิสัยทัศน์ จะนำองค์กรสู่ความสำเร็จ

CITY EDU / การบริหารตามวิสัยทัศน์ : แนวทางสู่การพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน...กลยุทธ์การบริหารตามวิสัยทัศน์                

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา       พิมพ์ครั้งแรก Thecity Journal 1-15 มิ.ย.51

นักศึกษาปริญญาโทบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

[email protected]

 

               กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษานับเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้บริหารที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ความรู้ ความสามารถ และบริบทรอบข้างโดยเฉพาะวิธีการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School BasedManagement : SBM)ที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยและส่งเสริมการมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ครู  นักเรียน บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครอง และ  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ออกความเห็นมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมของทางโรงเรียนนั้น  โรงเรียนสามารถนำวิสัยทัศน์(Vision) ของโรงเรียนมาเป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนซึ่งรวมถึงครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามวิสัยทัศน์โรงเรียนได้เพราะกระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์นั้นเป็นภาระงานร่วมกันของผู้บริหารและครูรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

วิสัยทัศน์  คือการกำหนดภาพอนาคตร่วมกันของผู้บริหารและบุคลากรทุกฝ่ายในองค์กร โดยกำหนดจุดหมาย-ปลายทางที่เชื่อมโยงกับพันธกิจ ภารกิจ ค่านิยมและความเชื่อ เข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการโดยจุดหมายปลายทางนั้นต้องชัดเจน ปฏิบัติได้จริง  มีความเป็นไปได้ วิสัยทัศน์จึงต้องเป็นความคิดเห็นร่วมกันของบุคลากรมิใช่ของคนใดคนหนึ่งวิสัยทัศน์จึงเป็นพันธกิจหรือภารกิจที่บุคลากรทุกฝ่ายต้องร่วมกันปฏิบัติ

กลยุทธ์การบริหารตามวิสัยทัศน์จึงเริ่มจาก

1.การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน โรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์อยู่แล้วอาจนำวิสัยทัศน์มาพิจารณาว่าสามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่เพราะวิสัยทัศน์นั้นสามารถนำมาปรับให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันได้ และเมื่อกำหนดวิสัยทัศน์ไปแล้ว 3-5 ปีสามารถปรับวิสัยทัศน์ใหม่ให้ทันสมัยได้

2.กำหนดภาพหรือสภาพปลายทางที่ต้องการเป็นภาพในอนาคตที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุภาพนั้น

3. การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน จุดเด่น จุดด้อยเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ประกอบด้วยการวางแผนจัดทำโครงการโดยใช้วิสัยทัศน์เป็นตัวกำหนดซึ่งแผนที่วางไว้ที่ต้องทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาวสำหรับครูผู้สอนคือการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองวิสัยทัศน์โรงเรียน

4. ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงานโครงการ โดยแสวงหาโอกาสหรือปัจจัยที่ส่งผลให้งานสำเร็จบรรลุตามวิสัยทัศน์ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูคือการจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์การปฏิบัติกิจกรรมต้องอาศัยข้อมูลสารสนเทศ

5. ตรวจสอบ ติดตามเพื่อตวรจสอบว่าแผนงาน โครงการที่ปฏิบัตินั้นช่วยให้บรรลุวิสัยทัศน์โรงเรียนหรือไม่ หากยังไม่บรรลุควรปรับกระบวนทัศน์ใหม่ให้งานให้บรรลุสู่วิสัยทัศน์

VISION

   - Valiable                   วิสัยทัศน์ต้องสามารถเข้าถึงได้ เป็นไปได้

  I    -Image                        กำหนดภาพนึกคิด ภาพอนาคต

  S   - SWOT                       วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน จุดเด่น จุดด้อย

  I    -ICT                            ข้อมูลสารสนเทศข่าวสาร

  O   -Oppurtunity             แสวงหาโอกาสสร้างโอกาส

  N   -NewParadigm         กระบวนทัศน์ใหม่

 

 

คุณภาพผู้เรียน

โรงเรียน

ชุมชน

เครือข่ายองค์กร

 

 

       V

       V

       V

 

วิสัยทัศน์โรงเรียน:นักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล เป็นคนดีสุขภาพดี

มีความรู้ก้าวสู่สากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมน้อมนำแนวพระราชดำริ

^

^

^

^

มาตรานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หมู่บ้านในเขตบริการ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

องค์กรชุมชน

สถานประกอบการ

คณะกรรมการสถานศึกษา

ครู บุคลากร

สมาคมผู้ปกครอง

เครือข่ายผู้ปกครอง

ผู้ปกครองนักเรียน

ส่วนราชการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สถานบันการศึกษา

เขตพื้นที่การศึกษา

วัด

กระบวนการบริหารแบบประชาธิปไตยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM) และระบบบริหารราชการที่ดี

ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

 

 

               การบริหารตามวิสัยทัศน์ไม่ใช่แนวคิดใหม่เป็นเพียงการบูรณาการวิสัยทัศน์โรงเรียนให้นำไปปฏิบัติได้จริงทั้งด้านการบริหารและด้านการจัดการเรียนการสอนโดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้//

หมายเลขบันทึก: 186057เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2008 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วิสัยทัศน์ มาก่อน การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งครับ ผมว่า ถ้าหาก ไม่วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง (จะ SWOT หรือวิธีอื่นใดก็ตาม)วิสัยทัศน์ที่ได้ไร้จุดหมายนะครับ มันจะกลายเป็นโรงเรียนในฝันลมๆแล้งๆ นะครับ วิเคราะห์องค์กรซิครับ ถึงจะสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันได้

ขอโทษทีครับที่แสดงความคิดเห็นแย้ง

เห็นด้วยกับครูแทนครับ ว่าการวิเคราะห์ SWOT นั้นมีความจำเป็น เพราะต้องมีการวิเคราะห์

เป็นระยะอยู่แล้วครับ ในการกำหนดวิสัยทัศน์จึงควรมีการวิเคราะห์ SWOT อีกครั้ง

ในกรณีที่โรงเรียนวิเคราะห์ไว้นานแล้ว หรือไม่เคยมีการวิเคราะห์ครับ อย่าลืมว่าในสภาพ

ความเป็นจริง โรงเรียนประถมส่วนใหญ่ขาดบุคลากร การวิเคราะห์ SWOT มักเป็นแบบการทำ

แผนการสอนที่คิดว่าวิเคราะห์ชั่วคราว แต่ใช้ชั่วกาลนิรันดร์ หรือยืมจากโรงเรียนขนาดใหญ่

ข้างเคียงที่มีบริบทต่างกัน ในกรณีนี้จึงแนะนำใหฟ้วิเคราะห์หลังกำหนดวิสัยทัศน์ครับ หรืออาจ

วิเคราะห์ไว้แล้ว แล้วนำมากำหนดวิสัยทัศน์ก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท